Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy












ทารกเจริญเติบโตอย่างไรในครรภ์

ชีวิตของทารกน้อยเริ่มต้นอย่างไร

ทารกน้อยเริ่มเจริญเติบโตเมื่อไหร่

ทำไมระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์จึงสำคัญ

เกิดอะไรขึ้นกับทารกบ้างในช่วงไตรมาสที่ 2

ทารกน้อยเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดอย่างไร

Spina Bifida - จะป้องกันได้อย่างไร





ชีวิตของทารกน้อยเริ่มต้นอย่างไร

ชีวิตของทารกในครรภ์เริ่มต้นจากวินาทีที่ เซลล์ไข่ของคุณแม่ถูกผสมโดยเซลล์สเปิร์มของคุณพ่อ ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเรียกว่าเอมบริโอ หรือตัวอ่อน (Embryo) จะแบ่งตัวอย่างต่อเนื่องในขณะเดินทางเข้าสู่โพรงมดลูก ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ต่างแบ่งจำนวนโครโมโซมให้กับลูกคน ละครึ่งหนึ่งหรือ 23 โครโมโซม ดังนั้นทารกจะมีจำนวนโครโมโซม 46 โครโมโซมหรือ 23 คู่ โดยโครโมโซมที่ได้จากฝ่ายพ่อ แม่นี้จะเป็นตัวกำหนดว่า ทารกจะมีตาสีอะไร, หน้าตาเป็น แบบไหน, รูปร่างอย่างไร, สูงเท่าไหร่, มีความสามารถ พิเศษด้านใด และอื่นๆ และหนึ่งในโครโมโซมของตัว คุณพ่อจะเป็นผู้กำหนดว่า ทารกจะเป็นเพศหญิงหรือชาย ( X หรือ Y)

Back



ทารกเริ่มเจริญเติบโตเมื่อไหร่?

การเจริญเติบโตเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิเริ่มขึ้น โดยเริ่มแรกเป็นเพียง เซลล์ 1 เซลล์ และจะเพิ่มจำนวนเป็นทวีคูณขึ้นโดยแบ่งเป็น 2 เซลล์ แล้วเพิ่มเป็น 4, 8, 16, 32, 64 เซลล์และต่อไปเรื่อยๆ ในระหว่าง 11 - 14 วันหลังการปฏิสนธิ เซลล์เหล่านี้จะฟอร์มตัวเป็นเนื้อเยื่อ มีลักษณะกลมๆ คล้ายลูกบอลกลมๆเป็นโพรงบรรจุของเหลว แล้วเข้าไปฝังตัวอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อเกาะยึดมั่นคงดีแล้ว จึงถือว่าการปฏิสนธิเป็นไปอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์ ไข่ที่ผสมแล้ว ระยะนี้เรียกว่าเอมบริโอ (Embryo) ในระยะนี้คุณอาจรู้สึกว่า ประจำเดือนขาดหายไป และตระหนักว่าคุณกำลังตั้งครรภ์

หลังจากนั้นเซลล์ที่ว่านี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือเอมบริโอ (Embryo) ที่กำลังเจริญเติบโตในระหว่างสัปดาห์แรก ส่วนที่สองจะกลายเป็น "รก" (Placenta) หรือสายใยแห่ง ชีวิตซึ่งเป็นเส้นทางลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารจาก กระแสเลือดของคุณแม่ส่งให้กับลูก รกจะถูกฝังตัวอย่าง แน่นหนาในผนังมดลูกในปลายด้านหนึ่งโดยมีผนังกั้น ไม่ให้เลือดของแม่สัมผัสกับเลือดของลูกโดยตรง แต่เพียงพอให้สารอาหารและก๊าซซึมผ่านไปมาได้ โดยสะดวก(Osmosis & Diffusion) ส่วนอีกด้านหนึ่ง อยู่ติดกับเอมบริโอ (ตัวอ่อน)คือ สายสะดือ (Umbilical cord) ซึ่งจะมีเส้นเลือดทั้งแดงและดำอยู่ภายใน เพื่อนำสารอาหาร และอ็อกซิเจนมาให้ลูกของคุณ

"ถุงน้ำคร่ำ" (Amniotic Sac) คืออะไร

ในมดลูก ทารกอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำและถูกหล่อด้วยน้ำใสๆ เรียกว่า "น้ำคร่ำ" (Amniotic Fluid) ถุงน้ำคร่ำเป็นเยื่อบางๆ ใสๆ พองกลมคล้ายลูกโป่ง ผนังของถุงด้านนอกแนบติดไป กับผนังมดลูก น้ำคร่ำเป็นเครื่องป้องกันการกระทบกระเทือน จากภายนอกได้เป็นอย่างดี ในช่วงระยะต้นของการคลอด เมื่อเยื่อถุงน้ำคร่ำฉีกขาดออกจึงมีอาการที่เรียกว่า "น้ำคร่ำแตก" (หรือเรียกว่า "น้ำเดิน")

Back



ทำไมระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์จึงสำคัญ

12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ (Conception) นับเป็นระยะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นช่วงที่กระบวนการสร้างอวัยวะสำคัญต่างๆ ที่ต้องใช้ไปตลอดชีวิต กำลังเกิดขึ้น ทารกที่เกิดมาจะเป็นปกติหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะนี้ โดยปกติทารกส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้นแต่อย่างใด แต่ในบางรายอาจเกิดขึ้นได้ เช่น ถ้าคุณแม่ติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน (Rubella)ในระหว่าง 3 - 9 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสนี้สามารถ ทำความเสียหายให้กับสมอง, หัวใจ, สายตา หรือการได้ยินได้ ความร้ายแรงนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดการติดเชื้อในช่วงอายุครรภ์เท่าใด

นี่คือ เหตุผลที่ว่า ทำไมการฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน (Rubella) ในตอนเป็นเด็กหรือฉีดก่อนการตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

นอกจากนั้น ยาหลายชนิด (รวมทั้งการดื่มเหล้าอย่างหนัก) สามารถทำลายการเจริญเติบโตของแขน ขา และอวัยวะภาย ในของทารกได้ ฉะนั้นคุณแม่ทุกคนที่กำลังตั้งครรภ์จึงได้รับ คำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานยาเองโดยไม่ได้รับคำแนะ นำจากแพทย์ (รวมทั้งวิตามินเสริม, แร่ธาตุ, ยาแก้หวัด, ยาช่วยย่อยอาหาร และสมุนไพรเครื่องเทศต่างๆ)

Back



เกิดอะไรขึ้นกับทารกบ้างในช่วงไตรมาสที่ 2

ในระยะต้นของไตรมาสที่ 2 (ไตรมาสที่หนึ่งคือ ระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์, ไตรมาสที่สองคือช่วงสามเดือนที่อยู่ตรงกลาง และไตรมาสที่สามคือ ระยะสามเดือนสุดท้าย) ลูกของคุณจะเปลี่ยนฐานะจากตัวอ่อน (Embryo) มาเป็น ทารก (Foetus) ระบบของอวัยวะและร่างกายเป็นรูปร่างเรียบร้อย ลูกของคุณโตประมาณ 3 1/2 นิ้ว
(9 ซ.ม.) ไตเริ่มขับของเสียออกมาเป็นน้ำปัสสาวะ

นี่เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์ของคุณแม่จะเจริญเติบโตอย่างคงที่รวมทั้งน้ำหนักด้วย เมื่อถึงปลายเดือนที่ 6 ลูกคุณจะหนักประมาณ 1 1/2 ปอนด์ (ประมาณ 700 กรัม) และวัดความยาวได้ประมาณ 12 นิ้ว (30 ซม.) กล้ามเนื้อกำลังเจริญเติบโตเต็มที่ ลูกคุณเริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้น ระหว่าง 16 - 20 อาทิตย์ คุณจะรับรู้ถึง การเตะ ถีบของลูกคุณ จดวันที่คุณรู้สึกถึงความเคลื่อนไหว (Quickening = ดิ้น) จะเป็นการช่วยยืนยันถึงวันครบกำหนดคลอดอีกทางหนึ่ง คุณคาดหวังได้เลยว่า นับจากนี้คุณจะได้รับรู้ถึงกิจกรรมการเคลื่อนไหวของลูกคุณที่อยู่ในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการอยู่อย่างสงบเมื่อลูกคุณนอนหลับ หรือขยับแข้ง ขา ตีลังกา สะอึก ถ้าคุณมีข้อกังวลใจโดยรู้สึกว่าลูกคุณเคลื่อนไหวน้อยลง หรือไม่เคลื่อนไหว เลยจนผิดสังเกต รีบแจ้งแพทย์ทันทีนะคะ

Back



ทารกน้อยเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดอย่างไร

ในระยะ 3 เดือนสุดท้าย ยังคงเป็นช่วงที่ทารกเพิ่มความเจริญ เติบโตทางร่างกายและน้ำหนักอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อม สำหรับชีวิตที่จะเป็นอิสระ เริ่มต้นเข้าเดือนที่ 7 ทารกจะยาว 14 นิ้ว (35 ซ.ม.) แต่น้ำหนักยังคงน้อยกว่า 2 ปอนด์ (900 กรัม) การเจริญเติบโตยังคงเป็นไปไม่หยุดยั้ง เมื่อถึงสัปดาห์ที่ 40 ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกพร้อมที่จะคลอดออกมา จะวัดความยาว ได้ประมาณ 20 นิ้ว (51 ซ.ม.) และหนัก 7 ปอนด์ (3.2 ก.ก.)

ในช่วง 10 สัปดาห์สุดท้าย ทารกจะสะสมไขมันเพิ่มขึ้น ที่ใต้ชั้นผิวหนัง นี่ไม่เพียงแต่จะปกป้องพวกเขาในชีวิต ใหม่เท่านั้น แต่ยังทำให้เขามีรูปลักษณ์ภายนอกที่น่ารัก น่าถนอมอีกด้วย ในเดือนที่ 9 น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเล็ก น้อยในอัตรา 1/2 ปอนด์ (225 กรัม) ต่อสัปดาห์ คุณจะ สังเกตว่าการเตะของทารกจะหนักหน่วงขึ้น แต่ทารก - ซึ่งเดี๋ยวนี้ตัวโตขึ้นไม่สามารถที่จะขยับแข้งขาได้อิสระ อย่างแต่ก่อนแล้ว เพราะถูกจำกัดด้วยพื้นที่ภายใน ถุงน้ำคร่ำ ในสัปดาห์สุดท้ายทารกส่วนใหญ่จะอยู่ใน ท่าเอาศีรษะลง เตรียมพร้อมที่จะคลอดออกมา ศีรษะของทารกจะลงมาอยู่ในอุ้งกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ ถ้านี่เกิดขึ้นกับคุณ คุณจะรู้สึกโล่งขึ้น สบายขึ้น หายใจสะดวกขึ้น เพราะแรงกดจากยอดมดลูก ที่ไปทับหน้าอกและท้องช่วงบนจะมีน้อยลง (ท้องลด)

Back



Spina Bifida - จะป้องกันได้อย่างไร

Spina Bifida ('Split Spine') คือการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ ที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลัง เช่นส่วนกระดูกสันหลังจะแบะ กว้างขึ้น มีส่วนขาดบางตอนของกระดูก และอาจมีส่วนของ เส้นประสาทและส่วนของเนื้อเยื่อไขสันหลังยื่นออกมา ซึ่งนำไปสู่ความพิการทางร่างกายอย่างหนักได้

โดยในสัปดาห์ที่ 2 ของการตั้งครรภ์ระบบประสาทส่วนกลาง กำลังเจริญเติบโตเป็นรูปร่าง และภายในสัปดาห์ที่ 4 ส่วน หลักของสมองและ spinal cord ซึ่งในระยะนี้เรียกว่า "ท่อประสาท" (Neural Tube) กำลังพัฒนา สาเหตุนั้นอาจมาจากพันธุกรรม ซึ่งก็เหมือนโรคทาง พันธุกรรมอื่นๆ สภาวะแวดล้อมเองก็เป็นอีกปัจจัย หนึ่งที่ทำให้เกิดสภาพเช่นนี้ (เช่น ทานอาหารผิดหลัก โภชนาการอย่างมาก ทานยาอันตรายต่อทารกเข้าไป เป็นต้น)

ในปี 1991 ผลจากการค้นคว้าศึกษาพบว่า ความเสี่ยงของทารก ที่จะเป็นโรค Spina Bifida สามารถลดลงได้ด้วยการรับประทาน Folic Acid เป็นเวลาหลายเดือนก่อนการตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิง ที่เคยคลอดทารกออกมาเป็นโรค Spina Bifida ดังนั้นมารดา ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะคลอดทารกที่เป็น Spina Bifida ควรรับ ประทาน Folic Acid ทุกวันเมื่อคิดว่าจะตั้งครรภ์ครั้งต่อไป และเนื่องจากยังไม่สามารถที่จะระบุถึงผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่ม เสี่ยงนี้จนกว่าจะคลอดทารกออกมาเป็นโรค Spina Bifida เสียก่อน จึงมีการแนะนำว่า ผู้หญิงทุกคนที่ตั้งใจจะตั้งครรภ์ควร รับประทาน Folic Acid ก่อนการตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

Back



Remember!!

  • การฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันในวัยเด็ก หรือ ก่อน ตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญมาก
  • อย่ารับประทานยาใดๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
  • ความเสี่ยงของทารกที่จะเป็นโรค Spina Bifida สามารถลดลงได้ ด้วยการรับประทาน Folic Acid และ วิตามินบี 12


  • ขอขอบคุณ น.พ. วรายุต สถิตย์เสถียร (พ.บ.ว.ว. -- สูตินรีเวช) ในการตรวจทานและให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ http://www.geocities.com/varayudt/





    visit our sponsor
    visit our sponsor


    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved