Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy
Mirror Site http://www.geocities.com/thaiparents/













ชีวิตและสุขภาพ > บทความอื่นที่น่าอ่าน

การดูแลทันตสุขภาพของคนแต่ละวัย

  • หญิงมีครรภ์
  • การดูแลฟันทารกน้อย
  • วัยประถมศึกษา (อายุ 6 - 12 ปี)
  • วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว (อายุ 13 - 25 ปี)
  • วัยผู้ใหญ่ (อายุ 26 - 59 ปี)
  • วัยสูงอายุ (ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)




  • การดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงมีครรภ์


    ระหว่างตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่าย ทำให้มีกรดและเศษอาหาร จากการอาเจียนตกค้างในปาก เป็นสาเหตุทำให้ฟันผุ และเหงือกอักเสบได้ง่าย บางรายอาจมีอาการเหงือกบวมด้วย ถ้าหากหญิงตั้งครรภ์เอาใจใส่ดูแล รักษาอนามัยในช่องปากให้ดี ก็จะป้องกันการเกิดปัญหาในช่องปากได้ ระหว่างตั้งครรภ์จึงควร ปฏิบัติดังนี้

    1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ
    2. แปรงฟันทุกครั้งหลังอาหารและหลังอาเจียน หรืออย่างน้อยต้องบ้วนปากแรงๆ หลายๆ ครั้งหลังอาเจียน
    3. ไปรับการตรวจรักษา และขอคำแนะนำที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ การทำฟันในระหว่าง ตั้งครรภ์จะสามารถทำฟันได้อย่างปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 4 ถึง 6


    back

    การดูแลฟันทารกน้อย


    สำหรับการเลี้ยงลูกนั้น นมแม่จะมีผลดีต่อสุขภาพในช่องปากของทารก โอกาสเกิดฝ้าขาวในปากจะ น้อยกว่าการเลี้ยงด้วยนมขวด แต่หากจำเป็นต้องเลี้ยงด้วยนมขวด ควรปฏิบัติดังนี้

    1. ให้ทารกดูดน้ำตามหลังดูดนมขวด เพื่อชะล้างคราบนมที่ตกค้างในปาก โอกาสเกิดฝ้าขาว ในปากจะลดลง
    2. ไม่ปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนม เพราะจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุลุกลามอย่างรวดเร็ว

    การทำความสะอาดช่องปากทารก

    ทารกอายุ 6 - 7 เดือน ฟันหน้าเริ่มขึ้น ควรใช้ผ้านุ่มสะอาดพันปลายนิ้วชุบน้ำต้มสุกเช็ดเหงือกและ ฟัน เช้า - เย็น เพื่อทำความสะอาดและเป็นการฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการทำความสะอาดช่องปาก ต่อไปเด็กจะยอมรับการแปรงฟันได้ดี เด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป อาจให้รับประทานฟลูออไรด์เสริมเพื่อ ให้ฟันแข็งแรง แต่จะต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์เท่านั้น เด็กวัยขวบครึ่ง ฟันกราม น้ำนมเริ่มขึ้น ควรใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่มแปรงฟันให้เด็ก โดยยังไม่ต้องใช้ยาสีฟัน

    back


    วัยประถมศึกษา (อายุ 6 - 12 ปี)


    วัยนี้เป็นช่วงที่เด็กอยู่ชั้นประถมศึกษา จะมีทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้ โดยฟันแท้ซี่แรกเป็นฟันกราม ใหญ่ซี่ที่ 1 ฟันซี่นี้ไม่ได้ขึ้นแทนที่ฟันน้ำนม แต่จะขึ้นต่อท้ายฟันน้ำนมซี่ในสุด ฟันล่างมักจะขึ้นก่อน ฟันบน ฟันซี่นี้สำคัญมาก เพราะเป็นแนวให้ฟันซี่อื่นขึ้นตามมา เท่าที่พบส่วนใหญ่ฟันซี่นี้มักจะผุและ ถูกถอนทิ้ง เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่าเป็นฟันน้ำนม ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอายุ 6-7 ปี ควรสำรวจในปากของลูกดูว่าฟันกรามซี่นี้ขึ้นหรือยัง และนอกจากการฝึกให้เด็กสามารถแปรงฟัน ตนเองให้สะอาดแล้ว ควรจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กด้วย

    back


    วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว (อายุ 13 - 25 ปี)


    วัยหนุ่มสาวนี้เป็นวัยที่ฟันผุมากที่สุด เพราะเด็กวัยรุ่นมักจะหิวบ่อยและชอบกินของขบเคี้ยว ขนม หวาน ลูกอมต่างๆ จนติดเป็นนิสัย ทำให้ฟันผุง่ายมาก นอกจากนั้น เด็กวัยรุ่นมักจะมีปัญหาเรื่องโรค เหงือกที่เป็นกันมาก คือ เหงือกอักเสบ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเมื่อ เข้าสู่วัยหนุ่มสาว แต่เหตุใหญ่เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดปากและฟัน ดังนั้น วัยนี้ควรให้ความ สนใจเกี่ยวกับการแปรงฟันให้สะอาด การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเพียงพอสำหรับการ เจริญเติบโตของร่างกาย

    back


    วัยผู้ใหญ่ (อายุ 26 - 59 ปี)


    โรคที่น่ากลัว และทำให้ต้องสูญเสียฟันกันมากของผู้ใหญ่ คือ โรคปริทันต์ ซึ่งเป็นโรคที่มีการทำลายของ เหงือกและอวัยวะรอบฟัน โรคนี้มีผลเสียมากกว่าโรคฟันผุ โดยอาการจะค่อยเป็นค่อยไปเช่นกัน แต่จะรุนแรงมากกว่า คือมักจะเป็นกับฟันหลายซี่ติดต่อกัน การรักษายุ่งยาก และเสียเวลามากกว่า โรคฟันผุ แม้ทันตแพทย์จะทำการรักษาให้ดีแล้ว แต่ถ้าคนไข้ไม่ดูแล รักษาสุขภาพช่องปากให้ดีควบ คู่กันไปด้วย การรักษาก็จะไม่ได้ผล ในที่สุดฟันจะโยกมาก รักษาไว้ไม่ได้อีกต่อไปต้องถอนทิ้ง ผลเสียอีกประการหนึ่งของโรคนี้คือ โรคปริทันต์มีการทำลายของกระดูกหุ้มรอบรากฟันด้วย ดังนั้น เมื่อต้องถอนฟันออก สันกระดูกจะแบนราบมาก ทำให้ใส่ฟันปลอมไม่ได้ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะหาก ต้องใส่ฟันปลอมทั้งปาก

    back


    วัยสูงอายุ (ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)


    ปัจจุบันผู้สูงอายยังคงมีปัญหาสุขภาพช่องปากกันมาก เนื่องจากการละเลยต่อการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุส่วนมากถูกถอนฟันไปแล้วหลายซี่ และไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน หรือแม้จะใส่อยู่ก็อยู่ใน สภาพที่ไม่เหมาะสม ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ถนัด ประกอบกับความเสื่อมของสภาพร่างกายตามวัย เมื่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงก็จะกระทบต่อระบบการย่อยอาหารซึ่งไม่ค่อยดี ร่างกายจะขาดอาหาร นอกจากนั้น หากปล่อยให้มีโรคในช่องปาก เชื้อโรคก็แพร่กระจายไปส่วนอื่นของร่างกาย ยิ่งสามารถ ในการซ่อมแซมร่างกายของผู้สูงอายุลดน้อยลงก็จะทำให้สุขภาพโดยทั่วไปเสือ่มทรมลงด้วย ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงควรใส่ฟันปลอมทดแทน และดูแลเรื่องความสะอาดในช่องปากด้วย


    back

    ข่าวสุขภาพ



    มุมการกุศล : Charity area


    Email Login
    Password
    New users
    sign up!




    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved