Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy
Mirror Site http://www.geocities.com/thaiparents/









- เครื่องปรับอากาศ
- ขับรถตอนกลางคืน
กำเนิดชีวิต

วงจรการตกไข่ (The Woman's Monthly Cycle)


  1. ในแต่ละเดือน เมื่อถึงวันที่ 14 ของรอบเดือน จะมีไข่สุก 1 ฟองถูกปล่อยออกจากรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งและพร้อมจะรับการผสม โดยจะเดินทางผ่านปีกมดลูกเข้าสู่ท่อนำไข่ และจะมีชีวิตอยู่ได้ 24 ชั่วโมง หลังการตกไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้น มูกบริเวณช่องคลอดซึ่งหลั่งจากปากมดลูกจะบางและยืดหยุ่นได้ดี เพื่อให้ สเปิร์มผ่านเข้าไปได้สะดวก




  2. เมื่อไข่ที่พร้อมรับการผสมผ่านปีกมดลูกเข้าสู่ท่อนำไข่ และที่นี่จะเป็นที่ซึ่งไข่ได้รับการผสมกับสเปิร์มของฝ่ายชายหากฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมีเพศสัมพันธ์กันในระหว่างนี้ โดยเมื่อถึงจุดสุดยอดในขณะมีเพศสัมพันธ์ ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิซึ่งมีสเปิร์มถึง 200 - 400 ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดฝ่ายหญิง และผ่านไปยังท่อนำไข่และปีกมดลูก ในระยะนี้เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้นและเตรียมพร้อมที่จะรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว หากไข่ยังมาไม่ถึงในขณะนั้น สเปิร์มจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในท่อนำไข่ได้อีกราว 48 ชั่วโมง




  3. ถ้าไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ เยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมพร้อมไว้นั้น จะเริ่มหลุดลอกออกมา เป็นเลือดประจำเดือน เพื่อเข้าสู่วงจรการตกไข่รอบต่อไป




การปฏิสนธิ (Conception)


  1. เมื่อไข่ตกจากรังแล้ว ก็จะเคลื่อนตัวไปตามเยื่อบุท่อรังไข่ซึ่งมีขนช่วยพัดโบกไปจนถึงตำแหน่งที่จะพบกับอสุจิ เมื่อถึงจุดสุดยอดในขณะมีเพศสัมพันธ์ ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิ ซึ่งมีสเปิร์มถึง 200 - 400 ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง



  2. เมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง แม้ว่าอาจเข้าไม่ได้เต็มจำนวน แต่ยังมีส่วนที่ว่ายผ่าน มูกบริเวณช่องคลอดซึ่งหลั่งจากปากมดลูก ซึ่งช่วงนี้จะบาง และยืดหยุ่นได้ดีในช่วงไข่ตก เข้าสู่โพรงมดลูก และ ผ่านไปยังท่อนำไข่และปีกมดลูก โดยปกติอสุจิจะเดิน ทางด้วยอัตราเร็ว 2 - 3 มล. ต่อนาทีแต่จะเคลื่อนที่ช้าลง ในช่องคลอดที่มีสภาพเป็นกรด และว่ายเร็วขึ้นเมื่อ ผ่านจากปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกที่มีความเป็นด่าง ซึ่งกว่าอสุจิจะผ่านพ้นเข้าไปในท่อรังไข่ได้นั้น จำนวน อสุจิ 200 - 400 ล้านตัวในขณะหลั่งจะเหลือรอดได้เพียง ไม่กี่ร้อยตัวที่มีโอกาสไปผสมกับไข่

    อสุจิจะปล่อยสารย่อย (Enzyme) จากส่วนหัวซึ่ง สามารถละลายผนังที่ห่อหุ้มปกป้องไข่ออกได้ และจะมีอสุจิ เพียงตัวเดียวที่เจาะเข้าสู่ไข่ได้สำเร็จ หลังจากนั้นอสุจิตัวอื่นๆ จะไม่สามารถเข้าไปได้อีก อสุจิจะสลัดหางและย่อยส่วนหัว เพื่อปลดปล่อยโครโมโซมทั้ง 23 แท่งที่บรรจุอยู่ภายในส่วน หัวเข้าสู่ไข่ เพื่อจับคู่ของตัวเองกับโครโมโซมอีก 23 แท่งในไข่ และหลอมรวมตัวกันกลายเป็นเซลล์เซลล์เดียว เรียกว่าเกิดการปฏิสนธิขึ้น



  3. หลังไข่เกิดการปฏิสนธิ เซลล์จะมีการแบ่งตัวทวีคูณ ในเวลาอันรวดเร็ว จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 ฯลฯ การแบ่งตัวจะเกิดอย่างต่อ เนื่องในขณะที่ไข่ที่ผสมแล้ว (Embryo - ตัวอ่อน) เคลื่อน ตัวอย่างช้าๆ และภายในเวลา 7 วันจะเคลื่อนไปถึง ตำแหน่งที่จะฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ตอนนี้ไข่ที่ผสม แล้วจะมีลักษณะเป็นลูกกลมประกอบด้วยเซลล์ประมาณ 100 เซลล์ เมื่อไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ฝังตัวลงในเยื่อ บุโพรงมดลูกซึ่งมีลักษณะนุ่มและหนา เมื่อยึดเกาะกัน มั่นคงดีแล้ว จึงถือได้ว่าการปฏิสนธิเป็นไปอย่างเรียบ ร้อยสมบูรณ์

    ไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน - Embryo) จะยื่นส่วนอ่อนนุ่มแทรก ลึกลงไปในผนังมดลูกเพื่อสร้างทางติดต่อกับเลือดของแม่ ต่อมาส่วนนี้จะเจริญเป็นรก มีการสร้างสายสะดือและ ถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มต่อไป ตัวอ่อนจะมีเนื้อเยื่อพิเศษ 3 ชั้น ซึ่งต่อไปแต่ละชั้นจะสร้างเป็นอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทารกน้อย




วิธีเลือกเพศให้ลูก

เพศของทารกขึ้นอยู่กับสเปิร์มของฝ่ายชาย เพราะสเปิร์มของฝ่ายชายมีโครโมโซมเพศเพศ 2 ชนิดคือ X และ Y ส่วนไข่ของฝ่ายหญิงมีโครโมโซมเพศชนิดเดียวคือ X ถ้า สเปิร์ม X ของฝ่ายชายปฏิสนธิกับไข่ ก็จะได้โครโมโซมเพศลูกเป็น XX ซึ่งจะเป็นลูกสาว แต่ถ้าเป็นสเปิร์ม Y ก็จะได้ XY ซึ่งเป็นลูกชาย

สเปิร์ม Y จะตัวเล็กกว่า แหวกว่ายเร็วกว่า แต่อายุสั้นและมีความทนทานน้อยกว่า สเปิร์ม X ดังนั้น ถ้ามีการร่วมเพศในระยะใกล้ไข่ตกที่สุด (ประมาณ 14 วันก่อนประจำเดือนครั้งต่อไป) หรือในวันที่ไข่ตกพอดี จะมีโอกาสได้ลูกชายมากขึ้น เพราะสเปิร์ม Y วิ่งเร็วกว่าจะเข้าไปเจาะไข่ได้ก่อน หรือถ้ามีการร่วมเพศในช่วง 2 - 3 วันก่อนที่จะถึงวันไข่ตก ก็จะมีโอกาสได้ลูกสาวมากขึ้น เพราะพอถึงจังหวะไข่ตก สเปิร์ม X จะคงทนอยู่ในปริมาณที่มากกว่า

นอกจากนั้น การร่วมเพศบ่อยๆ จะทำให้จำนวนสเปิร์ม Y ลดลงจึงมักได้ลูกสาว ในทางตรงข้ามหากร่วมเพศน้อยลงจะเพิ่มปริมาณของสเปิร์ม Y โอกาสได้ลูกชายจึงมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักวิชาการจากวงการแพทย์ยืนยันในด้านนี้แน่ชัด คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการกำหนดเพศลูกจึงไม่ควรคาดหวังในเรื่องนี้มากเกินไป



เรื่องของฮอร์โมน (Hormones)

ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ไหลวนเวียนปะปนอยู่ในเลือดของมนุษย์เราทั้งชายและหญิง ฮอร์โมนทำหน้าที่ส่งข้อความไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งเกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมและเป็นตัวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในร่างกาย

ในร่างกายของผู้หญิงมีฮอร์โมนต่างๆ รวมทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นตัวกำหนดทำให้เกิดวงจรการตกไข่เช่นกำหนดให้ไข่ถูกปล่อยออกจากรังไข่คราวละ 1 ฟองและหลังการตกไข่เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว

หลังไข่ตกและมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น (ไข่ได้ผสมกับอสุจิ) ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มขึ้น ทำให้เลือดที่ไปหล่อเลี้ยงมดลูกและเต้านมเพิ่มขึ้น ช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายอุ่นขึ้น มูกบริเวณช่องคลอดจะยืดหยุ่นได้ดี และยังช่วยเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาขึ้นเพื่อเตรียมรับตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิ



ลักษณะกรรมพันธุ์ (Heredity)

ในร่างกายมนุษย์ปกติทุกคนจะมีโครโมโซม 46 แท่ง (23 คู่) ยกเว้นเซลล์ไข่และอสุจิมีเพียงครึ่งเดียวคือ 23 แท่ง โดยไข่ของฝ่ายหญิงมีโครโมโซม 22 แท่งและโครโมโซมเพศ X ส่วนอสุจิของฝ่ายชายมีโครโมโซม 22 แท่งเช่นกันแต่มีโครโมโซมเพศทั้ง X และ Y เมื่อเกิดการปฏิสนธิ โครโมโซมแต่ละแท่งตั้ง 1 - 22 ทั้งในไข่และอสุจิจะวิ่งจับคู่ของตนเอง โครโมโซมเพศจะจับคู่กัน ถ้าเป็นเพศ XX จะได้เพศหญิง และถ้าเป็นเพศ XY จะได้เพศชาย เมื่อจับคู่เรียบร้อยแล้วจะทำให้มีโครโมโซมทั้งหมด 46 แท่งหรือ 23 คู่ ซึ่งลูกจะได้โครโมโซมจากพ่อและแม่เท่ากัน แต่ลูกจะหน้าตาหรือรูปร่างเหมือนใคร ขึ้นอยู่กับว่ายีนของพ่อหรือยีนของแม่จะเด่นกว่ากัน ตัวอย่างเช่น ถ้ายีนเด่นคือตาสีดำ มาจับคู่กับยีนด้อยเช่นตาสีฟ้า ตาสีดำก็จะข่มยีนด้อย ลูกก็จะมีตาสีดำ หรือ ผิวดำข่มผิวขาว

การที่ลูกปฏิสนธิจากไข่และอสุจิของแม่และพ่อ จึงได้รับยีนจากพ่อแม่มาคนละครึ่ง ยีนของลูกจะสืบทอดลักษณะทางกรรมพันธุ์ของทั้งสองฝ่าย ไข่ของแม่และอสุจิของพ่อก็ถูกถ่ายทอดลักษณะทางกรรมพันธุ์มาจากปู่ย่าตายาย ลูกจึงเป็นผลรวมของการสืบทอดลักษณะทางกรรมพันธุ์ต่อไป



ฝาแฝด (Twins)

ฝาแฝดคู่เหมือน (Identical Twins)
เป็นผลมาจากการที่ไข่ผสมแล้วแบ่งตัวเป็น 2 เซลล์แยกจากกัน แต่ละเซลล์เกิดเป็นทารกแต่ละคน ทั้งนี้เพราะเดิมทารกแฝดชนิดนี้มาจากเซลล์เดียวกันก่อนที่จะแยกกัน ทำให้มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน จึงมีลักษณะหน้าตาคล้ายคลึงกัน เป็นทารกเพศเดียวกัน และใช้รกอันเดียวกัน

ฝาแฝดไม่เหมือนกัน (Non-Identical Twins)
ฝาแฝดชนิดนี้พบได้บ่อยกว่าฝาแฝดเหมือน เป็นผลมาจากการตกไข่ 2 ใบและถูกผสมโดยอสุจิ 2 ตัว ทารกในครรภ์แต่ละคนมีรกของตัวเอง อาจจะเป็นเพศเดียวกันหรือไม่เป็นก็ได้ และอาจมีหน้าตาไม่เหมือนกันมากนัก โดยมีหน้าตาเหมือนพี่น้องธรรมดาทั่วไปมากกว่าก็ได้

ฝาแฝดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 1 ใน 80 ครั้งของการตั้งครรภ์ คู่สามีภรรยามีโอกาสได้ลูกแฝดหากมีญาติของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝาแฝด แต่การมีฝาแฝดสาม หรือฝาแฝดสี่ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แม้ว่าปัจจุบันมีการใช้ยาเข้าช่วยในการทำให้เกิดการปฏิสนธิจนเป็นเรื่องธรรมดาก็ตาม



visit our sponsor
visit our sponsor


Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved