Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy
Mirror Site http://www.geocities.com/thaiparents/














ชีวิตและสุขภาพ > โรคน่ารู้

โรคบาดทะยัก

บาดทะยักเป็นโรคติดต่อเฉียบพลันที่เกิดจากพิษของเชื้อบาดทะยัก เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล เชื้อจะเจริญเติบโตในบาดแผลที่ไม่มีอากาศ แผลลึก (เช่น ตะปู หรือมีดบาด หรือไม้ตำ) แผลที่มีสะเก็ดปกคลุมหนาๆ เช่น แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และแผลในสะดือเด็กเกิดใหม่ พบว่าในเด็กแรกเกิดจะมีอัตราการตายมากกว่ากลุ่มอายุอื่น

อาการ
หลังจากรับเชื้อในระยะ 1 - 3 วัน จะเกิดการอักเสบของบาดแผล กล้ามเนื้อรอบๆ บาดแผลจะปวด และกระตุก มีการเกร็งรอบบาดแผล ขากรรไกรแข็ง และคอแข็ง ต่อมาเป็นที่ลำตัว (บางครั้งจำไม่ได้ว่ามีบาดแผล หรือการที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายตั้งแต่เมื่อไหร่ จะรู้ต่อเมื่อมีอาการเกิดขึ้นแล้ว)

ถ้าเป็นเด็กทารกจะพบว่า เด็กไม่ดูดนม ขากรรไกรแข็ง ชักเกร็ง กระตุก หลังแข็ง ร้องกวน และถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจถึงตายได้

การติดต่อ
เชื้อจะอาศัยอยู่ในดิน ฝุ่นตามถนน หรืออุจจาระของคน และสัตว์ (จะสะสมอยู่ในลำไส้ของคนและสัตว์) เมื่อบาดแผลสัมผัสกับเชื้อโดยเฉพาะบาดแผลที่ลึก และปากแผลปิด (การทำความสะอาดบาดแผลไม่ถูกวิธี) หรือบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลกระรุ่งกระริ่ง หรือแผลที่ไม่ได้เอาใจใส่สำหรับเด็กทารกแรกเกิด เกิดจากแผลที่สะดือที่ดูแลไม่สะอาด (เช่น เอาสมุนไพรใส่แผล)

การป้องกัน
  1. ในเด็กแรกเกิด ป้องกันโรคนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักให้แก่แม่ในขณะตั้งครรภ์ 2 ครั้ง โดยตั้งแต่เมื่อรู้ว่าเริ่มตั้งครรภ์ให้ครั้งที่ 1 และอีก 1 - 2 เดือน ให้เข็มที่ 2 เด็กแรกเกิดจะได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ และควรฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกครั้งที่ตั้งครรภ์
  2. ในเด็กเล็กให้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักร่วมกับวัคซีนคอตีบ ไอกรน ตามกำหนดการให้วัคซีน
  3. เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีให้หายเร็วที่สุด
  4. ถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น แผลอักเสบ แผลเรื้อรังที่ดูแลความสะอาดไม่ดี ปวดบวมแดง มีอาการเกร็ง กระตุกรอบๆ บาดแผล ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาโดยด่วน



ข้อมูล: กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข




back





ข่าวสุขภาพ



มุมการกุศล : Charity area


Email Login
Password
New users
sign up!




Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved