Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy
Mirror Site http://www.geocities.com/thaiparents/














ชีวิตและสุขภาพ



ลูกชอบทะเลาะกัน ทำไงดี?


คำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคอาหารในผู้ป่วยที่มี อาการปวดแน่น ท้อง

ลูกชอบทะเลาะกัน ทำไงดี? พี่น้องอยู่ด้วยกัน บางครั้งเกิดอารมณ์ทะเลาะกัน แย่งของเล่นกัน แข่งขัน ชิงดีชิงเด่นกันบ้างนับเป็นเหตุการณ์ปกติที่อาจเกิดขึ้นทั่วไปในแต่ละครอบครัว และค่อนข้างเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเด็กๆ ย่อมต้องการเรียนรู้ที่จะมีการแข่งขันซึ่งกันและกัน, ให้ความร่วมมือกัน หรือต่อรองกันได้เองในหมู่พี่ๆ น้องๆ แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่แล้วย่อมเป็นเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น อยากเห็นลูกๆ รักใคร่ปรองดองกันตลอดเวลามากกว่า และถ้าคุณคิดว่าจะต้องป้องกันไม่ให้มีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นแล้วล่ะก็ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก และไม่ยุติธรรมสำหรับเด็กๆ อีกด้วย มองในแง่บวกแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถปฏิบัติได้ดังนี้ ถ้ามีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น: - พยายามอย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยว ร่วมวงกับลูกๆ ระหว่างที่ลูกทะเลาะกันเองเท่าที่จะเป็นไปได้ คุณพ่อคุณแม่ควรยืนอยู่ในฐานะที่ปล่อยให้ลูกๆ จัดการกันเองไปก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ปัญหา, ตัดสินปัญหา และหาทางออกจากปัญหาต่างๆ เหล่านั้นด้วยตัวเอง เด็กๆ จะต้องเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นและยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง - เปิดโอกาสให้ลูกแต่ละคนได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดคุณพ่อคุณแม่ตามลำพัง โดยไม่มีพี่หรือน้องคนอื่นอยู่ด้วย เพื่อที่จะช่วยลดการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น เพื่อช่วงชิงโอกาสทองที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับพ่อแม่ของลูกๆ ลง โดยเฉพาะบางครั้งการที่ลูกทะเลาะ เบาะแว้งกัน ก็เพราะว่าอยากจะได้อยู่ใกล้ชิดคุณพ่อคุณแม่ให้มากที่สุด หรืออยากเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่เท่านั้นเอง - ถ้าลูกๆ ทะเลาะกันถึงขั้น ตีกัน ทำร้ายร่างกายกัน จนอาจนำไปสู่การบาดเจ็บได้ เมื่อนั้นแหล่ะที่คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปจัดการ ห้ามปราม ต้องเข้าใจว่าการที่ลูกๆ เล่นมวยปล้ำ ไล่ฟัดนัวเนียกัน กับการที่ลูกคว้าไม้มาไล่ตีกันนั้นเป็นคนละเรื่องกัน ฉะนั้น คุณแม่ควรใช้วิจารณญาณและความยุติธรรมในการเข้าไปตัดสินคดีความในแต่ละครั้ง +++++++++++++++++++ 1. รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง

2. ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน

3. รับประทานอาหารที่เป็นน้ำๆ เช่น ข้าวต้ม, โจ๊ก, ก๋วยเตี๋ยวน้ำ

4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซ เช่น พืชตระกูลถั่ว, ดอกกะหล่ำ, หัวผัก กาด, หัวหอม, ฝรั่ง, แตงโม, บร็อคคอรี่, มัน, ขนุน, เผือก, หัวกะหล่ำปลี เป็น ต้น

5. ไม่รับประทานผักสด หรือผลไม้สดครั้งละมากๆ

6. ควรหลีกเลี่ยงพวกอาหารมันๆ หรือที่มีไขมันมากๆ เช่น กะทิ

7. ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้ จำพวก น้ำแอปเปิล, น้ำลูกพรุน, น้ำสับปะรด, น้ำอัด ลม, นมสด, นมเปรี้ยว, น้ำชา, กาแฟ

8. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง, หมาก หรือลูกอม เพราะจะทำให้กลืน อากาศลงไปด้วย

9. หลังรับประทานอิ่มใหม่ๆ ไม่ควรนอนเอกเขนก ควรมีการเคลื่อนไหว บ้างสักครู่ เช่น เดินเล่น

10. รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง




ข้อมูล: "คำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคอาหารในผู้ป่วยที่มีอาการปวดแน่นท้อง"
โดยหน่วยทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


back





มุมการกุศล : Charity area


Email Login
Password
New users
sign up!
Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved