Poj
visit our sponsor
กรุณาสนับสนุนสปอนเซอร์ของเรา
Ploy









- เครื่องปรับอากาศ
- จะปลอบขวัญทารกร้องไห้อย่างไรดี
- ความอึดอัดในใจพ่อ
- หลีกเลี่ยงคนเมาเหล้าขับรถ
- เมื่อก๊อกน้ำรั่วหรือหยด
- ขับรถตอนกลางคืน
ระวังอันตรายจากของเล่น

(สหรัฐ)      แม้ว่าวิธีการเล่นของเล่นสำหรับเด็กๆ นั้นอาจยังคงเหมือนเดิม แต่ว่ากฎเกณฑ์ ในด้านความปลอดภัยอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่นปัจจุบันจะไม่ค่อยได้เห็นเด็กๆ เล่นลูกหิน หรือลูก แก้วกันเท่าไหร่นัก เพราะผู้ปกครองอาจกลัวว่าลูกจะอมเข้าไป และง่ายต่อการ ลื่นเข้าปาก แต่แม้ว่ามาตรฐานความปลอดภัยสำหรับของเล่นจะปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย แต่ก็ยังคงมีเด็กจำนวนมากกว่า 121,000 คน ที่อายุต่ำกว่า 14 ขวบเข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลในแต่ละปี

ของเล่นที่อันตรายชนิดหนึ่งสำหรับเด็กๆ ก็คือ ลูกโป่ง โดยเฉพาะลูกโป่งที่ผลิตจากวัสดุ Latex (เป็นยางชนิดที่ใช้ผลิตถุงมือยาง) โดยDr Ellen Schuman โฆษกของสถาบันกุมารแพทย์ระบุว่า เป็นเรื่องง่ายมากที่เด็กจะเคี้ยวเล่นเศษลูกโป่งที่แตกแล้ว และหากเผลอกลืนเข้าไป อาจทำให้อุดหลอดลมได้ นอกจากนั้นยังไม่แนะนำให้ซื้อของเล่นประเภทรถที่มีแบตแตอรี่ ซึ่งเด็กสามารถเข้าไปนั่งและขับขี่ไปเรื่อยๆ ที่จัดว่าไม่ปลอดภัยเพราะว่าเด็กๆ ยังไม่สามารถกะระยะทางเองได้ เนื่องจากยังไม่มีทักษะทางด้านนี้

สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ของเล่นไม่เหมาะสมกับวัยของเด็ก โดย Angela Mickalide ซึ่งเป็น Program Director ของ National Safe Kids Campaign ระบุว่า ปัญหาก็คือว่า เมื่อซื้อของเล่นสำหรับเด็กที่อายุมากกว่าไปให้เด็กที่อายุน้อยกว่าเล่น ของเล่นชนิดนั้น อาจจะมีชิ้นส่วนเล็กๆ ที่เด็กเล็กๆ สามารถกลืนเข้าปากด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือของเล่นอาจมีมุมที่แหลมคม อาจบาดมือ, ทิ่มตำได้ ถ้าไม่ระวัง หรือมีแผ่นเหล็กเล็กที่อาจหลุดออกมาได้ ทั้งนี้เป็นสิ่งที่ควรคำนึงเวลาเลือกซื้อของเล่นให้ลูก ปัญหาอาจจะเกิดเพราะบางครั้งผู้ปกครองเดินเข้าไปในร้านของเล่น แล้วเห็นฉลากแนะนำติดไว้ที่เล่นว่าเหมาะสมกับเด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไป แต่ก็ยังซื้อไปให้ลูกอายุ 2 ขวบเล่น เพราะคิดว่าลูกเราฉลาด คงเล่นได้ และยังสามารถเล่นได้อีกตั้งนานอีกด้วย หรือญาติๆ ซื้อมาให้เด็กโดยที่ไม่ดูอายุว่าเหมาะสมหรือไม่ ฉะนั้น ควรศึกษาข้อแนะนำเบื้องต้นต่อไปนี้

  • ไม่ควรซื้อของเล่นที่มีชิ้นส่วนเล็กๆ หรือแยกชิ้นส่วนได้ ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เนื่องจากเด็กๆ อาจกลืน หรือของเล่นพลัดหลงเข้าปากโดยไม่ตั้งใจ ทำให้หายใจไม่ออก


  • ไม่ควรซื้อของเล่นที่มีเสียงดังมากเกินไป เช่นปืนที่ส่งเสียงดังเวลายิง เพราะอาจทำให้ประสาทหูพิการได้


  • ควรหลีกเลี่ยงของเล่นที่มีการตั้งเป้ายิง เช่น ปืนมีลูก, ธนู - ลูกศรแหลม, เพราะหากพลาดพลั้ง อาจบาดเจ็บ โดยเฉพาะหากโดนนัยน์ตา


  • หลีกเลี่ยงของเล่นที่มีเชือก, สายจูง, หรือสายต่างๆ ยาวเกิน 7 นิ้ว เนื่องจากสายเหล่านี้อาจพัน, รัดคอเด็กได้

  • ไม่ควรซื้อของเล่นที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ เพราะอาจไหม้ และอาจเกิดความร้อนเมื่อใช้เป็นเวลานานติดต่อกัน

  • ไม่ควรซื้อปืนแก็ปให้ลูกเล่น หากมือถูกไกเข้านิดเดียวก็อาจลั่นออกไปโดยที่อาจไม่ตั้งใจเล็งก็ได


  • คำแนะนำเบื้องต้น สำหรับพิจารณาว่าของเล่นใดเหมาะสมกับอายุของเด็กวัยใด

  • สำหรับเด็กทารก ของเล่นที่เหมาะสมในวัยขวบปีแรก ควรเป็นของเล่นที่สร้างเสริมกิจกรรมทำด้วยวัสดุผ้า, ตุ๊กตาสัตว์ทำด้วยผ้า โดยไม่มีปุ่ม, ตุ่ม เม็ดกระดุมมาทำเป็นตา, จมูก, ของเล่นสำหรับอาบน้ำ (ลงน้ำได้), ตุ๊กตาผ้านิ่มๆ, หนังสือทำจากผ้า, และของเล่นส่งปิ๊บเมื่อบีบเบาๆ


  • สำหรับเด็กวัย 1 - 3 ขวบ ของเล่นที่ดีที่สุดคือ หนังสือ, ไม้บล็อค, ของเล่นที่ประกอบเข้าด้วยกันเป็นรูปร่าง เช่น ตัวต่อเลโก้สำหรับเด็กวัยนี้, ลูกบอลล์, ของเล่นที่ลากจูงได้ ของเล่นที่สอนรูปทรงต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกลม


  • สำหรับเด็กอายุ 3 - 5 ขวบ ควรเป็นของเล่นที่เป็นอุปกรณ์ทางศิลปะ ชนิดที่ปลอดสารพิษ เช่น สีเทียนปลอดสารพิษ, สีน้ำ, พู่กัน, หนังสือ, วิดีโอ, อุปกรณ์ดนตรี และของเล่นที่เล่นกลางแจ้งได้ เช่น ลูกบอลล์, ลูกบาสเล็กๆ ชิงช้า, ไม้ลื่น


  • สำหรับเด็กอายุ 5 - 9 ขวบ ควรให้เล่นอุปกรณ์สร้างเสริมหัตถกรรม, ศิลปกรรมต่างๆ เช่นร้อยลูกปัด, ประดิษฐ์สร้อยคอเอง นอกนั้นก็เป็นเชือกกระโดด, หุ่นมือ, หนังสือ, รถไฟฟ้า (8 ขวบขึ้นไป) และอุปกรณ์กีฬาต่างๆ หากจะให้เครื่องอัดเทปแก่ลูก ควรตรวจดูว่าใส่แบตเตอรี่เรียบร้อยดี สายไฟไม่หลุด หลวม ไม่ควรให้เด็กเปลี่ยนแบตเตอรี่เอง


  • สำหรับเด็กอายุ 9 - 14 ปี ของเล่นที่เหมาะสมและถูกใจ ถูกวัย อาจจะเป็นคอมพิวเตอร์, กล้องจุลทรรศน์, โต๊ะนั่งเล่นเกมส์และเกมส์ที่เป็นกระดานต่างๆ เช่น เกมเศรษฐี (Monopoloy) หมากรุก หมากฮอสส์ โดมิโน รวมทั้ง อุปกรณ์กีฬากลางแจ้ง ที่เล่นเป็นทีม เช่นลูกฟุตบอล, รองเท้ากีฬา, และควรเก็บอุปกรณ์และของเล่นของเด็กโตให้พ้นมือเด็กเล็กด้วย


  • อ่านข่าวอื่นประจำสัปดาห์นี้

    เตือนภัยใกล้ตัวคนกรุงเสี่ยงไวรัสเอ
    ระบุสายการบินดองปัญหาอีโคโนมีซินโดรมนาน 30 ปี
    - ร้านเสริมสวยส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐาน
    - สธ. พบเด็กกทม. 40% ดูทีวีวันละ 2 ชั่วโมงขึ้นไป
    - กินฟาส์ตฟูดทำให้เด็กกระดูกนิ่ม



    มุมการกุศล : Charity area





    visit our sponsor
    visit our sponsor


    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved