Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy
Mirror Site http://www.geocities.com/thaiparents/












ชีวิตและสุขภาพ

โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน


โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน มีหลายโรค ซึ่งควรระวัง และรู้จักป้องกัน โดยเฉพาะในเขตที่มีน้ำท่วม อาการเริ่มต้นคล้ายโรคหวัด อาจเป็นอาการนำของโรคฉี่หนู ซึ่งกำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน

โรคหวัด

เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่มีสาเหตุทั้งจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้ออื่นๆ เมื่อเชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย เข้าไปแบ่งตัว อยู่ที่เยื่อบุทางเดินหายใจ และทำให้เยื่อบุนี้หลั่งสารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิ แพ้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ร่างกายที่ อ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะภูมิต้านทานลดลง ภาวะเครียด การ สูบและสูดควันบุหรี่ เป็นต้น

อาการและอาการแสดงของโรค
ในระยะแรกจะมีอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว เคืองตา ปวดเมื่อยตามตัว ตามด้วย อาการคันคอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ต่อมา อาจมีอาการไอ หรือเจ็บคอร่วม ด้วย อาการไข้และปวดเมื่อยจะลดลงภายใน 2-3 วันแรก แต่อาการอื่นๆ มัก จะเพิ่มขึ้นจนมีอาการมากที่สุดในวันที่ 3-4 วัน

หลังจากนั้น อาการหวัด ไอหรือเจ็บคอจะค่อยๆ ลดลง ระยะแรก น้ำมูกจะใส ต่อมาน้ำมูกจะข้นขึ้น และมีปริมาณน้อยลง อาการน้ำมูกไหลมักจะเป็นอยู่ นานไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวระหว่างที่เป็นหวัด และ สุขภาพเดิมของผู้ป่วย

การติดต่อ
โรคหวัดจะติดต่อได้โดยการอยู่ใกล้ชิดและใช้ของร่วมกันกับผู้ที่เป็นหวัด การ ไอ จามรดกัน หรือสัมผัสเสมหะ ดังนั้น ในสถานที่ที่มีคนอยู่มาก อาจก่อให้ เกิดการติดต่อกันได้ง่าย เช่น โรงภาพยนตร์ ห้องประชุม โรงเรียน โดย เฉพาะโรงเรียนอนุบาล หรือสถานที่เลี้ยงเด็ก

การรักษาและการปฏิบัติตัว

สำหรับโรคหวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จะรักษาตาม อาการที่เกิดขึ้น เช่น มีไข้ - ก็ให้ยาลดไข้ ไอ - ก็ให้ยาแก้ไอ มีน้ำมูก - ก็ให้ ยาลดน้ำมูก เป็นต้น แต่ควรระมัดวังในเด็กเล็ก ควรให้แต่เพียงยาลดไข้และ ช่วยเช็ดตัวเพื่อลดไข้เท่านั้น ส่วนการให้ยาอื่นๆ ควรอยู่ในการรักษาของ แพทย์ นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตัวเพื่อช่วยให้อาการ ของโรคดีขึ้น ด้วยการปฏิบัติตัว ดังนี้: -

1. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง โดยท่านอนที่เหมาะสม คือ การนอนศีรษะสูงจะช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้

2. ดื่มน้ำมากๆ จะช่วยลดไข้ นอกจากนี้ การดื่มน้ำอุ่นจะช่วยลดการระคาย เคืองในลำคอ และทำให้เสมหะอ่อนตัวลง ทำให้ขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น

3. รับประทานอาหารที่มีคุณค่า จะช่วยเพิ่มความต้านทานแก่ร่างกายได้

4. ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเพื่อป้องกันอาการหนาวสั่น และหลีกเลี่ยงสถาน ที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอยู่เสมอ

5. งดว่ายน้ำขณะเป็นหวัด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคลุกลามไปเป็นไซนัสอักเสบ

โรคหวัด นี้ยังอาจลุกลามไปเป็นโรคคอและทอนซิลอักเสบ โรคหูชั้นกลาง อักเสบเฉียบพลัน โรคไซนัสอักเสบ ซึ่งแต่ละโรคก็จะมีอาการแตกต่างกันไป ซึ่งในกรณีนี้ ไม่ควรพักรักษาตนเองหรือหาซื้อยารับประทานด้วยตนเอง สมควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และขอเน้นว่า ผู้ที่อยู่ในเขตน้ำ ท่วม มีอาชีพที่ต้องลุยน้ำเป็นประจำ หากเริ่มมีอาการ ของไข้หวัด มีอาการรุนแรง ไม่หายไปหรือไม่ทุเลาใน 1 สัปดาห์ ต้องรีบพบแพทย์ เพราะอาจ กำลังเป็นโรคฉี่หนูซึ่งอาจเสียชีวิตได้ในอัตราสูง


ข้อมูล: เอกสารเผยแพร่ความรู้ทางสุขภาพ เรื่อง "โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน"
โดยเครือโรงพยาบาลพญาไท




back





ข่าวสุขภาพ



มุมการกุศล : Charity area


Email Login
Password
New users
sign up!




Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved