Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy














สารบัญ  >
คู่มือปฏิบัติตัวมารดาหลังคลอดและการเลี้ยงดูบุตร
โดย พ.อ.หญิง พวงจันทร์ (วีระไวทยะ) วงศ์วิเศษ


การปฏิบัติตนระหว่างให้นมบุตร

  1. ควรสวมยกทรงหลวมๆ ไว้เสมอ (เพื่อลดความเจ็บปวด และการหย่อนยาน)

  2. ถ้าเจ็บปวดเต้านมใน 2 -3 วันหลังคลอด (มารดาท้องหลังๆ) และ 3 - 4 วันหลังคลอด (มารดาท้องแรก) สาเหตุเพราะการคั่งของเลือดและน้ำเหลือง ให้ประคบด้วยความเย็น สลับความร้อนเพื่อลดความเจ็บปวดและกระตุ้นให้น้ำนมไหล ด้วยการให้ทารกดูดนม เร็วที่สุด (ทันทีหลังคลอด) และดูดบ่อยๆ อาการดังกล่าวจะไม่เกิด

  3. ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณเต้านมระหว่างเวลาให้นมทารก (ควรฟอกเฉพาะเช้าและเย็น เท่านั้น และล้างสบู่ออกให้หมด)

  4. เวลาให้นมทารก มารดาควรให้ทารกคาบหัวนมไปจนถึงบริเวณลานหัวนม เพื่อ กระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้ำนม และเพื่อป้องกันหัวนมแตก นอกจากนั้นยังมีผลให้มดลูก เข้าอู่เร็ว และไม่ทำให้ทารกดูดลมเข้าทางมุมปาก เพื่อป้องกันทารกเกิดอาการท้องอืด ถ้าให้ทารกคาบหัวนมให้ถูกวิธี ไม่จำเป็นต้องอุ้มทารกพาดบ่าเพื่อไล่ลม เพียงจับทารก นั่งสักครู่ก่อนจัดให้นอน

  5. ถ้ามีปัญหาหัวนมเจ็บหรือแตก ควรใช้ครีมทาตามแพทย์สั่ง และงดให้นมข้างนั้นจน กว่าจะหาย แต่ในระหว่างงดให้นมควรบีบน้ำนมทิ้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียน ของน้ำนม เมื่อหายแล้วจะได้มีน้ำนมให้ทารกตามปกติ

  6. ล้างมือและเช็ดหัวนมให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังให้นม เพื่อทำความสะอาดและ เปิดช่องทางให้น้ำนมไหล หลังให้นมทุกครั้งไม่ควรเปลี่ยนอิริยาบททารกเร็วเกินไป เพียงจับนั่งสักครู่จึงจับให้นอนจะตัดปัญหาการสำรอกและอาเจียน

  7. มารดาที่ให้นมทารกควรระมัดระวังเรื่องการรับประทานยา เมื่อเจ็บป่วยควรปรึกษา แพทย์ เพราะยาหลายชนิดจะมีผลผ่านทางน้ำนมมารดาถึงทารกได้ เช่น ยาดองเหล้า ยาจีน ยานอนหลับ ยาถ่าย ยาปฏิชีวนะ (ยาแก้อักเสบ) ต่างๆ ฯลฯ

  8. นอกจากยาแล้ว อาหารจำพวกผัก ผลไม้ บางอย่าง เช่น หัวหอม กะหล่ำปลี ฝรั่ง อาจ ทำให้ท้องอืด กลิ่นและรสของน้ำนมเปลี่ยนไป ทำให้ทารกปฏิเสธน้ำนมมารดา อาหาร หมักดอง หรืออาหารรสจัดอาจทำให้มารดาท้องเสียได้

  9. มารดาที่เคยสูบบุหรี่ จะทำให้การหลั่งของน้ำนมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนแห้งหมดไป จึงควรงดสูบบุหรี่

  10. ระหว่างให้นมบุตร มารดาควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้น้ำนมหลั่งเพิ่มขึ้น

  11. ในกรณีมารดาเกิดเจ็บป่วย ซึ่งต้องรับการรักษา ควรงดให้นมชั่วคราวจนกว่าจะ หายขาด และในระหว่างป่วยควรดูดน้ำนมทิ้งทุก 3 - 4 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกว่าเต้านมคัดตึง ทำให้มีการไหลเวียนของน้ำนม เมื่อหายป่วยจะได้ให้นมแม่ต่อไปได้



back




Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved