Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy














สารบัญ  >
คู่มือปฏิบัติตัวมารดาหลังคลอดและการเลี้ยงดูบุตร
โดย พ.อ.หญิง พวงจันทร์ (วีระไวทยะ) วงศ์วิเศษ


การบริบาลทารก

  • การทำความสะอาด
  • การอาบน้ำทารกให้สะอาดและปลอดภัย
  • สอนคุณแม่ปูที่นอนให้ทารก
  • อันตรายที่อาจเกิดกับทารกตั้งแต่แรกเกิด
  • การให้ภูมิคุ้มกันโรค
  • อาการผิดปกติที่ต้องรีบนำทารกส่งโรงพยาบาล
  • การทำความสะอาดผ้าอ้อม
  • ลูกจ๋าฉี่...ระวังหน่อย
  • การสังเกตอุจจาระ ปัสสาวะของลูกน้อย
  • การนอน
  • การร้อง
  • การพาทารกมาตรวจหลังคลอด
  • การบริบาลทารกหลังคลอดที่เกิดจากหญิงที่ได้รับเชื้อเอดส์หรือเป็นโรคเอดส์
  • อันตรายที่ควรระวัง เมื่อลูกเริ่มเคลื่อนไหวได้
  • ดูแลลูกอย่างไรเมื่อลูกมีไข้
  • คุณแม่กลุ้มใจลูกไม่ทานยา
  • แม่จ๋า...หนูอาเจียน
  • หนูหายใจไม่ออก
  • แม่จ๋าช่วยด้วย...เลือดออกจมูก




    การทำความสะอาด


    1. ผิวหนังบริเวณศีรษะและร่างกายโดยเฉพาะตามข้อพับจะพบว่า มีไขมันเกาะอยู่ ควร ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำมันมะกอกเช็ดเบาๆ ไขมันจะค่อยๆ ออกไปวันละน้อย จึงค่อยเช็ดตัว หรือสระผมอาบน้ำให้ทารก (อาบน้ำแบบแช่ได้ เมื่อสายสะดือหลุดแล้ว เมื่อสายสะดือ หลุดแล้ว ซึ่งปกติสายสะดือจะหลุดประมาณ 7 วันหลังคลอด )

      วิธีจับทารกอาบน้ำ มารดาควรใช้มือข้างใดข้างหนึ่งจับให้แน่นบริเวณใต้รักแร้ทารกอ้อม ไปถึงต้นแขน เพื่อไม่ให้ทารกหลุดจากมือมารดา

    2. การดูแลสายสะดือทารก ควรทำความสะอาดโดยใช้สำลีพันปลายไม้หรือ Q tip ชุบแอลกอฮอล์ 70 % เช็ดจากโคนสะดือ ( บริเวณที่สะดือติดกับผิวหนังหน้าท้อง ) มารดาควรล้างมือให้สะอาดแล้วจับเชือกที่ผูกสายสะดือเอียงไปทีละข้าง เพื่อเช็ดโคน สะดือมายังปลายสะดือ ( ควรเช็ดสะดือหลังเช็ดตัวทาแป้งหรือครีมแล้ว ) ห้ามโรยแป้ง บนสะดือ เพราะจะเกิดการติดเชื้อจากความไม่สะอาดของแป้ง ถ้าทาครีมแล้วไม่ควร ทาแป้งทับ

    3. มารดาควรสระผมให้ทารกได้วันละ 1 ครั้ง ก่อนสระควรใช้สำลีสะอาดชุบน้ำมัน มะกอก เช็ดไขบริเวณหนังศีรษะและด้านหลังใบหู เพื่อป้องกันการเป็นแผลที่เกิด การหมักหมมของไขมันเด็ก โบราณเรียก "แผลชันนะตุ"

    ในรายที่เชือกผูกสายสะดือหลุดและมีเลือดไหลออกมาปลายสะดือ มารดาควรใช้เศษ ผ้าสะอาด ( ห้ามใช้เชือกหรือด้ายพลาสติกที่มีความคม ) ผูกสายสะดือเหนือบริเวณ ที่เคยผูก หรือบริเวณที่เคยผูก เพื่อให้เลือดหยุด และพามาส่งโรงพยาบาลหรือ สถานีอนามัยใกล้บ้าน

    back




    การอาบน้ำทารกให้สะอาดและปลอดภัย


    การเลี้ยงลูกรักนอกจากการให้นมและอาหารที่มีคุณประโยชน์แล้ว การดูแลลูกรัก ในเรื่องความสะอาดของร่างกายก็มีความสำคัญเทียบเท่ากับการกินอาหาร การอาบน้ำให้ลูกรักของคุณพ่อคุณแม่คนใหม่จะสร้างความยุ่งยากลำบากใจให้มาก พอสมควร

    เพื่อความมั่นใจของคุณแม่และเพื่อความปลอดภัยของลูกรัก คุณแม่ควรเตรียม ของใช้ทุกอย่างไว้ใกล้ตัว เพื่อหยิบใช้ได้สะดวก สามารถอาบน้ำให้ลูกรัก ได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วย และไม่ต้องทิ้งลูกรักไว้ลำพัง

    เครื่องใช้สำหรับอาบน้ำมีดังนี้

  • อ่างอาบน้ำขนาดพอเหมาะกับตัวลูกรัก
  • ฟองน้ำหรือผ้าขนหนูผืนเล็กๆ 1-2 ผืน
  • ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ 2 ผืน
  • สบู่สำหรับทารก
  • แป้งที่สะอาดไม่มีสีและกลิ่นหอม
  • ถ้วยใส่น้ำสุกเย็น
  • สำลีสะอาด
  • สำลีพันปลายไม้
  • แชมพูสระผมสำหรับเด็ก
  • เบาะพลาสติกหรือผ้าอ้อมพลาสติกผืนใหญ่สำหรับวางตัวลูกรัก
  • ผ้าอ้อมและเสื้อ
  • ขวดน้ำมันมะกอก
  • อ่างใบเล็ก

    คุณแม่วางลูกรักบนเบาะที่เตรียมไว้ (สถานที่อาบน้ำควรอยู่บนพื้นบ้านที่สะอาดเพื่อ ความปลอดภัยในการพลัดตกจากที่สูง ไม่มีลมโกรก ถ้าเป็นห้องแอร์ควรปิดแอร์ ) ถอดผ้าอ้อม ทำความสะอาดก้น คุณแม่ช้อนตัวลูกรักไว้ในอ้อมกอดค่อยๆ ถอดเสื้อ แล้วอุ้มลูกรักกอดแนบอก ลูกจะอบอุ่น มีความมั่นใจ ไม่อ้างว้าง คุณแม่เองก็จะ รู้สึกอบอุ่น เกิดความผูกพันและความมั่นใจในการอุ้มลูกรัก

    คุณแม่ใช้มืออีกข้างที่ว่าง หยิบผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่คลี่วางตามขวางบนเบาะพลาสติก แล้ววางลูกรักลงบนผ้าเช็ดตัว ใช้ชายผ้าเช็ดตัว 2 ข้างคลุมตัวลูกไว้ หยิบสำลี 2 ก้อนชุบน้ำสุกเย็นเช็ดบริเวณตาลูกจากหัวตาไปหางตา ใช้สำลีอีก 2-3 ก้อน ชุบน้ำ สุกเย็นเช็ดที่หน้าผาก แก้มจนสะอาด บริเวณศีรษะจะมีคราบไขมันติดอยู่ ซึ่งจะ มีมาถึงซอกคอ ใบหู หลังหูด้วย ควรใช้สำลีชุบน้ำมันมะกอกเช็ดเบาๆ ( ต้องใช้ เวลาหลายวันในการค่อยๆ เช็ดไขมันให้ออกหมด เพื่อป้องกันแผลชันนะตุ บริเวณ หนังศีรษะลูกรัก ) เมื่อเช็ดเสร็จแล้วห่อตัวลูกรัก เตรียมสระผมให้

    คุณแม่หยิบอ่างใบเล็กเตรียมไว้รองศีรษะลูกรัก เวลาสระผมคุณแม่อุ้มลูกรักให้ลำตัว แนบข้างตัวแม่ ฝ่ามือซ้ายช้อนศีรษะลูกรัก ถ้าผ่านบริเวณหู คุณแม่ใช้นิ้วหัว แม่มือและนิ้วกลางพับใบหูลูกไว้ ( เพื่อป้องกันน้ำเข้า ) คุณแม่หยดแชมพูลงบน ศีรษะลูก ใช้นิ้วมือคลึงเบาๆ (ไม่เกา ) ไปรอบๆศีรษะ ระหว่างสระผมให้ลูกรัก คุณแม่ควรใช้โอกาสนี้สบตาและคุยกับลูก ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเช็ดสบู่ออกให้หมด แล้วใช้ปลายผ้าเช็ดตัวเช็ดศีรษะลูกให้แห้ง ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเช็ดบริเวณซอกคอ ท้ายทอยให้สะอาด และซับให้แห้ง ( เวลาที่สระผมไม่ควรเกิน 2-3 นาที )

    คุณแม่วางตัวลูกรักลงบนเบาะอีกครั้งโดยไม่ต้องห่อตัว คุณแม่ฟอกสบู่ให้ลูกรักจาก ด้านบนลงล่างทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ( ถือโอกาสนี้ลูบไล้นวดตัวลูกไปด้วย ) เสร็จ แล้วใช้ผ้าชุบน้ำหรือฟองน้ำเช็ดบริเวณหัวไหล่ รักแร้และต้นแขนทั้งสองข้าง เพื่อกันลื่นเวลาอุ้มลูกรักลงอ่าง คุณแม่ก็ล้างมือเช่นกัน แล้วจึงอุ้มลูกลงอ่างน้ำ โดยคุณแม่ช้อนตัวลูกรักให้แขนคุณแม่รองอยู่ใต้ลำคอและไหล่ของลูกรัก มือคุณ แม่รวบใต้รักแร้ไปถึงหัวไหล่ลูกรัก มืออีกข้างรวบข้อเท้าทั้งสองข้าง ยกลูกรักลง ในอ่างน้ำเพื่อล้างตัวด้านหน้าให้สะอาด

    คุณแม่ใช้มือและแขนอีกข้างคอยรองรับลูกรักในท่านอนคว่ำให้ศีรษะลูกรักอยู่ขอบอ่าง บริเวณหน้าอกอยู่บนแขนของคุณแม่ ซึ่งคุณแม่ใช้มือรวบใต้รักแร้ถึงไหล่เช่นกัน ล้างตัวด้านหลังและก้นให้สะอาด คุณแม่แตะสบู่เล็กน้อยฟอกมือลูกรักและเช็ดออก ทันทีทั้งสองข้างเป็นอันเสร็จวิธีอาบน้ำลูกรักที่สะดือหลุดเรียบร้อยแล้ว อุ้มลูกรักวางลง บนผ้าเช็ดตัวผืนใหม่ห่อตัวลูกรักสักครู่ จึงเช็ดตัวให้แห้ง ทาแป้งหรือโลชั่น ทำความสะอาดสะดือ ใส่เสื้อ นุ่งผ้าอ้อม จัดให้ลูกห่มผ้านอนพักได้ จะสังเกต เห็นว่าลูกหลับสบายหลังอาบน้ำ

    back




    สอนคุณแม่ปูที่นอนให้ทารก


    เพื่อการประหยัดเหมาะสมกับยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองและเหมาะสมกับดินฟ้าอากาศ ประเทศไทยที่มีฤดูร้อน ร้อนมาก และร้อนที่สุด จึงขอเสนอวิธีปูที่นอนให้ทารก วิธีนี้จะใช้เฉพาะช่วงกลางคืนเท่านั้น

    ขอเสนอแนะนำว่า คุณแม่สามารถใช้ผ้าเช็ดตัวผืนเก่าที่อาจขาดหรือไม่ใช้เช็ด ตัวแล้ว 1 ถึง 2 ผืน ซักสะอาดพับทบกัน 2-3 ชั้น ปูบนผ้ายาง แล้วจึงปูผ้าอ้อมทับ จับทารกนอนโดยไม่ต้องห่อก้นหรือนุ่งกางเกง ใส่เสื้อแขนสั้นหรือแขนยาวตาม อุณหภูมิห้อง ถ้าทารกเพศชายควรพับผ้าอ้อมผืนเล็กวางทาบบนอวัยวะเพศ แล้วห่มผ้าให้ตามความเหมาะสม

    วิธีนี้จะช่วยให้ทารกนอนหลับได้ตลอดคืน เพราะเมื่อทารกถ่ายปัสสาวะครั้งที่ 1 ก็จะซึมลงไปในผ้าเช็ดตัวหมด ปัสสาวะครั้งที่ 2 ก็จะซึมลงเช่นกัน ปัสสาวะครั้งที่ 3 ทารกจะรู้สึกเปียก

    คุณแม่ไม่จำเป็นต้องปลุกทารกมาดื่มนมถ้าทารกหลับ ไม่ต้องซักผ้าอ้อมมาก ประหยัดกำลังกายและเงินตรา ทารกได้หลับนานได้พักผ่อนมาก ทารกจะโตเร็ว ลองนำไปใช้นะคะ เพราะคุณแม่สอนมา

    back




    อันตรายที่อาจเกิดกับทารกตั้งแต่แรกเกิด


    อันตรายที่อาจเกิดจากการเลี้ยงดูทารก ดังต่อไปนี้

    1. ห่อหุ้มตัวทารกมากเกินความจำเป็นตั้งแต่แรกเกิด โดยไม่คำนึงถึงความจำ เป็นและอุณหภูมิการห่อตัวทารก อาจจำเป็นต้องทำเมื่อทารกร้องกวน โดยได้ตรวจ สอบแล้วว่าไม่มีอะไรผิดปกติ ภายหลังการห่อตัวหรือห่มผ้าให้ทารก แม่ควรตรวจ สอบที่ตัวทารกว่ามีเหงื่อซึมออกมาหรือไม่

    2. การให้นมแม่และนมผสมไม่ถูกวิธี รวมทั้งการเตรียมอุปกรณ์ไม่สะอาด ถ้า ทารกอิ่มเต็มที่ห้ามจับนอนราบทันที เพราะอาจสำลักหรืออาเจียน ถ้าเป็นบ่อย ๆอาจเกิดปอดอักเสบและเสียชีวิตได้

    3. ท่านอนทารก พ่อแม่บางรายอาจเข้าใจว่าการให้ทารกนอนคว่ำจะทำให้ศีรษะ สวย ซึ่งไม่เป็นความจริง (ศีรษะทารกจะเป็นอย่างไรเกิดจากพันธุกรรม ) ถ้าให้ทารก นอนคว่ำกับที่นอนนุ่ม เป็นหลุมจะทำให้หายใจลำบาก จากการทำวิจัยของต่าง ประเทศพบว่า ทารกเป็นจำนวนมากต้องเสียชีวิตจากการนอนคว่ำควรให้ทารก นอนหงายหรือตะแคง โดยดึงแขนข้างที่ทารกตะแคงทับอยู่ออกมาข้างหน้า เพื่อป้องกันทารกนอนคว่ำลง

    4. การพลั้งเผลอของแม่หรือคนเลี้ยงเวลาอุ้มทารก หรือขณะอาบน้ำ ถ้าอุ้มไม่ ถูกวิธีทารกอาจหลุดจากมือจมน้ำได้ หรืออาจตกจากที่สูง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ได้ ฉะนั้นเวลาจะอุ้มทารกควรอุ้มเฉพาะตัวทารก ไม่ควรอุ้มโดยมีผ้ารอง ทารกจะ ตกจากมือเหลือแต่ผ้าอยู่ที่มือท่าน

    5. ถ้ามีความจำเป็นที่ต้องให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกับพ่อแม่ ควรระวังการ เบียด นอนทับหรือทารกตกเตียง

    6. ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน ควรได้รับนมแม่ ฉะนั้นแม่ควรได้อาหารที่ดีมีคุณภาพ จึงจะเป็นน้ำนมที่เลี้ยงทารกได้ดี แม่ที่ติดบุหรี่ ดื่มเหล้า ติดยาเสพติด หรือเป็น โรคติดต่อ ควรงดให้นมทารก


    back




    การให้ภูมิคุ้มกันโรค


    มารดาควรพาทารกมาเริ่มให้ภูมิคุ้มกันโรคตับอักเสบ เมื่ออายุครบ 1 เดือน และ ซ้ำอีก 1 ครั้ง เมื่ออายุครบ 6 เดือน ให้ภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ เมื่ออายุครบ 2 เดือนและให้แพทย์ได้ตรวจความเจริญเติบโตหรือความผิด ปกติของทารก เพื่อวางแผนให้ภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งจะต้องให้หลายครั้งตามกำหนด ที่แพทย์วางแผนไว้ จึงจะได้ผลและมีความจำเป็นมากแก่ทารก ( อาจพาทารกมา ที่โรงพยาบาลหรือศูนย์อนามัยใกล้บ้านท่าน) เมื่อถึงกำหนดนัด ถ้าทารกป่วยมีไข้ มีน้ำมูกไหลต้องพา ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาให้หายจึงนำมาให้ภูมิคุ้มกันได้

    back




    อาการผิดปกติที่ต้องรีบนำทารกส่งโรงพยาบาล


    1. ทารกมีไข้สูงเกิน 38.4 องศาเซลเซียส ระหว่างเดินทางมาพบแพทย์มารดาควร เช็ดตัวให้ด้วยน้ำธรรมดา โดยเฉพาะบริเวณศีรษะควรวางกระเป๋าน้ำแข็ง ซึ่งอาจ ใช้ถุงพลาสติกเล็กๆใส่น้ำแข็งแล้วห่อผ้าวางที่ศีรษะเด็ก เพื่อป้องกันการชัก ถ้าทารก มีอุณหภูมิต่ำกว่า 36.1 องศาเซลเซียส ควรให้ความอบอุ่นแล้วรีบนำส่งแพทย์

    2. ทารกมีอาเจียนพุ่งมากกว่า 1 ครั้ง มารดาต้องแยกให้ออกระหว่างอาเจียนกับสำรอก

    3. สำรอก จะเกิดเมื่อทารกได้รับนมหรือน้ำมากเกินความต้องการ หรือเมื่อ เปลี่ยนท่าของทารกเร็วๆหลังให้นม สิ่งที่ขับออกมาจะมีจำนวนน้อย

    4. อาเจียน จะเกิดได้ตั้งแต่ทารกได้นมหรือน้ำ และมีจำนวนมากกว่าสำรอก ซึ่งมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ร้องกวนหรือซึมผิดปกติ ถ้าทารกอาเจียนให้จับ ทารกนอนราบ แล้วหันศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักอาเจียน

    5. ทารกปฏิเสธการให้นมติดๆ กันเกินกว่า 2 ครั้ง

    6. ทารกง่วงซึมไม่เคลื่อนไหว แม้ได้รับการกระตุ้นจากพ่อแม่

    7. ทารกหน้าเขียวขณะให้นม ซึ่งควรงดให้นมทันที

    8. ทารกหยุดหายใจเกิน 15 วินาที


    back




    การทำความสะอาดผ้าอ้อม


    เพื่อป้องกันความสกปรกและกลิ่นอับ ควรปฏิบัติดังนี้

    1. ผ้าอ้อมเปื้อนอุจจาระ ควรใช้น้ำธรรมดาราดผ้าอ้อมเพื่อให้เศษอุจจาระหลุดก่อน แล้วแช่ไว้ในน้ำธรรมดาหรือผสมยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปซัก

    2. ผ้าอ้อมเปื้อนปัสสาวะ ควรขยำในน้ำธรรมดา 1 ครั้ง แล้วแช่ไว้ในน้ำธรรมดา หรือน้ำที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปซัก จะทำให้ผ้าอ้อมมีกลิ่นสะอาด มั่นใจใน ความสะอาดหลังซัก

    3. ผ้าอ้อมชนิดใยสังเคราะห์ ควรใช้เมื่อนำทารกออกจากบ้าน เพื่อกันเปียกเลอะเทอะ เท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นประจำ เพราะจะทำให้เกิดความอับชื้น เนื่องจากอากาศประ เทศไทยร้อน รวมทั้งเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมและสิ้นเปลืองเงินโดยไม่จำเป็นอีกด้วย


    back




    ลูกจ๋าฉี่.....ระวังหน่อย


    การดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะเพศของลูกชาย ดูเผินๆ คุณพ่อคุณแม่คิดว่าสะดวก ไม่ต้องเน้นอะไรมาก แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วจะพบว่า ลักษณะการถ่ายปัสสาวะของ เด็กผู้ชายจะแตกต่างจากเด็กผู้หญิงโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อลูกชายถ่ายปัสสาวะ น้ำปัสสาวะจะกระจายไปทั่วบริเวณ ตั้งแต่หน้าท้อง ต้นขา จรดบั้นเอวและก้น

    คุณแม่หลายรายเคยมีประสบการณ์โดนปัสสาวะของลูกชายปลุกให้ตื่นอยู่บ่อยๆ ในรายที่มิได้ห่อก้นของลูกชายเวลานอนกลางคืน

    วิธีทำความสะอาดให้ลูกชายหลังจากปัสสาวะ มีดังต่อไปนี้

    1. คุณแม่จะต้องระวังขณะที่คุณแม่จะดึงผ้าอ้อมออกจากตัวลูกชายเพื่อทำความสะอาด ให้ ลูกชายมักจะถ่ายปัสสาวะอีกครั้งเป็นการส่งท้าย เพราะเวลาที่คุณแม่ดึงผ้าอ้อม ออกจะไปกระตุ้นที่อวัยวะเพศทำให้ลูกชายถ่ายปัสสาวะออกมาโดยอัตโนมัติ คุณ แม่ควรใช้ผ้าอ้อมปิดไว้ก่อนประมาณ 1-2 นาที เมื่อสังเกตว่าลูกชายปัสสาวะเสร็จ ค่อยถอดผ้าอ้อมออก

    2. ก่อนที่คุณแม่จะดึงผ้าอ้อมออก ควรสำรวจด้วยว่าลูกชายถ่ายอุจจาระด้วยหรือไม่ ถ้าถ่ายอุจจาระด้วย คุณแม่ควรใช้ผ้าอ้อมอีกชายที่สะอาดเช็ดก้นลูกเบาๆ ( เพื่อ ป้องกันการระคายเคือง คุณแม่ควรหยดน้ำที่ผ้าอ้อมพอเปียกก่อนเช็ดก้น ) แล้ว นำชายผ้าที่สะอาดเช็ดก้น แล้วจึงวางก้นลง

    3. คุณแม่ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำสะอาดทำความสะอาดบริเวณหน้าท้อง โดยคุณแม่จะ สังเกตเห็นคราบปัสสาวะ ซึ่งอาจอยู่เหนือสะดือ คุณแม่เช็ดจากบนลงล่างจนสะอาด อาจใช้สำลีชุบน้ำหลายก้อน ตามความต้องการจนสะอาด

    4. เช็ดบริเวณข้อพับต้นขา บริเวณอัณฑะด้านบนและด้านล่างจนสะอาด แล้วจึง เช็ดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์โดยไม่ต้องรูดผิวหนังหุ้มอวัยวะเพศ

    5. คุณแม่รวบขาทั้ง 2 ข้างของลูกชายและจับก้นยกขึ้น ใช้สำลีชุบน้ำทำความสะอาด ใต้บริเวณอัณฑะจนถึงทวารหนักบริเวณก้นทั้ง 2 ข้าง จับลูกน้อยตะแคงข้างเช็ดตั้ง แต่บั้นเอวลงไปถึงก้น เมื่อสะอาดแล้วจึงดึงผ้าอ้อมใต้ก้นออกวางก้นลูกลงบนที่นอน

    6. คุณแม่ละมือจากลูกไปล้างมือของคุณแม่ให้สะอาด ใช้ผ้าอ้อมสะอาดผืนเล็กเช็ดทั่วๆ บริเวณจนแห้งสะอาดดี ถ้าสังเกตเห็นว่าบริเวณขาหนีบและก้นมีรอยแดงอาจทาครีม แต่ถ้าไม่มีผื่นแดงก็ไม่จำเป็นต้องทา อาจใช้แป้งเฉพาะเด็กทาเพื่อความสบาย หายระคายก็ได้


    back




    การสังเกตอุจจาระ ปัสสาวะของลูกน้อย


  • ใน 2-3 วันแรกหลังคลอด อุจจาระจะเป็นสีเทาดำตามปกติ (เรียกว่าขี้เทา)
  • ทารกที่ได้รับนมมารดา อุจจาระจะเหลวและมักจะถ่ายหลังให้นมเสมอ
  • ทารกที่ได้รับนมผสม อุจจาระจะแข็งและมีกากมากกว่าทารกที่ได้รับนมแม่
  • ถ้าทารกถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ 6-10 ครั้ง ต่อ 1วัน ถือว่าผิดปกติ
  • ปกติทารกควรปัสสาวะ 6-10 ครั้งต่อ 1 วัน ถ้าต่ำกว่านี้ควรให้น้ำมากๆ

    back




    การนอน


    2-3 วันแรกหลังคลอด ทารกจะหลับนานและตื่นเฉพาะเวลาหิวนม (ปกติทารกจะ นอนวันละ 12-16 ชั่วโมง ) และหลังจากคลอดได้ 3 วัน ทารกจะมีการเคลื่อนไหว มากขึ้น

    back




    การร้อง


    การร้องของทารกแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ส่วนมากจะร้องเมื่อมีความต้องการ เช่น ต้องการนม ต้องการความอบอุ่น

    back




    การพาทารกมาตรวจหลังคลอด


    หลังจากทารกอายุได้ 8 สัปดาห์ ควรพาทารกมาพบแพทย์เพื่อตรวจดูความเจริญ เติบโตและความผิดปกติ พร้อมทั้งให้ภูมิคุ้มกันโรคต่างๆด้วย

    back




    การบริบาลทารกหลังคลอดที่เกิดจากหญิงที่ได้รับเชื้อเอดส์หรือเป็นโรคเอดส์


    1. งดให้นมมารดาแก่ทารกโดยเด็ดขาด ถ้ายังมีการหลั่งน้ำนมอยู่ มารดา ควรใส่ยกทรงค่อนข้างคับเพื่อรัดเต้านมเอาไว้ น้ำนมจะหยุดหลั่งไปในที่สุด

    2. มารดาควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการขีดข่วนผิวหนังทารกและ ควรล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสทารก

    3. มารดาควรฝึกการเตรียมนมผสมและอุปกรณ์ต่างๆ

    4. ขณะเปลี่ยนผ้าอนามัยควรระมัดระวังอย่าแตะต้องบริเวณที่เปื้อนโลหิต ถ้าเป็น ไปได้ควรสวมถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง ทิ้งผ้าอนามัยและถุงมือที่ใช้แล้วลงในถุงขยะแยก ปิดถุงและเผาเมื่อเต็มถุงแล้ว ล้างมือให้สะอาด

    5. ทารกมีโอกาสเป็นโรคเอดส์เพียง 25 % เท่านั้น ถ้าการคลอดโดยไม่ได้สัมผัสเลือด น้ำเหลือง หรือเมือกจากช่องคลอด ( คลอดโดยผ่าตัดทางหน้าท้อง ) คือทารก 100 คน จะปลอดภัยจากโรคเอดส์ 65- 80 คน จึงควรป้องกันทารกให้ปลอดภัยจากการสัมผัส โรคจากภายนอก

    6. ควรนำทารกมาตรวจเลือดหาเชื้อเอดส์ทุกๆ 6 เดือน

    7. ขณะนี้วงการแพทย์กำลังเร่งค้นคว้ายาแก้โรคเอดส์ คาดว่าไม่เกิน 2 ปี คงสำเร็จ


    back




    อันตรายที่ควรระวัง เมื่อลูกเริ่มเคลื่อนไหวได้


    คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่จะรอและเร่งวันเร่งคืนให้ลูกโตเร็วๆ นั่ง คลาน พูด ยืนและ เดินได้ตามใจตนเอง และคิดว่าเมื่อถึงเวลานั้นคงจะสบายและสะดวกขึ้นในการเลี้ยงดู (ปล่อยให้คนอื่นดูแลให้ ) แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ยิ่งลูกของท่านโตขึ้นเท่าไร ยิ่งต้องระวังอันตรายที่จะเกิดกับลูกของท่านมากขึ้นเท่านั้น จึงควรระวังอันตรายที่เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้

    1. ปลั๊กไฟที่บ้านส่วนใหญ่มักจะอยู่ใกล้ๆพื้น ควรหาที่ปิดปลั๊กไฟ (มีขายอยู่ทั่วไป ตามร้านขายเครื่องไฟฟ้า) ปิดไว้เสมอ เพื่อป้องกันนิ้วมือเล็กๆของลูกแหย่เข้าไป ซึ่งจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต

    2. วัสดุเล็กๆ ที่มักจะหล่นตามพื้นบ้าน เช่น เศษอาหาร เศษกระดาษ เศษวัสดุ ด้าย เชือก โบว์ เศษสตางค์ ยาต่างๆ ของเล่นที่เล็กกว่าปากลูกที่สามารถเป็นอันตรายกับลูกของท่าน คือ อาจติดคอ ติดจมูก หรือมีอันตราย กับร่างกายด้วยพิษของนั้นๆ ควรเก็บกวาด หรือตรวจตราให้ละเอียดก่อนปล่อยลูกลงพื้น

    3. ควรปิดประตูห้องน้ำและห้องส้วมไว้เสมอ เพราะน้ำเพียงเล็กน้อยที่ติดกับก้นอ่างหรือถัง อาจทำให้เกิดอันตรายกับลูกของท่านได้ ถ้าลูกศีรษะทิ่มลงไปในถังหรืออ่างนั้นๆ

    4. อย่าปล่อยให้ลูกอยู่โดยลำพังใกล้ๆ บันได เก้าอี้ โต๊ะ หรือของเล่นที่เด็กสามารถเหนี่ยว ปีน และสามารถพลาดพลั้งตกลงมา เครื่องเรือนหรือของเล่นเหล่านั้น อาจล้มลงมาทำอัน ตรายร่างกายลูกได้ เคยมีหลายรายที่เปิดประตูชนิดเลื่อนทับลูกเป็นอันตรายถึงชีวิต

    5. ประตูครัวปิดไว้เสมอ อย่าวางกระติกน้ำร้อน หม้อร้อนๆ ทิ้งไว้บริเวณอื่น ถ้าจำเป็นต้อง วาง ควรวางไว้บนโต๊ะที่แข็งแรง และวางให้ลึกไม่สามารถเอื้อมถึง

    6. คุณแม่ควรปรุงอาหารและรีดผ้าขณะที่ลูกหลับ หลังรีดผ้าควรเก็บเตารีดไว้เป็นที่ปลอด ภัยห่างลูก

    7. ยารักษาโรคทั้งรับประทาน ยาทาแผล น้ำยาชำระล้างต่างๆ ควรเก็บไว้ในที่ไกลมือทารก

    8. ขณะที่มีคนดูแลลูก ควรให้ลูกได้มีโอกาสเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ เพียงแต่คอยระวังอัน ตรายที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ลูกเจริญเติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดี ถ้ามีความจำเป็นบางเวลา อาจต้องให้ลูกอยู่บริเวณจำกัด เช่น เปลหรือเปลใหญ่ที่ตั้งอยู่เตี้ยๆกับพื้น ( ฝรั่ง เรียก Play Pen) แต่ก็ควรระวังเมื่อลูกสามารถยืนและปีนได้แล้ว ก็อาจจะปีนตกลงมาได้ ถ้าลูกอยู่ใน นั้นด้วยความไม่พอใจ

    9. ถ้าจำเป็นต้องนำลูกไปนอกบ้านตามลำพังและต้องขับรถ ควรมีตะกร้าใส่ลูก วางตะกร้า ให้ศีรษะลูกอยู่ทางด้านข้างรถ ถ้าไม่มีเข็มขัดรัดตะกร้าให้ติดกับที่นั่งรถ ควรวางตะกร้าไว้ บริเวณหลังรถบริเวณพื้นระหว่างเก้าอี้หน้า และเบาะด้านหลังด้านตรงข้ามคนขับจะปลอด ภัยที่สุด เมื่อมีความจำเป็นต้องหยุดรถกะทันหัน ลูกจะกลิ้งอยู่ในตะกร้าและแม่ก็สามารถ มองเห็นลูกได้

    10. เมื่อลูกโตขึ้นสามารถเดินได้แล้ว ขณะขับรถไม่ควรให้ลูกนั่งคู่หรืออยู่ด้านหน้ารถ ควรให้นั่งเก้าอี้เฉพาะเด็กที่มีเข็มขัดรัด (เฉพาะเด็ก) ไม่ใช่เข็มขัดของผู้ใหญ่รัดให้เด็ก เพราะเข็มขัดจะทำให้เกิดอันตรายกับเด็กเมื่อมีอุบัติเหตุเนื่องจากขนาดของผู้ใหญ่และเด็ก ต่างกัน เด็กหลายรายเสียชีวิตจากการถูกเข็มขัดรัดคอและถุงลมนิรภัยหน้ารถกระแทกศีรษะ


    back




    ดูแลลูกอย่างไรเมื่อลูกมีไข้


    อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน มีผลให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เป็นเหตุให้เกิดการ เจ็บป่วยได้ง่ายและถ้าไม่รู้จักวิธีการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง ก็อาจจะทำให้เกิดโรคแทรก ซ้อนต่างๆได้

    อาการสำคัญอาการหนึ่งที่พบได้บ่อย เมื่อลูกรักเริ่มไม่สบายคือ "อาการตัวร้อน" ส่วนมาก คุณพ่อคุณแม่มักจะตรวจสอบอาการตัวร้อน ด้วยการสัมผัสโดยใช้หลังมือแตะบริเวณหน้า ผากหรือลำตัวลูกรัก หรือลูกรักอาจจะงอแงร้องกวนมากกว่าปกติ การตรวจสอบด้วยมือ เมื่อลูกรักตัวร้อนก็จะทราบโดยคร่าวๆ ถ้าต้องการทราบผลที่แน่ชัดก็ต้องวัดปรอทเมื่อพบว่า มีไข้สูง สิ่งที่พึงระวังคือ การชักจากไข้สูง ซึ่งพบบ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน - 6 ปี แต่จะ พบมากที่สุดในช่วง 1-3 ขวบ ปีแรก ฉะนั้นคุณแม่ควรเตรียมเช็ดตัวลดไข้ให้ลูกรัก

    โดยเตรียมกะละมังขนาดย่อมๆ 1 ใบ ผ้าขนหนูผืนเล็ก 2-3 ผืน น้ำจากก๊อก โอ่ง หรือ น้ำอุ่นเล็กน้อย ? กะละมัง ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่สำหรับทารก 1 ผืน จัดเตรียม บริเวณที่จะเช็ดตัว ไม่ให้ลมโกรกแต่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าอยู่ในห้องแอร์ควร ปิดแอร์

    ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำที่เตรียมไว้บิดจนหมาดวางซับที่ใบหน้า หน้าผาก ขมับ ลำคอ ใช้น้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกเล็กๆ ห่อด้วยผ้าขนหนูวางไว้บนหน้าผากตลอดเวลา ซับต่อ ไปบริเวณลำตัว แผ่นหลัง แขนขา และวางผ้าขนหนูบริเวณท้ายทอย ข้อพับต่างๆ ต้องหมั่นเปลี่ยนผ้าขนหนูบ่อยๆ ระหว่างเช็ดตัว ถ้าเกิดลูกรักหนาวสั่นควรหยุดเช็ด ตัวและห่อตัวไว้สักครู่

    การเช็ดตัวลดไข้ต่างกับการเช็ดตัวเพื่อทำความสะอาด คือไม่ถู จะใช้วิธีวางผ้าชุบน้ำ ที่บิดจนหมาดซับและกดเบาๆ เป็นการนำความเย็นที่แห้งดึงความร้อนออกจากลูกรัก ถ้าเช็ดตัวถูกวิธีจะสังเกตว่าน้ำในอ่างอุ่นขึ้น ถ้าไข้ยังไม่ลดควรรีบพาลูกรักไปพบแพทย์ ขณะเดินทางควรใช้ผ้าห่อถุงน้ำแข็งประคบศีรษะตลอดทางเพื่อป้องกันการชัก

    back




    คุณแม่กลุ้มใจลูกไม่ทานยา


    เมื่อลูกป่วยหลังจากพาไปพบแพทย์แล้ว ปัญหาใหญ่ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหนักใจ คือ การให้ยาตรงตามจำนวนและเวลาที่แพทย์สั่ง วิธีให้ยามีหลายวิธีดังต่อไปนี้

    1. วิธีให้ยาลูกน้อยแรกเกิดถึง 3 เดือน

      ยาส่วนใหญ่ ของลูกจะเป็นยาน้ำและมีรสหวาน

      วิธีที่ 1
      ให้ยาโดยใช้ช้อน ซึ่งจะมีมาในกล่องใส่ขวดยา ถ้าไม่มีอาจใช้ช้อนขนมหวาน ( ช้อนชา ) ถ้าจำนวนยาที่ต้องใช้ 1 ช้อนชา จะต้องแบ่งใส่ทีละครึ่งช้อน เพื่อไม่ให้ยาหก ทำให้ลูกได้ยา ไม่ครบตามจำนวน คุณแม่เปิดขวดยาวางไว้ วางลูกไว้ในอ้อมแขนให้แขนข้างหนึ่ง ของลูก อยู่ด้านหลังคุณแม่ ศีรษะอยู่ระหว่างข้อศอกคุณแม่ มือข้างเดียวกันจับขวดยาเตรียมรินยา ใช้มืออีกข้างหนึ่งที่ถนัดจับช้อนรินยาลงครึ่งช้อน มือข้างที่อุ้มลูกจับแขนลูกไว้ นำช้อนยา จ่อที่ปากลูก ลูกจะค่อยๆ ดูดยาจนครบตามจำนวน ถ้ายาหกต้องเพิ่มไปตามส่วนที่คะเน ว่าหก

      วิธีที่ 2
      ให้ยาด้วยหลอดแก้วดูดยา อุ้มลูกตามวิธีที่กล่าว แล้วดูดยาจากขวดตามจำนวนใส่หลอดดูด ยาในปากลูก ทางด้านกระพุ้งแก้ม บีบลูกยางที่ปลายหลอดแก้วเบาๆ เพื่อไม่ให้ลูกตก ใจหรือสำลัก ลูกจะกลืนยาได้ดี วิธีนี้ห้ามใช้กับลูกแรกเกิดถึง 1 เดือน เพราะอาจสำลัก และห้ามใช้กับลูกที่เริ่มมีฟันแล้ว เพราะลูกอาจกัดหลอดแก้วหรือหลอดพลาสติกแตก

      วิธีที่ 3
      ให้ลูกดูดยาจากนิ้วมือแม่ ในกรณีลูกไม่ยอมดูดยาจากช้อนหรือหลอดแก้ว คุณแม่เตรียม ยาใส่แก้วหรือช้อนสะอาดตามจำนวน คุณแม่ตัดเล็บให้สั้น ล้างมือและเล็บให้สะอาด ใช้นิ้วมือของคุณแม่จุ่มยาใส่ปากลูก ให้ลูกดูดจนครบจำนวน

    2. วิธีการให้ยากับลูกอายุ 1-3 ปี

      กรณีที่ลูกไม่ค่อยร่วมมือ มีวิธีดังนี้

      1. หลังให้ยาทุกครั้งควรให้รางวัลด้วยเครื่องดื่มที่ลูกชอบทันที

      2. บอกให้ลูกหายใจเข้าเต็มปอดแล้วบีบจมูกไว้ คุณแม่ป้อนยา ลูกจะได้กลิ่นยาน้อยลง ให้ลูกรีบกลืนโดยเร็ว

      3. ถ้าลูกโตพอ ควรอธิบายความจำเป็นที่ต้องทานยา เพื่อจะได้หายป่วย

      4. ถ้าหมดหนทางแล้ว ควรขอแพทย์เปลี่ยนยาให้รสชาติหรือสีสันต่างออกไป

    ข้อระวัง

    1. ถ้าลูกไม่ชอบรสชาติของยาอย่างมาก คุณแม่ให้ลูกอ้าปากกระดกลิ้นขึ้นและป้อนยา ลงใต้ลิ้น ลูกจะได้ไม่ต้องอดทนต่อรสชาติที่ลูกไม่ชอบมากเกินไป เพราะความรู้สึกรส ชาติของอาหารหรือยาจะอยู่ที่ส่วนบนของลิ้น ลูกจะกลืนได้อย่างรวดเร็ว และคุณแม่ควร รีบให้เครื่องดื่มที่ถูกใจตาม

    2. ห้ามผสมยาไปกับน้ำนมหรืออาหารโดยเด็ดขาด เพราะลูกของคุณจะไม่ได้รับยาตาม จำนวนและอาจทำให้ลูกไม่ยอมดูดนมหรือเกลียดอาหารชนิดนั้นไปเลย


    back




    แม่จ๋า...หนูอาเจียน


    การอาเจียนของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ทั่วไปอาจคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้บ่อยๆ ตั้ง แต่ทารกแรกเกิดจนโต ในวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน การอาเจียนโดยที่ไม่ได้มีการเจ็บป่วย และมีจำนวนไม่มาก อาจถือเป็นเรื่องธรรมดาหลังการดูดนมที่ลูกน้อยอาจดูดมากเกินไปจน ล้นกระเพาะ

    สำหรับการอาเจียนที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการอาเจียนที่เกิดเมื่อลูกน้อยเริ่มป่วย หรือขณะป่วย จำนวนอาเจียนที่ออกมาจะมีจำนวนมาก และจะมีเศษอาหารออกมาด้วย ลูกน้อยจะตกใจและ กลัว ฉะนั้นขณะลูกน้อยอาเจียนคุณแม่ควรอุ้มลูกไว้บนตัก

    เมื่อคุณแม่ลองสังเกตว่า ลูกน้อยป่วยและทำท่าว่าจะมีอาเจียนร่วมด้วย คุณแม่ควรเตรียม อุปกรณ์ ดังต่อไปนี้

    1. อ่างน้ำขนาดพอเหมาะไว้รองอาเจียน ขณะที่ลูกน้อยอาเจียน
    2. แก้วพร้อมน้ำดื่มอุ่นๆ
    3. ผ้าเช็ดปาก หรือกระดาษเช็ดปาก
    4. เอี๊ยมกันเปื้อน (สำหรับทารก)


    คุณแม่จัดวางอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ข้างเตียงลูก เมื่อลุกน้อยอาเจียนจะได้หยิบใช้ได้สะดวก ทันเวลา คุณแม่ควรสังเกตและรีบให้การช่วยเหลือทันทีที่ลูกมีความรู้สึกจะอาเจียน โดยอุ้มลูกน้อยให้นั่งบน ตัก ใช้มือข้างหนึ่งประคองหน้าอกและหน้าท้องลูกน้อยไว้ มืออีกข้างหนึ่งประคองศีรษะบริเวณหน้า ผาก คุณแม่พูดจา ปลอบโยนให้กำลังใจ

    คุณแม่ควรสังเกตสี กลิ่น และจำนวนอาเจียนที่ออกมา พร้อมสังเกตอาการของลูกน้อยว่ารู้สึก สบายขึ้นหรือไม่ ถ้าสังเกตแล้วว่าลูกน้อยอาเจียนเสร็จ ให้ลูกน้อยบ้วนปากให้สะอาด เช็ดปาก ให้แห้ง จับลูกน้อยไปนั่ง หรือนอนไกลจากอ่างที่รองรับอาเจียน เพื่อไม่ให้ลูกน้อยเห็น และ ได้กลิ่นอาเจียน ซึ่งอาจจะทำให้ลูกน้อยมีความรู้สึกอยากอาเจียนอีก คุณแม่นำอ่างที่อาเจียน ไปล้าง ทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง นำมาวางไว้ที่เดิม พร้อมกับแก้วน้ำที่ล้างสะอาดเช่นกัน และผ้าเช็ดปากผืนใหม่

    ก่อนทำความสะอาดอ่างอาเจียน ควรเก็บเศษอาเจียนไว้เล็กน้อย ถ้าลูกน้อยมีอาการมาก ต้องไปพบแพทย์ คุณแม่ควรนำอาเจียนไปให้แพทย์ตรวจด้วย จะเป็นประโยชน์กับการ วางแผนการรักษาต่อไป

    back




    หนูหายใจไม่ออก


    เมื่อลูกน้อยหายใจไม่ออกหรือหอบ เป็นความทุกข์ทรมานใจของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย อาการ หอบของลูกน้อยอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ถ้าพบว่าเกิดจากอะไรก็ควรเลี่ยงจากการสัมผัสนั้นๆ

    ทุกครั้งที่ลูกน้อยเกิดอาการหอบ คุณพ่อหรือคุณแม่ควรให้ความอบอุ่นอยู่ใกล้ๆ ลูก ขณะหอบ ลูกน้อยจะนอนลำบาก คุณแม่ควรให้ยาตามแพทย์สั่งและอุ้มลูกน้อยไว้บนตัก แต่อย่ากอด รัดจนแน่นลูกจะหายใจลำบาก ประคองตัวลูกไว้ อาจมีหมอนวางบนตักลูกน้อย เพื่อลูกน้อย จะได้ซบหน้าลงบนหมอนนั้นจนกว่าจะหายใจสะดวกขึ้น ถ้าลูกน้อยได้รับยาแล้ว15-20 นาที อาการควรจะดีขึ้น ถ้าไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์

    ถ้าลูกต้องการจะนั่งเอง อาจใช้หมอนหลายๆใบวางทับกันอยู่บนพื้น และให้ลูกน้อยพาดแขน ศีรษะและลำตัวส่วนบนที่หมอนเพื่อให้ลูกพักผ่อนได้ดีขึ้น คุณแม่ควรนั่งอยู่ใกล้ๆ เผื่อลูก ผลอยหลับไปจะได้อุ้มไว้ทัน

    ท่าที่สบายสำหรับลูกอีกท่า คือ คุณแม่วางหมอนบนโต๊ะ จัดให้ลูกนั่งที่เก้าอี้วางพาดแขนทั้งสอง ข้างและศีรษะตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง คุณแม่นั่งอยู่ใกล้ๆ ลูกจะนอนได้นาน

    back




    แม่จ๋าช่วยด้วย........เลือดออกจมูก


    เลือดออกทางจมูก หรือที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเลือดกำเดา เลือดจะออกจากหลอดเลือด ฝอยที่เยื่อบุจมูกแตก จะโดยสาเหตุใดก็ตาม เช่น อุบัติเหตุจากการกระทบ กระแทก ที่บริเวณจมูก เยื่อบุจมูกอักเสบ โรคฮีโมฟีเลีย (โรคเลือดไหลไม่หยุดหรือหยุดยาก) โรคความดันโลหิตสูง ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่หรือเด็กบางคนอาจมีเส้นเลือดในโพรงจมูก เปราะบางกว่าคนอื่น

    เมื่อลูกมีเลือดกำเดาออก สิ่งแรกคือ คุณแม่ต้องควบคุมอารมณ์ ไม่แสดงความตกใจจน เกินไป คุณแม่ต้องเตรียมอ่างเล็กๆ ไว้รองรับเลือดและน้ำลายที่จะออกจากจมูกและ ปากลูก พร้อมกระดาษเช็ดปาก ผ้าขนหนูเล็กๆ น้ำแข็งก้อนเล็กๆหรือถุงน้ำแข็ง

    คุณแม่อุ้มลูกนั่งอยู่ข้างๆ บนเก้าอี้ที่มีโต๊ะอยู่ข้างหน้า วางอ่างไว้ตรงหน้าลูก ถ้าลูก มีเลือดอยู่ในลำคอหรือในปาก ให้บ้วนทิ้งในอ่างที่เตรียมไว้ เช็ดปากให้สะอาด อีกมือหนึ่งบีบจมูกลูกบริเวณส่วนต้นปีกจมูกค่อนข้างแน่น และสอนให้ลูกหายใจทาง ปาก บีบจมูกอยู่นานจนประมาณ 10 นาทีจึงค่อยคลาย

    ถ้าเลือดยังคงไหลอยู่ ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นจัดหรือใช้ก้อนน้ำแข็งหรือถุงน้ำแข็ง ห่อด้วย ผ้าขนหนูประคบบริเวณจมูกตั้งแต่หน้าผาก ดั้งจมูก ลงมาถึงฐานปีกจมูกประ มาณ 2-3 นาที ถ้าเลือดยังไม่หยุดก็บีบจมูกอีกครั้งประมาณ 5-6 นาที ปลอบโยน ให้ลูกหายใจทางปากชั่วคราว ถ้ามีเลือดหรือน้ำลายอยู่ในปากก็ให้บ้วนทิ้งในอ่าง ทดลองปล่อยมือที่บีบจมูก เลือดควรจะหยุด คุณแม่ยังเช็ดหน้าด้วยผ้าชุบน้ำเย็นต่อ ไปสักครู่ แต่ต้องระวังการกระทบกระเทือนที่จมูก ตั้งแต่เลือดหยุดถึง 4 ชั่วโมง ห้ามสั่งน้ำมูกเป็นอันขาด

    ถ้าเลือดกำเดาออกมากยิ่งขึ้นนานกว่าครึ่งชั่วโมง หรือถ้าออกบ่อยๆ 2-3 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน ควรนำไปพบแพทย์



    back




    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved