Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy












วิธีการป้อนนมขวด

ทารกจะค่อยๆ ปรับตัวเองจนมีตารางการกินนมในไม่ช้า และคุณเรียนรู้เองว่า ลูกคุณต้องการนมช่วงไหน ในปริมาณเท่าไหร่ ทั้งนี้เพราะทารกแต่ละคนจะแตกต่าง กันไปว่าจะกินบ่อยแค่ไหน มากน้อยแค่ไหน บางคนกินนมทุก 3-4 ชั่วโมง บางคนกินได้น้อย แต่บ่อยกว่า คุณควรตอบสนองความต้องการของทารก โดยให้กินนมตามที่ลูกต้องการเมื่อลูกหิว และที่สำคัญไม่ควรพยายามยัดเยียดให้ลูกกินนมให้หมดขวด ลูกอาจจะอิ่มแล้วในขณะนั้น หรือต้องการนอนแล้วก็ได้

หัวนมยาง

เวลาที่ลูกดูดนม คุณแม่ต้องยกขวดนมให้สูงขึ้นเสมอ เพื่อให้น้ำนมท่วมมิดตรงฝา หรือให้น้ำนมเต็มจุกนมเสมอ มิฉะนั้น ลูกคุณจะกลืนลมเข้าไปในท้อง ทำให้ท้องอืดได้

ถ้าจุกนมเกิดแบน แฟบขึ้นมาในระหว่างที่ลูกดูดนม ลองขยับหัวนมยางไปรอบปากลูก เพื่อให้อากาศไหลกลับเข้าไปในขวด ถ้าหัวนมยางยังแฟบอยู่แม้ว่าคุณลองขยับหัวนมยางไปมาแล้วก็ตาม ให้เปลี่ยนอันใหม่ที่ผ่านการล้างสะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว

คุณแม่อาจลองใช้หัวนมยางหลายๆ รูปทรง และรูที่แตกต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่า หัวนมยางแบบไหนที่ลูกชอบและเหมาะสมกับลูก ถ้ารูหัวนมยางเล็กเกินไป ลูกจะดูดนมได้ช้า ไม่เพียงพอ ถ้ารูหัวนมยางใหญ่เกินไป นมก็จะไหลเร็วมากเกินไปจนลูกดูดไม่ทัน และอาจสำลักนม นอกจากนั้น คุณแม่ต้องตรวจสอบหัวนมยางเสมอว่าไม่มีการฉีกขาด หรือเสื่อมสภาพ

หลังจากลูกกินนมหมดขวดหรืออิ่มแล้ว ค่อยๆ ดึงขวดนมออกจากปากลูกเบาๆ ถ้าลูกยังหิว จะแสดงปฏิกิริยาให้คุณแม่ทราบ ถ้าลูกยังไม่ยอมละจาก ขวดนมทั้งๆ ที่ดูดมานานแล้ว คุณแม่อาจค่อยๆ สอดนิ้วก้อยสะอาดเข้าไปในระหว่างเหงือกตามแนวหัวนมยาง แล้วดึงหัวนมยางออกเบาๆ อย่างนุ่มนวล จากนั้นควรไล่ลมให้ลูก เพื่อให้ลูกเรอออกมา เพราะลูกอาจกลืนลมเข้าไปในช่วงที่ดูดนม หรือช่วงที่ร้องก่อนดูดนม เพื่อจะได้ระบายลมนั้นออกมา ลูกจะได้รู้สึกสบายและท้องไม่อืด

back to header


visit our sponsor
visit our sponsor


Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved