Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy









- เครื่องปรับอากาศ
- ขับรถตอนกลางคืน
ทารกที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

ทารกบางคนต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษหลัง คลอดในโรงพยาบาล บางครั้งอยู่ในตู้อบภาย ในห้องเด็กอ่อน บางครั้งต้องอยู่ในห้องไอซียู สำหรับเด็กแรกคลอด มักเนื่องมาจากสาเหตุเหล่านี้:-

สาเหตุ

  • ทารกที่คลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อนครบ 37 สัปดาห์) มักมีปัญหาในเรื่องการหายใจ, การรับอาหาร และ การรักษาอุณหภูมิของร่างกาย จึงต้องคอยดูแลใกล้ชิด เป็นพิเศษ ยิ่งคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าไหร่ ยิ่งต้อง ได้รับการดูแลเป็นพิเศษมากขึ้นเท่านั้น


  • ทารกที่ตัวเล็กมากกว่าอายุครรภ์ หรือมีสภาพที่ยัง ไม่พ้นขีดอันตราย มักมีปัญหาในเรื่องการหายใจ, หัวใจ, และการไหลเวียนของโลหิต


  • ทารกที่คลอดจากแม่ซึ่งเป็นโรคเบาหวาน หรือทารกที่คลอดยากมาก และยังคงต้องได้รับ การดูแลอย่างใกล้ชิดระยะหนึ่งก่อน


  • ทารกที่มีอาการดีซ่าน ปรกติทารกแรกเกิดบางคนมรอาการตัว เหลืองในราว 3 วันหลังคลอด โดยมีผิว และนัยน์ตาขาวออกสีเหลือง เพราะว่า ตับของทารกยังทำงานได้ไม่ดีนัก และมีเม็ดสี (bilirubin) คั่งอยู่ในเลือดมาก เกินกว่าที่ตับจะกำจัดออกได้ทัน อาการดีซ่านมักหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน ถ้าจำเป็นทารกอาจต้องอบไฟเพื่อลดอาการดีซ่าน ซึ่งทำในห้องผู้ป่วยทารกได้ แต่ถ้าอาการ หนักจริงๆ ต้องนำไปรักษาพิเศษต่างหาก




  • เรียนรู้ทารกที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

  • ทารกที่ต้องดูแลเป็นพิเศษต้องการ ความรักจากแม่เหมือนกัน
    ทารกทุกคนต้องการการโอบกอด, เห่กล่อม และได้รับการสัมผัสจากแม่ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องเดียวกับคุณ หรืออยู่ในห้อง ICU สำหรับเด็กแรกเกิด ถ้าลูกถูกแยกไปอยู่ในห้อง ICU สำหรับเด็กแรกเกิด คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามอยู่ใกล้ชิดลูก ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากคุณต้องเข้า ไปเยี่ยมลูกที่อยู่ในห้อง ICU คุณอาจรู้สึกตก ใจที่เห็นสายเครื่องมือแพทย์ระโยงระยาง และอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยให้ปลอดภัย อื่นๆ ล้อมรอบตัวลูกคุณ คุณควรขอให้พยาบาล ช่วยอธิบายว่าเครื่องแพทย์เหล่านี้มีไว้เพื่ออะไร และใช้ทำอะไรบ้าง รวมทั้งขอให้แสดงวิธีที่คุณ จะสามารถสัมผัสลูกน้อยได้ ทารกทุกคนรับรู้สัมผัส ที่เต็มไปด้วยความรักได้ แม้ว่าต้องอยู่ในตู้อบ ตลอดเวลาและไม่ได้อยู่ในอ้อมกอดของแม่ก็ตาม คุณแม่สามารถพูดคุยกับลูกได้ และโยกตัวลูกเบาๆ โดยผ่านทางช่องสอดมือ


  • การให้อาหาร
    การให้อาหารสำคัญมากสำหรับทารกคลอด ก่อนกำหนด ทารกที่ได้รับนมแม่บ้างจะมี พัฒนาการดีขึ้น ถึงแม้ว่าคุณแม่จะไม่ได้ อยู่กับลูกตลอดเวลา แต่ก็สามารถปั๊มนม ให้พยาบาลนำไปให้ลูกคุณได้ ทารกบาง คนดูดนมเองไม่ได้ แต่สามารถรับนมแม่ ผ่านทางสายสอดผ่านจมูกหรือปากลงไป ในกระเพาะอาหาร สายสอดผ่านทางจมูก หรือปากนี้ไม่ทำให้ลูกคุณเจ็บปวดแต่อย่างใด ฉะนั้นอย่าเป็นกังวล หรือไม่สบายใจที่ได้เห็นภาพนี้ คุณแม่และคุณพ่อควรใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดให้กำลังใจลูก ด้วยการสัมผัสตัวลูก ลูบไล้ โยกตัวลูกเบาๆ


  • ทารกในตู้อบ (Incubators)
    ทารกที่ตัวเล็กมากๆ จำเป็นจะต้องอยู่ ในตู้อบเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น แต่คุณ แม่ก็ยังสามารถติดต่อกับลูกน้อยได้ ตู้อบบางชนิดสามารถเปิดฝาด้านบนได้ บางชนิดมีช่องสอดมือให้คุณแม่สอดมือเข้า ไปในตู้อบด้านข้างเพื่อลูบตัวลูก สัมผัสลูก น้อยได้ และคุณสามารถพูดคุยกับลูกได้ด้วย ถึงแม้ว่าทารกจะอยู่ในตู้อบแต่ก็ต้องการความรัก ความสนใจเช่นเดียวกับทารกปรกติคนอื่นๆ

    เมื่อไปหาลูกซึ่งอยู่ในตู้อบคุณอาจต้องใส่เสื้อกาวน์ และใส่ที่ปิดปากและจมูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ คุณควรล้างมือให้แน่ใจว่าสะอาดจริง และเป่ามือให้แห้งสนิทก่อนจับต้องลูกน้อย


  • ทารกเป็นดีซ่าน (Babies with jaundice)
    ทารกที่เป็นดีซ่านมากๆ จะต้องนำไปรักษาโดยวิธี Phototherapy (อบไฟ) เพื่อลดอาการดีซ่าน คือถอดเสื้อ ผ้าทารกออกหมดแล้วนำไปวางไว้ใต้แสงสว่าง โดยมีผ้าปิดตา ซึ่งอาจทำในหอผู้ป่วยทารกได้ การรักษานี้จะติดต่อกันหลายวันก่อนที่อาการดี ซ่านจะหายโดยหยุดพักให้นมเป็นระยะ ถ้าอาการหนักกว่าเดิมจะต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเลือดเพื่อการรักษา


  • ทารกพิการ (Babies with disabilities)
    ถ้าลูกน้อยของคุณพิการไม่ว่าจะในทางใดทางหนึ่ง คุณจะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่หลากหลายความรู้สึก ของตัวเอง: อาจเป็นความรักลูกปนความหวาดกลัว, รู้สึกสงสารลูกผสมกับความโกรธ และคุณยังต้อง เผชิญกับความรู้สึกของคนข้างเคียงไม่ว่าจะเป็นสามี, ญาติพี่น้อง, เพื่อนฝูง เพราะบุคคลเหล่านั้น จะต้องเรียนรู้ว่าลูกของคุณต่างจากทารกคนอื่น แต่เหนือสิ่งอื่นใดในเวลาเช่นนี้ คุณต้องการ ใครสักคนหรือหลายคน ที่คุณจะสามารถพูด ได้โดยเปิดเผยถึงความรู้สึกที่คุณมี และรับ ทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวลูกในขณะนี้และใน อนาคตว่าจะดำเนินชีวิตอย่างไร, ต้องรักษาอย่างไรจึงจะดีขึ้น คุณควรปรึกษาแพทย์หรือหมอเด็กใน โรงพยาบาลที่คุณคลอดเพื่อขอคำแนะนำ เกี่ยวกับลูกคุณ นอกจากนั้น การได้พูดคุย กับคุณพ่อคุณแม่คนอื่นๆ ที่มีประสบการณ์เช่น เดียวกันจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น และคุณอาจ ได้คำแนะนำที่มีประโยชน์อีกด้วย






  • visit our sponsor
    visit our sponsor


    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved