Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy














ท่องเที่ยว   > แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว   >

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
วันนี้ ลองหาโอกาสเปิดหูเปิดตา ไปสัมผัสความทันสมัยต้นแบบโลกแห่งอนาคตกันดูบ้าง โดยขับรถออกนอกตัวเมืองไปนิด ไม่ใกล้ ไม่ไกลจากย่านเกี๋ยวเตี๋ยวเรือ แถวคลองหนึ่ง ปทุมธานี โดยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์นตั้งอยู่ที่ คลอง 5 ปทุมธานี

เมื่อไปถึงจะสะดุดตากับอาคารทรงรูปเต๋า ที่ดูเหมือนตั้งเอียงๆ แต่จริงๆ แล้วลูกเต๋ายักษ์ 3 ลูกที่เห็นกลับวางตั้งตรงอย่างสมดุล ด้วยฝีมือสถาปนิกชาวไทย โดยอาคารลูกเต๋าที่ว่านี้ มีจุด รองรับเพียง 3 จุดเท่านั้น แต่ 3 จุดที่ว่าก็ใช่ย่อย เพราะแต่ละจุดรับน้ำหนักได้ถึง 4,200 ตัน ทีเดียว เคล็ดลับของการสร้างอาคารแบบนี้ ใช้หลักการพิจารณารูปทรงลูกบาศก์ แต่ละลูก ให้ตั้งมุมใด มุมหนึ่งของลูกบาศก์ลงพื้น เมื่อนำมาวางพิงกันจะทำให้ สามารถตั้งอยู่ได้อย่างมี เสถียรภาพ อาคารทรงรูปเต๋านี้ ไม่ได้มีไว้ตั้งโชว์เฉยๆ ให้ดูเตะตาเท่านั้น แต่ภายในยัง อำนวยประโยชน์ใช้สอยอย่างครบครัน

ส่วนแรกของอาคารซึ่งเป็นส่วนต้อนรับและแนะนำการเข้าชม จะมีผลงานการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก และห้องอินเตอร์เน็ต ส่วนที่สอง เหมาะสำหรับคนที่สนใจ ที่มา รากฐานของนักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งทัศนะของนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญๆ ของโลก ทั้งเดสการ์ด เจ้าของทฤษฎีทางคณิตศาสตร์, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, ชาร์ล ดาร์วิน, ไอแซค นิวตัน, อริสโตเติล
ในส่วนที่สองนี้ เด็กๆ ยังจะได้พบกับเจ้า Lucy หุ่นจำลองจาก ซากดึกดำบรรพ์ของลิงใหญ่ตระกูลออสตราโลพิเทคุสอฟราเรนซิส ที่ขุดพบในประเทศเอธิโอเปีย เมื่อปี พศ. 2517 ซึ่งคาดกันว่า นน่าจะเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์

ถ้ามองเลยขึ้นไปนิดจะพบกับหุ่นคนบิน และสมุดบันทึกภาพร่างเครื่องกลแบบต่างๆ ที่เชื่อว่าคนน่าจะบิน ได้เหมือนนก ตามแนวคิดของลีโอนาร์โด ดาร์วินชี และสุดท้ายจากความคิดฝันของดาร์วินชีก็กลายเป็น ความจริงขึ้นมา แต่ไม่ใช่แค่เครื่องร่อน หรือเครื่องบินเท่านั้น เพราะภาพที่ทุกๆ คนเห็นอยู่ตรงหน้าก็คือ "ชุดปฏิบัติการควบคุมอวกาศ" ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เดินเหิน ในอวกาศได้ในที่สุด

ส่วนที่ 3
จะเป็นการอธิบายวิทยาศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้า เหล็ก แสง ความร้อน เสียง กลศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีการแสดงที่ชี้ให้เห็นถึง คุณอนันต์และโทษมหันต์" ของวิทยาศาสตร์ ช่วยถ่วงน้ำหนัก และดึงผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ไม่ให้หลง เพลิดเพลินกับเทคโนโลยีล้ำสมัยจนเกินไปนัก เพราะในส่วนของ "โลกที่เปราะบาง" พยายามให้ข้อคิดว่า ต่อให้นักวิทยาศาสตร์ช่วยอำนวยความสะดวกให้ชีวิตมากขึ้นแค่ไหน แต่หากขาดความควบคุม อย่างรัดกุมเพียงพอแล้ว อาจเกิดผลกระทบด้านมลพิษ โรคภัยไข้เจ็บ โรงงานอุตสาหกรรม และปัญหาด้านพลังงาน นิวเคลียร์ ตามมาอีกระลอกใหญ่ อย่างที่ประสบปัญหากันทุกวันนี้

น้องๆ หนูๆ คนไหนชอบการทดลอง การได้ลงมือปฏิบัติจริงต้องไม่พลาดส่วน "กิจกรรมสาธิต" เพราะมีกิจกรรมให้ได้ประลองฝีมือพร้อมลับสมอง ความรู้ ความคิดด้านวิทยาศาสตร์รออยู่

ถ้าชมเทคโนโลยีตะวันตกจนเอียน แนะนำให้ไปเปลี่ยนบรรยากาศ และเชื่อมโยงความรู้ระหว่างวิทยาศาสตร์กับ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ส่วนที่ 6 เพราะงานนี้ขนเทคโนโลยีภูมิปัญยาไทยที่ตกตะกอนมาจากความสามารถของบรรพบุรุษ ไทยมาประชันความก้าวหน้าแบบตะวันตกชนิดไม่ให้น้อยหน้ากันเลยทีเดียว

เริ่มตั้งแต่เทคนิคด้านการจักสาน ซึ่งถือว่าเป็นจุดกำเนิดของเทคโนโลโยีของเครื่องปั้นดินเผาในเวลาต่อมา เทคโนโลยีการแกะสลักหิน ไม้ เครื่องหนัง เทคโนโลยีการถักทอเส้นใย สิ่งทอต่างๆ ใครอยากรู้ว่า "ใจบ้าน" เป็นอย่างไรก็สามารถติดตามชมได้ในส่วนนี้

แถมท้ายด้วยการกระตุ้นให้คนไทยรู้จัก "หัดคิด" โดยมีคุณย่าและคุณหลานนั่งคุย แลกเปลี่ยนทัศนะนำร่องในบางส่วน "วิสัยทัศน์ต่ออนาคต" แบบครอบจักรวาล ทั้งเรื่องการสื่อสารโทรคมนาคม มลภาวะ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม

งานนี้อาจช่วยให้ใครหลายคนเกิดจินตนาการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ย่ำอยู่กับความคิดในกรอบเดิมๆ มานาน

ข้อมูล: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ


back



    





Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved