Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy














เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่านเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และคลอดบุตร

อาการแรกเริ่มของการตั้งครรภ์
บริหารร่างกายระหว่างตั้งครรภ์
บุหรี่กับการตั้งครรภ์
แอลกอฮอล์กับคุณแม่ตั้งครรภ์
ระหว่างตั้งครรภ์ควรทานอะไรดี
กำเนิดชีวิต
เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
สุขภาพหลังคลอด
ทารกเจริญเติบโตอย่างไรในครรภ์
อาการข้างเคียงขณะตั้งครรภ์
พัฒนาการของทารกในครรภ์
การฝากครรภ์
สุขภาพของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์
การรู้เพศทารกก่อนดีหรือไม่ด
อาหารการกินระหว่างตั้งครรภ์
เตรียมตัวไปคลอด
เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ครั้งแรก
       การฝากครรภ์มีความสำคัญมากสำหรับคุณแม่     เพราะจุดมุ่งหมายในการฝากครรภ์นั้น เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพดี แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ หากมีปัญหาหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างนั้น คุณแม่จะได้รีบปรึกษาคุณหมอและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที


คำถามเบื้องต้นที่คุณหมอมักจะถาม เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ครั้งแรก

ในการฝากครรภ์ครั้งแรก คุณหมอมักสอบถามเกี่ยวกับตัวคุณแม่และคุณพ่อเพื่อซักประวัติโดยละเอียด ในการตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์หรือไม่ คุณหมอมักถาม เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้

  • รายละเอียดส่วนตัว เช่นวันเดือนปีเกิด หน้าที่การงาน สิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของคุณแม่

  • โรคที่คุณแม่เจ็บป่วยในวัยเด็ก หรือเจ็บป่วยรุนแรงในอดีตที่ผ่านมา

  • ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว มีฝาแฝด หรือมีโรคทางกรรมพันธุ์ในครอบครัวของคุณแม่และคุณพ่อบ้างหรือไม่

  • ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาเมื่อไหร่ มาครั้งละกี่วัน      และมาสม่ำเสมอหรือไม่

  • ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดครั้งก่อนๆ     และเคยแท้งหรือไม่

  • สุขภาพโดยทั่วไปของคุณแม่

  • ยาที่คุณแม่ใช้เป็นประจำและประวัติการแพ้ยา

  • วิธีคุมกำเนิดที่ใช้ก่อนมีครรภ์ และเลิกคุมกำเนิดเมื่อไหร่


    ควรเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี?

    คุณแม่ควรเริ่มฝากครรภ์กับคุณหมอทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพราะเมื่อฝากครรภ์จะต้องมีการตรวจสุขภาพ เช็คประวัติของคุณแม่ หากพบว่ามีปัญหาทางสุขภาพเกิดขึ้นที่อาจมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์ คุณหมอจะได้ทำการรักษา หรือดูแลอย่างอย่างใกล้ชิด เช่นโรคเบาหวาน (Diabetes), โรคลมชัก (Epilepsy)


    การไปฝากครรภ์ตรวจอะไรบ้าง

    คุณหมอจะตรวจสุขภาพทั่วไปของคุณแม่รวมทั้งทารกในครรภ์เพื่อติดตามดูความก้าวหน้าของการตั้งครรภ์และ ดูแลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

    การตรวจปัสสาวะ
        เพื่อดูว่ามีน้ำตาลในปัสสาวะบ้างหรือไม่เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่ไม่เป็นเบาหวานแทรกซ้อนในขณะที่ตั้งครรภ์ นอกจากนั้น เพื่อดูว่ามีโปรตีนหรือไม่ ถ้ามีจะบ่งว่าไตทำงานไม่ปกติ ถ้าตรวจพบในช่วงหลังของครรภ์ ร่วมกับมีความดันโลหิตสูงแสดงว่ามีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีอาการครรภ์เป็นพิษ

    การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
         ในการฝากครรภ์ครั้งแรกจะมีการวัดส่วนสูง ซึ่งเป็นการบอกอย่างคร่าวๆ ถึงขนาดเชิงกราน ถ้าคุณแม่ตัวเล็กอาจทำให้คลอดยากได้ถ้าไม่ได้สัดส่วนกับขนาดของลูก

    คุณแม่มักต้องชั่งน้ำหนักทุกครั้งเมื่อมาฝากครรภ์เพื่อดูว่าน้ำหนักเพิ่มตามเกณฑ์หรือไม่
         ในช่วง 3 เดือนแรกน้ำหนักอาจลดลงบ้างเนื่องจากการแพ้ท้อง แต่หลังจากนั้นน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10 - 12 กก. ตลอดการตั้งครรภ์ ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากในช่วงท้ายอาจเกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษได้

    การตรวจเลือด
         ในการฝากครรภ์ครั้งแรกจะมีการตรวจเลือด โดยเจาะเลือดที่บริเวณข้อพับประมาณ 10 ซีซี เพื่อนำไปตรวจดูความเข้มข้นของเลือด ส่วนประกอบของเลือด กรุ๊ปเลือด และตรวจหาโรคติดเชื้อบางอย่าง เช่น ไวรัสตับอักเสบ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน และเอดส์

    วัดความดันโลหิต
         คุณแม่จะได้รับการวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ โดยจะมีตัวเลข 2 ชุด ชุดแรกเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวดัน ให้โลหิตสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนชุดหลังเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว ค่าความดันปกติจะราว 120/70 และหากวัดค่าได้เกิน 140/90 จัดว่ามีความดันสูง

    การตรวจทางหน้าท้อง
         เป็นการตรวจเพื่อประมาณขนาดและน้ำหนักของลูกในครรภ์ซึ่งจะบอกได้ว่าลูกเติบโตเป็นปกติดีหรือไม่ เมื่อครรภ์แก่ขึ้นจะตรวจ เพื่อดูท่าของทารกว่ากลับศีรษะลงหรือยัง และในระยะสัปดาห์ท้ายๆ ของการตั้งครรภ์เพื่อให้แน่ใจว่าศีรษะของทารกลงสู่อุ้งเชิงกรานของแม่แล้ว

    การตรวจภายใน
          การตรวจภายในจะเป็นการช่วยบอกขนาดของมดลูกว่าเหมาะสมกับอายุครรภ์หรือไม่ และปากมดลูกปิดสนิทดี แพทย์อาจตรวจเซลล์ปากมดลูกไปด้วยเพื่อดูว่ามีเซลล์ผิดปกติหรือไม่ เมื่อมีการตรวจภายใน แพทย์จะให้คุณแม่นอนหงายและแยกขาชันเข่า แพทย์จะใส่ถุงมือยางแล้วค่อยๆ ใช้สองนิ้วสอดเข้าช่องคลอด และใช้มืออีกข้างคลำบริเวณหน้าท้องประกอบกัน



















    visit our sponsor
    visit our sponsor


    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved