Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy












ทารกแรกเกิด - 1 ขวบ > ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังการฉีดวัคซีน
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังการฉีดวัคซีน


เมื่อลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว อาจเกิดอาการข้างเคียงบางอย่าง จึง มีข้อแนะนำดังนี้

1. ตุ่มหนอง
มักเกิดจากวัคซีน บีซีจี ซึ่งฉีดที่ไหล่ซ้ายเมื่อแรกคลอด อาการตุ่มหนองมักเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ และเป็นๆ ยุบๆ ประมาณ 3 - 4 สัปดาห์จึงหายไปเอง

2. ปวด บวม แดง ร้อน
อาการปวด บวม แดง ร้อนมักเกิดขึ้นในบริเวณที่ฉีดวัคซีน เด็กอาจจะร้องกวน งอแงได้ ถ้าหากมี อาการมาก คุณแม่อาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ และให้ลูกรับประทานยาแก้ปวด

3 .ไข้ตัวร้อน
มักเกิดในวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ที่ฉีดตอนอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 18 เดือน และ 4 ปี คุณแม่ควรช่วยเช็ดตัวให้ลูกด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ โดยเฉพาะบริเวณซอกคอ ข้อพับต่างๆ ควรเช็ดมากๆ และอาจให้รับประทานยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล

4. ไอ น้ำมูก มีผื่น
อาจพบหลังฉีดวัคซีนพวก หัด หัดเยอรมันไปแล้ว 5 วัน โดยมากจะไม่รุนแรง ถ้าเด็กมีอาการอื่น ร่วมด้วย เช่น ซึม เพลียมาก ไม่เล่น ดูดนม หรือรับประทานอาหารไม่ได้ ต้องพากลับมาพบแพทย์ ถ้าไม่มีอาการอื่นๆ มักหายเอง และแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ

5. ชัก
มักไม่ได้เกิดจากผลของวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันโดยตรง แต่อาจเกิดจากไข้สูงจัดเกินไป ดังนั้น การป้องกันอย่าให้ไข้สูงจัดเกินไป จึงมีความสำคัญมาก และเมื่อเกิดอาการชักแล้วต้องปฏิบัติ ดังนี้

  • คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองต้องตั้งสติให้ดี ไม่ตกใจ
  • จับหน้าของเด็กหันไปด้านข้าง ด้านใดด้านหนึ่ง หรือนอนคว่ำ เพื่อป้องกันการสำลัก
  • ไม่แนะนำ ให้เอาของแข็ง เช่น นิ้วมือ ช้อนไม้ ฯลฯ ใส่เข้าไปในปาก เพราะจะยิ่งทำให้สำลัก มากขึ้น ยังไม่เคยพบใครชักแล้วกัดลิ้นตัวเองขาด
  • รีบนำส่งโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน
  • ระหว่างเดินทาง ถ้าเด็กยังตัวร้อนควรเช็ดตัวมาตลอดทางด้วย



    ข้อมูล: กองกุมารเวชกรรม โรพยาบาลพระมงกุฏเกล้า



    back




    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved