Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy











ตั้งครรภ์/คลอดบุตร  >
การตั้งครรภ์กับโรคเหงือกอักเสบ

ขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น การทำงานและกิจวัตรประจำวันต่างๆที่เคยทำมาก่อนนั้น อาจ ต้องลดน้อยลงตามลำดับเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น แต่คุณแม่ทั้งหลายไม่ควรที่จะงดเว้นการทำความ สะอาดช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟัน เพราะหญิงมีครรภ์นั้นมีโอกาส เป็นโรคเหงือกอักเสบได้ ตั้งแต่เดือนที่ 2-3 ของการมีครรภ์ และจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นจนถึง เดือนที่ 8 ของครรภ์ การเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน ( Estrogen ) และโปรเจส เตอโรน (Progesterone) ในขณะตั้งครรภ์มีผลทำให้แบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเหงือก อักเสบเจริญเติบโตอย่างมากมาย ทำให้เหงือกอักเสบบวมแดงและมีเลือดออกได้ง่าย

จากการวิจัยพบว่า 50 % ของหญิงมีครรภ์มักเป็นโรคเหงือกอักเสบขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ดี คุณ แม่ท่านใดเป็นผู้ที่มีอนามัยช่องปากดีอยู่แล้ว ก็จะไม่เป็นโรคนี้

โดยปกติโรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่มีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง ผู้ที่แปรงฟันไม่ถูกวิธีและไม่ ใช้ไหมขัดฟันมีโอกาสเป็นโรคเหงือกได้เกือบ 100 % แต่เนื่องจากโรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่มี การดำเนินโรคช้า และมักไม่แสดงอาการปวดรุนแรง จนกระทั่งโรคได้ลุกลามมากแล้ว ผู้ป่วยจน จะรู้ตัวว่ามีความผิดปกติขึ้น อาการเริ่มแรกหากสังเกตให้ดีจะพบว่า อาจมีเลือดออกเวลาแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟันสีเหงือกคล้ำเข้มขึ้น ขอบเหงือกมีลักษณะบวมแดง ยอดสามเหลี่ยมของเหงือกมี ลักษณะมนกลม มีกลิ่นปากและการเสียวฟัน ก็อาจเป็นอาการของโรคเหงือกได้ค่ะ

ในบางครั้งโรคเหงือกอักเสบในหญิงมีครรภ์ อาจจะรุนแรงมากจนกระทั่งเหงือกมีลักษณะเป็น ก้อนเนื้อโตขึ้นมาก (Pregnancy Tumor) มีเลือดออกง่าย และจะเจ็บก็ต่อเมื่อก้อนเนื้อใหญ่ขึ้นจน เป็นอุปสรรคต่อการบดเคี้ยว

การรักษาเหงือกอักเสบระหว่างการตั้งครรภ์สามารถทำได้ในเดือนที่ 4-5-6 ของการตั้งครรภ์ โดย การขูดหินน้ำลาย และกำจัดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก รวมทั้งการสาธิตวิธีแปรงฟัน นวดเหงือก และการใช้ไหมขัดฟันโดยทันต์แพทย์ และหากมีก้อนเนื้องอก ( Pregnancy Tumor ) ที่เหงือก ก็ ควรตัดออกด้วย

การวิจัยพบว่า สุขภาพช่องปากของมารดายังมีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด (Preterm) และภาวะทารกมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตราฐาน ( Low Birth Weight ) อันมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อใน ช่องปากจากโรคเหงือกอักเสบ ( Periodontal Infection ) หญิงมีครรภ์ที่มีปัญหาโรคเหงือกอักเสบมี โอกาสคลอดบุตรก่อนกำหนด และมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตราฐาน สูงกว่าหญิงมีครรภ์ปกติที่เรียกว่า Prostaglandin นั้น มี เพิ่มสูงขึ้นในผู้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรงนั่นเอง จากรายงานในปี 1999 พบว่า 23 % ของหญิงอายุตั้งแต่ 30-54 ปี เป็นโรคปริทันต์ อักเสบ ( Pereiodontal )

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีเหงือกอักเสบเป็นจำนวนมากมีโอกาสคลอดก่อนกำหนด และน้ำหนักทารก ต่ำกว่ามาตราฐาน โดยมีโรคปริทันต์อักเสบในช่องปากเพียง 2 แห่งเท่านั้น

ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะเป็นคุณแม่ ก็ควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเสียก่อนเพื่อป้องกันปัญหา ดังกล่าว

อนึ่ง คุณผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือหญิงที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ (Total Hysterectomy ) และหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับฮอร์โมนเพศเสริม ก็อาจเป็นโรคเหงือก อักเสบได้ เช่นเดียวกับหญิงมีครรภ์ เนื่องจากยาคุมกำเนิดส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยฮอร์โมน เพศหญิงดังกล่าวแล้ว

สิ่งที่คุณผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดควรทราบด้วยก็คือยาปฏิชีวนะบางชนิดที่ใช้ในการรักษา โรคเหงือกอักเสบ มีผลทำให้การทำงานของยาคุมกำเนิดลดลง ทำให้ท่านมีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้น ได้ ท่านจึงควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆ เสริม เช่น การใช้ ถุงยางอนามัย (Condom )

อย่าลืมนะคะ สุขภาพช่องปากดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ค่ะ

ที่มาข้อมูล: โดยโรงพยาบาลนครธน คอลัมน์มุมโรงหมอ ์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์








Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved