Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy
Mirror Site http://www.geocities.com/thaiparents/













ชีวิตและสุขภาพ > บทความอื่นที่น่าอ่าน

ทำความรู้จัก "ฟัน" ของเรา

  • หน้าที่ของฟัน

  • ฟันคนเรามีกี่ชุด

  • รูปร่างของฟันและระยะเวลาการขึ้นของฟัน

  • โครงสร้างภายในของฟัน

  • โรคฟันผุและโรคปริทันต์ คืออะไร

  • การลุกลามของโรคฟันผุ

  • การลุกลามของโรคปริทันต์

    ปากคือประตูแห่งสุขภาพ ทุกคนคงต้องยอมรับว่า "ปาก" เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อทุกชีวิต ใน ช่องปากมีอวัยวะที่สำคัญคือ ฟัน เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดาน และลำคอส่วนต้น

    ฟันมีความสำคัญต่อชีวิต ตั้งแต่เป็นฟันน้ำนมที่เริ่มขึ้นในวัยเด็กจวบจนเป็นฟันแท้ที่จะอยู่กับเรา ไปจนกระทั่งถึงวัยชรา ถ้าหากเราเอาใจใส่ ดูแลรักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟัน และใช้ไหม ขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อฟัน หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นโทษกับฟัน เช่น ขนมหวานเหนียวติดฟัน น้ำอัดลม เป็นต้น และที่สำคัญคือ ต้องใช้ฟันให้ถูกหน้าที่ คือ ฟันมี หน้าที่การบดเคี้ยวอาหาร ช่วยในการออกเสียงและช่วยสร้างรอยยิ้มที่ประทับใจ และควรหาเวลา ไปพบทันตแพทย์เพื่อการบูรณะและป้องกันความผิดปกติปีละครั้ง เพียงเท่านี้ เราก็จะมีสุขภาพฟัน ที่ดี

    หน้าที่ของฟัน

    ฟันของเรามีไว้เพื่อช่วยการออกเสียง และส่งเสริมใบหน้าให้สวยงาม แต่หน้าที่หลักของฟันที่สำคัญ มาก คือ การบดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ทำให้กลืนได้สะดวก อาหารย่อยได้ง่ายขึ้น ร่างกายได้รับ สารอาหารที่เป็นประโยชน์ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต

    ฟันคนเรามีกี่ชุด

    ฟันเรามี 2 ชุด คือฟันน้ำนม และฟันแท้ เมื่อเด็กเล็กๆ เรามีฟันน้ำนม ซี่เล็กๆ ขึ้นตามลำดับทีละซี่ ครบ 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง โดยที่ฟันเป็นอวัยวะที่มีขนาดคงที่ ดังนั้น เมื่อร่างกายเติบ โตขึ้นฟันน้ำนมจะมีขนาดไม่เหมาะกับใบหน้า ร่างกายจึงทำให้ฟันน้ำนมนั้นหลุดออก และมีฟันชุด ที่สองซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าขึ้นมาแทนที่ ฟันชุดใหม่นี้ซี่จะใหญ่กว่า และยังคงมีจำนวนมากกว่าด้วย คือ 32 ซี่ และจะขึ้นครบเมื่อเราอายุประมาณ 18 - 21 ปี เราเรียกฟันนี้ว่า "ฟันแท้" หรือ "ฟันถาวร" ซึ่งจะถาวรตามชื่อ คือสามารถอยู่กับเราและใช้การได้ไปตลอดชีวิตของเรา

    รูปร่างของฟันและระยะเวลาการขึ้นของฟัน

    ทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้ จะประกอบด้วย ฟันหน้า ฟันเขี้ยวและฟันกราม แต่ฟันแท้จะมีฟันกราม น้อยเพิ่มขึ้นมา ขึ้นอยู่ระหว่างเขี้ยวและฟันกราม โดยมีระยะเวลาของการขึ้นแตกต่างกัน

    โครงสร้างภายในของฟัน

    ทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนของตัวฟัน และส่วนของรากฟัน และเมื่อนำ ฟันมาผ่าครึ่ง ภายในจะประกอบด้วย เคลือบฟัน เนื้อฟัน โพรงประสาทฟัน เคลือบรากฟันและฟัน ยึดติดอยู่ในกระดูกขากรรไกรและเหงือกได้ด้วยเอ็นยึดปริทันต์

    โรคฟันผุและโรคปริทันต์ คืออะไร

    โรคฟันผุและโรคปริทันต์ คือ โรคทำลายฟัน ทำลายเหงือก ทุกวันนี้คนเรายังต้องสูญเสียฟันกัน มากเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเหงือกและฟันถูกทำลายจากการลุกลามของ "โรคฟันผุ" และ "โรค ปริทันต์" โรคทั้งสองนี้ มีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งเดียวกัน นั่นคือ "คราบจุลินทรีย์"

    "คราบจุลินทรีย์ เป็นคราบเหนียว ติดแน่นบนฟัน ไม่มีสี จะเห็นเป็นคราบเมือก หรือขุยสีขาว เหลืองติดแน่นบนฟัน ที่เราเรียกว่า "ขี้ฟัน" คราบนี้เกิดได้เองตลอดเวลา ส่วนประกอบที่สำคัญคือ จุลินทรีย์นานาชนิด ซึ่งสามารถเปลี่ยนน้ำตาลจากอาหาร (ที่เรากินเข้าไป) ทำให้เกิดเป็น "กรด" ทำลายฟันให้ผุ และผลิต "สารพิษ" ทำลายเหงือก เกิดเป็นโรคปริทันต์ติดตามมา

    โรคฟันผ
    เชื้อจุลินทรีย์ + น้ำตาล = กรด
    กรด + ฟัน = ฟันผุ

    โรคเหงือกอักเสบ (โรคปริทันต์)
    เชื้อจุลินทรีย์ + ตาล = สารพิษ
    สารพิษ + เหงือก = เหงือกอักเสบ (โรคปริทันต์)

    การลุกลามของโรคฟันผุ
    การลุกลามของโรคฟันผุมี 4 ระยะ

    ระยะที่ 1 ฟันมักจะผุบริเวณด้านข้าง หรือหลุมร่องลึกของฟัน
    ระยะที่ 2 รูผุที่เล็กจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นในชั้นเคลือบฟัน
    ระยะที่ 3 รูผุขยายลุกลามใหญ่ขึ้นทั้งในชั้นเคลือบฟันและเนื้อฟัน
    ระยะที่ 4 รูผุจะลุกลามเข้าไปจนถึงโพรงประสาทฟันเกิดหนองที่ปลายราก

    การลุกลามของโรคปริทันต์
    ระยะการลุกลามของโรคปริทันต์ มีดังนี้

    ระยะที่ 1 เหงือกอักเสบสารพิษในคราบจุลินทรีย์จะก่อความระคายเคืองต่อเหงือกทำให้เหงือก อักเสบ บวม แดง (เหงือกปกติจะเป็นสีชมพูซีด)

    ระยะที่ 2 โรคปริทันต์ มีการสะสมของคราบจุลินทรีย์และหินปูน ทำให้เหงือกร่น มีการทำลาย ของกระดูกที่ล้อมรอบรากฟัน

    ระยะที่ 3 โรคปริทันต์ลุกลามรุนแรงมากขึ้น จนฟันยื่นยาวและโยก

    ฟันดีเริ่มต้นที่ครอบครัวและตัวท่านเอง ฉะนั้น เรามาช่วยกันรับผิดชอบตัวเอง และครอบครัวให้มี ฟันดีตลอดไปด้วยกัน เหงือกและฟันจะถูกทำลายมากน้อยรวดเร็วเพียงใด ขึ้นกัยสภาพความ สมบูรณ์แข็งแรงของเหงือกและฟันและการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของแต่ละคน ดังนั้น เราจำ เป็นที่ต้องดูแลและป้องกัน "โรคฟันผุ" และ "โรคปริทันต์" ด้วยตนเอง ส่วนทันตแพทย์ เป็นเพียง ผู้ให้คำแนะนำวิธีป้องกันและให้การบำบัดรักษาเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น

    ที่มาข้อมูล: จากหนังสือเผยแพร่สุขภาพ "คู่มือการดูแลสุขภาพในช่องปากแก่ประชาชน" ร่วมจัดทำ โดย กระทรวงสาธารณสุข, มูลนิธิพอ.สว., ทันตแพทยสภา, และทันตแพทยสมาคมแห่งประทศไทย เนื่องในโอกาสวันทันตสาธารสุขแห่งชาติ 21 ตุลาคม 2540



    back

    ข่าวสุขภาพ



    มุมการกุศล : Charity area


    Email Login
    Password
    New users
    sign up!




    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved