Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy
Mirror Site http://www.geocities.com/thaiparents/












ชีวิตและสุขภาพ



มะเร็งปอด


ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญมากชิ้นหนึ่งของร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่หลัก ในการทำให้ร่างกายเกิดดุลยภาพและคงไว้ซึ่งชีวิต ปอดแบ่งเป็น 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวาตั้งอยู่บนกระบังลมในช่องอก ทำหน้าที่ฟอกเลือดดำหรือ เลือดเสีย (ซึ่งร่างกายใช้แล้ว) ให้เป็นเลือดแดงหรือเลือดดี (เลือดที่มี ออกซิเจน) ซึ่งแร่ธาตุอาหารหลายชนิดที่มีอยู่ในเลือดแดง จะนำไปเลี้ยง อวัยวะทุกๆ ส่วนของร่างกาย หากไม่มีปอดหรือเป็นโรคทางปอด ก็จะทำให้ การฟอกเลือดมีอุปสรรคซึ่งอาจถึงขั้นเป็นอันตรายทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

มะเร็งปอด สำหรับประเทศไทย จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของมะเร็งทั้งหมด มักจะ เป็นในหมู่ประชากรที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป และในเพศชายเป็นมากกว่าเพศ หญิง

สาเหตุของการเกิดมะเร็ง

1. การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน กล่าวคือ 80% ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดมี ประวัติการสูบบุหรี่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในควันบุหรี่มีสารนิโคติน และสารก่อ มะเร็งซึ่งจะระคายเคืองเยื่อบุหลอดลม และหลอดลมเล็กๆ ในปอด ทำให้เกิด เป็นมะเร็งปอดในที่สุด

ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่อยู่ในสถานที่มีควันบุหรี่มากๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้ มากเช่นกัน

2. คราบสกปรกของอากาศในเมืองใหญ่มีภาวะอากาศเป็นพิษจากท่อไอเสีย รถยนต์ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมที่ใช้สารแอสเบสตอสใยหินผลิต เช่น กระเบื้อง, ท่อซิเมนต์, ผ้า คลัชท์, ผ้าเบรค และแผ่นฉนวนกันความร้อน ซึ่งถ้าหายใจเอาใยหินเข้าสู่ ปอด ใยหินจะไปทิ่มตำและติดอยู่ที่เยื่อบุหลอดลมในปอด โดยไม่มีทางหลุด ออกได้ จึงทำให้ปอดเกิดการระคายเคืองเรื้อรัง ซึ่งทำให้เป็นมะเร็งปอดได้

อุตสาหกรรมที่ใช้โลหะหนักหลอมเหลว เช่น โครเมี่ยม, เงินทองแดง, เหล็ก กล้า ควันไอระเหยของโลหะจะระคายเคืองเยื่อบุหลอดลมในปอดเช่นกัน

อุตสาหกรรมที่มีไอเสียจากโรงงานหรือเครื่องยนต์

อากาศที่มีละอองการฉีดสเปรย์ สารพวกไวนิลย์, เอททีลีน สารเหล่านี้จะจับ แน่นกับเยื่อบุหลอดลมในปอด และทำให้เป็นมะเร็งปอดได้

3. แผลเป็นที่เกิดจากวัณโรค หรือแผลเป็นเรื้อรังในปอด ซึ่งไม่ได้รับการ รักษา

4. ประวัติครอบครัวเคยมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด

อาการ

เริ่มจากมีอาการไอเรื้อรังเพียงเล็กน้อย ต่อมาอาการไอมีมากขึ้นและมี เสมหะ หรือไอเป็นเลือด เมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการเจ็บหน้าอก ผอมลงอย่าง รวดเร็ว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย บางรายอาจมีอาการบวมตามใบ หน้า ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม แน่นหน้าอก และมีเส้นเลือดขอดฝอยสีแดงคล้ำ ขึ้นบริเวณหน้าอก อาจมีอาการเจ็บปวด

การวินิจฉัย

สามารถทำได้ ดังนี้

1. ถ่ายภาพเอ็กซเรย์ปอด
2. ตรวจเสมหะที่ไอออกมาเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง
3. ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม
4. ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลม หรือต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้าไปตรวจเพื่อ วินิจฉัยทางพยาธิวิทยา
5. เจาะตัดชิ้นเนื้อตรวจผ่านผนังทรวงอก

การรักษา

1. การผ่าตัด โดยการตัดปอดออกไปเป็นบางกลีบ หรือตัดปอดออกข้างใด ข้างหนึ่ง
2. การฉายแสงและเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับขนาด ตำแหน่ง ระยะขั้นตอนการ ลุกลาม และชนิดของมะเร็งปอด

การป้องกัน

มะเร็งปอด เป็นโรคร้ายที่รักษาให้หายได้ ถ้ามาพบแพทย์ในระยะเริ่มแรก และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

1. งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด และไม่อยู่ในสถานที่มีควันบุหรี่มาก

2. หากเป็นวัณโรค หรือมีแผลเรื้อรังในปอด ควรรับการรักษาให้หายขาด

3. ผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ใยหิน, ใยแก้ว โลหะหนักต่างๆ ควรมีหน้ากากป้องกัน อย่าสูดควันจากการหลอมเหลวโดย ตรง

4. หลีกเลี่ยงการใช้สเปรย์ในห้องอับ

5. ผู้มีอาการไอเรื้อรัง น้ำหนักลด เจ็บหน้าอก ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหา สาเหตุและรักษาโดยเร็ว

6. ตรวจร่างกาย และเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละครั้ง

7. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อน ออก กำลังกายอย่างสม่ำเสมอและอยู่ในที่ๆ มีอากาศบริสุทธิ์



ข้อมูล: เอกสารเผยแพร่ความรู้ทางสุขภาพ เรื่อง "มะเร็งปอด" โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร: (02) 667-1000 www.bumrungrad.com



back





ข่าวสุขภาพ



มุมการกุศล : Charity area


Email Login
Password
New users
sign up!




Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved