Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy
Mirror Site http://www.geocities.com/thaiparents/














ชีวิตและสุขภาพ



โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน




โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เป็นโรคร้ายแรงที่คนทั่วไป มักไม่ให้ความสำคัญและป้องกันควบคุมอย่างจริงจัง เพราะอาจไม่ ทราบว่า ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานต่างนำพาโรค แทรกซ้อนที่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต เช่น

เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน
สาเหตุเบื้องต้นมาจากแรงดันในหลอดเลือดสูงขึ้น หรือผนังภาย ในหลอดเลือดที่เลี้ยงสมองหนาตัวขึ้น จนทำให้หลอดเลือดแข็ง โป่งพอง ตีบตัน และแตกออก เนื้อสมองบางส่วนหรือทั้งหมดขาด เลือดไปหล่อเลี้ยง จากนั้นจะเกิดเลือดคั่งในสมองกลายเป็น อัมพาตโดยทันที หรือค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย และอาจเสียชีวิต ในที่สุด อาการที่นำมาอาจพบได้หลายรูปแบบตั้งแต่ สับสน ชัก แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก เป็นต้น

โรคหัวใจขาดเลือด
เป็นภาวะของกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดออกซิเจนไปเลี้ยง อาจเกิดขึ้น ได้หลายสาเหตุ เช่น หลอดเลือดแดงอุด หรือ ตีบตัน หลอดเลือด แดงหดเกร็ง เป็นต้น ทำให้หัวใจขาดออกซิเจน ขาดความสมดุล ในการทำหน้าที่ ซึ่งในบางครั้งอาจไม่มีอาการเด่นชัด ภาวะที่ทำ ให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดที่พบบ่อย คือ ภาวะหลอดเลือดแดงเสื่อม หรือแข็งจากแผลเป็นที่ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นมากกว่าร้อยละ 70 อาการที่พบบ่อยและสังเกตได้ เช่น เจ็บแน่น หรือจุกที่หน้าอก บางครั้ง อาจเป็นลมหมดสติเนื่องจากหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว และอาจตายได้ในทันที

ไตวาย
ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากการที่หลอดเลือดแดงเล็กๆ ที่ไปเลี้ยง เนื้อไตถูกทำลาย เพราะแรงดันเลือดสูงเกินไป และผนังหลอด เลือดแดงหนาตัวขึ้นจนเลือดไปเลี้ยงไตไม่สะดวก อาการทั่วไป สามารถพบได้ตั้งแต่ บวมตามร่างกายโดยเฉพาะที่เท้า ปัสสาวะ น้อยลง คลื่นไส้ อาเจียน และเสียชีวิตจากการมีของเสียคั่งใน ร่างกาย

จะสังเกตได้ว่าทุกโรคที่กล่าวมาล้วนมีสาเหตุสำคัญร่วมกัน นั่นคือ ความดันโลหิตสูง และการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลา นานๆ ซึ่งเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดนำพาไขมันผิดปกติ และทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น

โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ป้องกันได้ง่ายกว่ารักษา
การเจ็บป่วยจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ไม่เพียงส่งผล โดยตรงกับร่างกายผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังสิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาล อย่างต่อเนื่อง สร้างภาวะให้คนในครอบครัว ดังนั้น การดูแล ป้องกันมิให้เกิดขึ้นกับตนเอง หรือคนหนึ่งคนใดในครอบครัว ย่อมเป็นหนทางที่ดีกว่าการรักษา ซึ่งทั้งโรคความดันโลหิตสูงและ เบาหวาน เป็นโรคที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ไม่ยาก หาก ดูแลตนเองและครอบครัวให้มีการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนี้

  • มีเป้าหมายที่จะมีน้ำหนักเหมาะสมกับการมีสุขภาพดี และลด น้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน

  • ให้มีความกระฉับกระเฉงทุกวัน และเพิ่มการเคลื่อนไหวแบบ แอโรบิค เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ วิ่ง ฯลฯ อย่างน้อยวันละ 30 - 45 นาที / วัน โดยปฏิบัติให้มากที่สุดในแต่ละสัปดาห์

  • ลดการบริโภคอาหารที่มีพลังงาน (แคลลอรี่) ไขมัน และคอเลส เตอรอลสูง ไม่ควรบริโภคเกินกว่า 3 มื้อ / สัปดาห์ และบริโภคผัก ผลไม้ ให้เพียงพอทุกมื้อ

  • ลดการบริโภคเกลือโซเดียมลง อย่าให้เกิน 6 กรัม / วัน หรือ 1 ช้อนชา รวมทั้งลดการบริโภคน้ำตาล อย่าให้เกิน 40 - 55 กรัม / วัน หรือ 4 ช้อนโต๊ะ

  • จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์และหยุดบริโภคยาสูบหรือบุหรี่ ทุกชนิด

  • รับการตรวจวัดความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด โดย เฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง

  • เรียนรู้ว่าตัวเลขใดที่แสดงถึงความผิดปกติของระดับความดัน โลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด (มากกว่า 110 มิลลิกรัม%)

  • ติดตามระมัดระวังความดันโลหิต หรือระดับน้ำตาลในเลือดให้ บ่อยครั้งขึ้น เมื่อพบว่ามีความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน

  • ถ้าเป็นโรคควรเสริมทักษะในการจัดการตนเอง เพื่อการควบคุม ระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ และติดตามการรักษาและ เฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนอย่างสม่ำเสมอ


    9 ประการ เพื่อชีวิตเป็นสุข ปลอดจากโรคความดันโลหิตสูง เบา หวาน และโรคแทรกซ้อน



    ข้อมูล: เอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง "โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน" โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข





    โรคอื่นๆ ที่น่ารู้

    อาการปวดแน่นท้อง
    โรคไข้เหลือง (Yellow Fever)
    โรคไข้เลือดออก



    back





    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved