Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy












การให้นมลูกที่ประสบความสำเร็จ


1. การสร้างน้ำนมแม่

2. เคล็ดลับในการทำให้มีปริมาณน้ำนมมาก

3. ลักษณะของน้ำนม

4. วิธีให้นมแม่

5. วิธีช่วยให้ลูกหันเข้าหานมแม่

6. ท่าดูดนมที่ถูกต้อง

7. วิธีแก้ไขถ้าลูกดูดเฉพาะหัวนม

8. ความต้องการนมของลูก

9. วิธีดูว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอ

10. การเคลื่อนไหลของน้ำนม (The Let-Down Reflex)

11. ปัญหาในการให้นมแม่

12. การไล่ลมให้ลูกหลังกินอิ่ม

13. อาหารการกินคุณแม่ให้นม

14. สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

15. วิธีดูแลเต้านม

16. วิธีรีดน้ำนมด้วยมือ

17. การปั๊มนมโดยใช้อุปกรณ์ปั๊มนม

18. การให้นมแม่เมื่อต้องไปทำงาน

19. บทบาทของคุณพ่อกับนมแม่





การสร้างน้ำนมแม่

เต้านมแต่ละข้างจะมีต่อมผลิตน้ำนมประมาณ 15 - 20 หน่วย ซึ่งอยู่ด้านหลังของลานรอบหัวนม (Arerola) โดยมีท่อน้ำนมต่อไปเปิดที่หัวนมระหว่างตั้งครรภ์ รกและรังไข่จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ในระดับที่สูงมาก ซึ่งมีผลไปกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมสร้างท่อน้ำนมที่มีคุณ ประโยชน์มาก เรียกว่า โคลอสตรัม (Colostrum) อันอุดมไปด้วยโปรตีน, แร่ธาตุ, วิตามิน, น้ำ, น้ำตาล และภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่จะช่วยป้องกัน ทารกจากการติดเชื้อในช่วงแรกๆ หลังคลอด โคลอสตรัมจะมีอยู่ในช่วง 3 - 5 วันหลังคลอดเท่านั้น จากนั้นจึงจะเป็น นมแม่ตามปรกติ
ทุกครั้งที่ลูกดูดนม จะไปกระตุ้นปลายประสาทที่หัวนมส่งสัญญาณไป ยังต่อมไฮโปทาลามัสที่สมองส่วนบน ซึ่งจะส่งสัญญาณต่อไปยังต่อมใต้ สมองให้สร้างฮอร์โมนโปรแลกติน และออกซีโตซิน จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อรอบต่อมน้ำนมหดตัวเพื่อบีบขับ น้ำนมให้ไหลออกมา เสียงร้องของลูกและการได้สัมผัส ใกล้ชิดลูกจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออกซีโตซินได้ด้วย Back


เคล็ดลับในการทำให้มีปริมาณน้ำนมมาก

วันแรกๆ หลังคลอด เต้านมจะผลิตหัวน้ำนมหรือโคลอสตรัม (Colostrum) ซึ่งมีคุณค่ามาก เพราะมีภูมิต้านทานโรคติดเชื้อต่างๆ ซึ่งจะไหลออก มาประมาณ 3 - 5 วัน ลูกจะเป็นผู้กระตุ้นร่างกายคุณแม่โดย ธรรมชาติให้สร้างน้ำนมเคล็ดลับในการทำให้มีปริมาณน้ำนมมาก คือให้นมลูกทุกครั้งที่ลูกหิว อาจถี่ถึงทุกๆ 2 - 3 ชั่วโมงในวันแรกๆ เต้านมแม่จะสร้างน้ำนมตามความต้องการของลูก ถ้าลูกดูดนมบ่อย (ในท่าที่ถูกต้อง) ร่างกายคุณก็จะผลิตน้ำนมมาก แต่ถ้าคุณให้ลูกดูดนมแม่น้อยลง ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมน้อยลง Back


ลักษณะของน้ำนม

เมื่อลูกดูดนมแม่ในช่วงแรกๆ น้ำนมที่ไหลออกมาจะมีลักษณะ สีขาวจางใสเหมือนน้ำซึ่งเรียกว่า Foremilk มีไขมันต่ำ แต่อุดมด้วยโปรตีนและดับกระหายได้ดี ทารกสามารถดื่มแทนน้ำได้ เมื่อลูกดูดต่อไป น้ำนมในช่วงหลังซึ่งเรียกว่า Hindmilk จะข้นขาว มีแคลอรี่สูงและให้พลังงานได้มากกว่า จึงควรให้ลูกดูดนมแต่ละข้างไม่ต่ำกว่า 10 - 15 นาทีในแต่ละมื้อ Back


วิธีให้นมแม่

การให้นมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณแม่ได้ให้กับลูกน้อยหลัง จากเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ไม่นาน น้ำนมแม่เป็นอาหารบำรุง ที่ดีที่สุดตามธรรมชาติ มีสารอาหารครบถ้วน ปลอดภัยและ เหมาะสมสำหรับทารก ทั้งยังมีภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคต่างๆ อีกด้วย คุณแม่เองก็ได้ประสบการณ์ที่น่าภาคภูมิใจที่เห็นหน้าลูกน้อยซุกลง ไปกับทรวงอกขณะดูดนม เสริมสร้างความรักความผูกพันระหว่าง แม่ลูกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ก่อนอื่นหาที่เหมาะสมซึ่งคุณแม่รู้สึกสบาย ถนัดในการให้นมแม่ เพราะคุณอาจจะต้องอยู่ในท่านี้นานนับชั่วโมงเลยทีเดียว อาจจะเป็นท่านั่งหรือท่านอน

ท่านั่ง
คุณแม่นั่งตัวตรง พิงหลังให้สบายโดยใช้หมอนหนุนหลัง แล้วอุ้มทารกให้แนบไปกับท้องของคุณแม่ ให้ศีรษะของลูกสูงกว่าลำตัว ใช้แขนคุณแม่รองลำตัวของลูก ไม่ใช่เอามือรองศีรษะ อาจใช้หมอนวางบนตักและวาง ลูกบนหมอน เพื่อให้ถนัดขึ้นก็ได้

ท่านอน
คุณแม่นอนตะแคงหันด้านหน้าเข้าหาลูก โดยเอียงเข้า ใกล้ลูกให้มากที่สุด ศีรษะลูกอยู่ระดับเต้านมคุณแม่ เมื่อหัวนมแตะแก้มใกล้ๆ ปากลูก ลูกจะหันมาดูดนม โดยอัตโนมัติ Back


วิธีช่วยให้ลูกหันเข้าหานมแม่

เมื่อหัวนมแตะแก้มใกล้ๆ ปากลูก หรือคุณแม่ใช้นิ้วเขี่ยเบาๆ บริเวณ แก้มลูกด้านที่ใกล้หัวนม ลูกจะหันหน้าเข้ามาหาเต้านมและดูดหัวนมได้เอง
ถ้าลูกยังไม่หันหน้าตามมา คุณแม่ลองบีบที่ลานหัวนมเบาๆ (บริเวณส่วนสีคล้ำรอบๆ หัวนม) ให้น้ำนมหยดออกมาบ้าง แล้วใช้น้ำนมนั้นแตะริมฝีปากลูกเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกอ้า ปากชิมรสน้ำนม ครั้งต่อไปลูกจะหันมาหาหัวนมได้เอง
ยกศีรษะลูกขึ้นมาใกล้ๆทรวงอกของคุณแม่ ให้คางลูกอยู่ใกล้กับเต้านมและลิ้นอยู่ใต้หัวนม แล้วคุณแม่จึงค่อยๆ สอดหัวนมเข้าปากลูก Back


ท่าดูดนมที่ถูกต้อง

ในขณะกินนม ลูกจะต้องดูดแล้วใช้เหงือกกดทับบนลานหัวนม (คือบริเวณวงสีคล้ำรอบหัวนมเป็นส่วนที่ลูกจะอมเข้าไปด้วยเมื่อ ดูดนม) ซึ่งเป็นที่เก็บน้ำนมอยู่ กล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรและ ลิ้นของลูกจะทำหน้าที่ประสานกันเพื่อดูดนม คุณแม่จะสังเกต เห็นขมับและหูของลูกขยับเป็นจังหวะตามการดูด แสดงว่า กล้ามเนื้อขากรรไกรกำลังทำงาน ถ้าลูกงับเฉพาะหัวนม ลูกจะได้นมแม่น้อย เพราะไหลไม่สะดวก ตามธรรมชาติน้ำนมจะสร้างจากต่อมซึ่งกระจายอยู่ทั่วเต้านม มีท่อน้ำนมต่อมารวมกันบริเวณที่เป็นวงสีคล้ำๆ รอบหัวนม เรียกว่า ลานหัวนม (Arerola) ถ้าลูกงับ ส่วนนี้จะทำให้ท่อน้ำนมทำงานดีขึ้น Back


วิธีแก้ไขถ้าลูกดูดเฉพาะหัวนม

สอดปลายนิ้วก้อยที่สะอาดเข้าไประหว่างริมฝีปากพร้อมกับยื่น ลานหัวนมเข้าไปให้ลึกๆ ถ้าลูกงับเฉพาะหัวนมและเริ่มเคี้ยว ให้คุณแม่ใช้นิ้วก้อยที่สะอาดสอดเข้าไปทางมุมปาก หรือแทรก ระหว่างเหงือกพร้อมทั้งเอาหัวนมออกจากปาก แต่คุณแม่อย่าดึงหัวนมออกมาเฉยๆ เพราะลูกจะงับแน่น จะทำให้เจ็บหัวนม ถ้าลูกยังไม่อิ่มค่อยใส่บริเวณลานหัวนม เข้าไปให้ลูกดูดต่อ Back


ความต้องการนมของลูก

เป็นการดี ถ้าคุณจะให้นมลูกตามความต้องการของลูกโดย ให้นมลูกทุกครั้งที่ลูกหิว โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา ซึ่งในระยะแรกๆ ลูกจะหิวบ่อย, มักจะตื่นและร้องเพราะท้องว่าง เนื่องจากว่า ระบบย่อยอาหารของลูกยังไม่สมบูรณ์พอที่จะกิน ได้ทีละมากๆ ลูกจึงต้องกินทีละน้อยแต่บ่อยๆ ในระยะแรก ในไม่ช้าระบบย่อยอาหารจะดีขึ้น ลูกจะกินได้ปริมาณเยอะขึ้นในมื้อหนึ่ง และแต่ละมื้อจะห่างขึ้นด้วย
การดูดของลูกจะกระตุ้นให้เต้านมปล่อยน้ำนมออกมา เพื่อสนองตอบความต้องการของลูก เมื่อลูกอิ่ม ลูกจะหยุดดูดนมเอง
Back


วิธีดูว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอ

  • มีน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ
  • ผิวพรรณลูกสดใส มีน้ำมีนวล
  • ท่าทางลูกร่าเริง, นัยน์ตาสดใส และกล้ามเนื้อกระชับ แน่นขึ้น
  • ลูกดูสุขสบายดี มีความสุขหลังจากอิ่มนม
  • มีการเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างน้อย 6 ผืนภายใน 24 ชั่วโมงโดย ไม่ได้รับเครื่องดื่มอื่นใดเลยนอกจากนมแม่
  • ถ่ายอุจจาระเหลว สีเหลือง นิ่ม
  • Back


    การเคลื่อนไหลของน้ำนม (The Let-Down Reflex)

    การที่ลูกดูดนมเป็นการกระตุ้นให้เต้านมปล่อยน้ำนมที่สร้าง เก็บไว้ออกมา คุณแม่อาจรู้สึกจี๊ดๆ ในเต้านม ขณะที่ น้ำนมอุ่นๆ เคลื่อนจากท่อน้ำนมมายังลานหัวนมเมื่อลูกเริ่มดูด แต่ถ้าคุณไม่เกิดความรู้สึกเช่นนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติแต่อย่างใด ปฏิกิริยานี้จะทำให้น้ำนมจากเต้านมอีกข้างหยดพร้อมๆ กันไปด้วย ควรใช้แผ่นซับน้ำนมหรือฝาครอบเต้านมรองรับน้ำนมที่ไหลซึม เพื่อไม่ให้เลอะเทอะ Back


    ปัญหาในการให้นมแม่

    ถ้าคุณมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรรีบปรึกษาพยาบาล, แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทันที ยิ่งคุณแก้ปัญหาในการให้นมลูก ได้เร็วเท่าไหร่ เท่ากับว่าเป็นการดีกับลูกคุณมากขึ้นเท่านั้น คุณแม่หลายรายพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น บางครั้งเพียงแต่แก้ ไขด้วยการปรับท่าให้นมลูกหรือท่าการดูดนมของลูกให้ถูกต้องเท่านั้น ก็ประสบความสำเร็จในการให้นมลูกเป็นอย่างดี

    มาดูกันสิว่าปัญหาในการให้นมแม่มีอะไรบ้าง

  • รู้สึกว่าต้องให้นมโดยไม่ได้หยุดพัก

  • ถ้าลูกคุณกินเท่าไหร่ไม่รู้จักอิ่ม ดูเหมือนว่าต้องให้นมลูกตลอดเวลา พอเอาลูกวางลงบนที่นอนก็ร้องเพราะจะกินอีก อาจเป็นเพราะว่า ลูกคุณดูดแต่หัวนมเท่านั้น ไม่ได้ดูดลึกไปถึงลานหัวนม (วงสีคล้ำรอบหัวนม) เลยได้รับน้ำนมไม่พอกับความหิว คุณเพียงแต่ปรับท่าทางของลูกใหม่ให้ดูดนมให้ถูกต้อง (กรุณาดูหัวข้อ "การดูดนมที่ถูกต้อง"

  • เต้านมคัด, ตึง, เจ็บ

  • 2- 3 วันหลังจากคลอดลูก เต้านมคุณจะบวมขึ้นเล็กน้อยและรู้สึกตึง คัด อึดอัด วิธีแก้ไขคือ ให้ลูกดูดนม โดยบีบเอานมออกสักเล็กน้อย เพื่อให้ลานรอบหัวนมอ่อนนุ่มลง หรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบก็ได้

  • หัวนมเจ็บหรือแตก

  • อาจมาจากการที่ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี หรือท่าทางของคุณแม่ขณะ ให้นมไม่เหมาะสม หัวนมจึงแดงและเจ็บเมื่อลูกดูด

    คำแนะนำดังต่อไปนี้อาจช่วยได้บ้าง
    1. ปล่อยให้หัวนมแห้งเองหลังให้นมทุกมื้อ
    2. ให้หัวนมได้ผึ่งลมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    3. เปลี่ยนแผ่นซับน้ำนมบ่อยๆ
    4. หลีกเลี่ยงการถูสบู่บริเวณหัวนม เพราะจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
    5. ใส่ยกทรงที่ทำจากผ้าคอตตอนเพื่อให้มีอากาศหมุนเวียน
    6. บีบน้ำนม 1 - 2 หยดหลังการให้มื้อนมแล้วนำมาถูเบาๆ บริเวณหัวนมแล้วปล่อยให้หัวนมแห้งเอง
    7. อย่าปล่อยให้ลูกดูดนมหลังจากน้ำนมหมดแล้วนานเกินไป
    8. ถ้าเจ็บมาก ลองใช้ฝาครอบเต้านม แล้วให้ลูกดูดนมผ่านฝาครอบ แต่คุณต้องฆ่าเชื้อก่อนใช้ทุกครั้ง และควรบีบน้ำนมมาทาฝาครอบก่อน เพื่อลดกลิ่นยางที่สำคัญ คุณควรให้ลูกดูดส่วนลานหัวนมทุกครั้งเวลา ลูกดูดนม และหมั่นดูแลหัวนมให้แห้งเสมอ

  • ท่อน้ำนมอุดตัน

  • เกิดจากการที่ท่อน้ำนมท่อใดท่อหนึ่งอุดตัน เมื่อคลำดูจะพบก้อนแข้งที่กดเจ็บและแดงในเต้านม คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยได้บ้าง
    1. ให้ลูกดูดนม แต่ถ้าลูกไม่ดูดเพราะยังไม่หิวหรือเพราะ อะไรก็ตาม ให้บีบนมออกมาบ้าง
    2. ขณะที่ลูกดูดนม พยายามใช้นิ้วนวดคลึงเบาๆ บริเวณที่มีก้อนแข็งๆ อาจรู้สึกปวดรุนแรงชั่วครู่ แต่การอุดตันจะหมดไป
    3. หรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบก็ได้ แล้วค่อยๆ นวดคลึงเบาๆ จากนั้นจึงให้ลูกดูดนม
    4. ที่สำคัญอย่าใช้ยกทรงที่คับ รัดแน่นเกินไป

    คุณควรรีบขจัดการอุดตันให้หมดไปในทันทีเพื่อป้องกัน การลุกลามต่อไป เป็นเต้านมอักเสบ หากไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ในวันรุ่งขึ้น

  • เต้านมอักเสบ

  • ท่อน้ำนมที่อุดตันอาจมีการติดเชื้อตามมา ทำให้คุณแม่มีไข้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนซึ่งคุณหมอจะให้ยาปฏิชีวนะ และคุณแม่ควรทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง ฉะนั้น หากพบก้อนเนื้อที่ในเต้านม อย่าปล่อยทิ้งไว้ ให้นานเกิน 1 วันโดยไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ มิฉะนั้นอาจลุกลามกลายเป็นฝีในเต้านม ซึ่งจะมีการบวมแดง, อักเสบ และเจ็บปวดลึกๆ ในเต้านม ทั้งนี้ต้องได้รับยาฆ่าเชื้อ จากแพทย์หรือผ่าตัดเอาหนองออก Back


    การไล่ลมให้ลูกหลังกินอิ่ม

    หลังจากลูกกินนมจนอิ่มแล้ว คุณควรให้โอกาสลูกได้เรอลม ที่กลืนเข้าไปในระหว่างการดูดนม ลมจะทำให้ลูกรู้สึกแน่น และอึดอัดได้

    การไล่ลมให้ทารกเกิดใหม่

    อาจให้ลูกนั่งเอียงตัวมาข้างหน้าบนตักคุณแม่ แล้วใช้มือซ้ายรองคางลูกไว้ มือขวาตบหลังหรือลูบหลังลูกเบาๆ หรืออาจใช้ท่าอุ้มพาดบ่า ใช้มือซ้ายช้อนก้นลูก มือขวาลูบหลังลูกเบาๆ อย่ากังวลถ้าลูกคุณไม่เรอหลังจากอุ้มพาดบ่า ซักพักหนึ่งคุณก็เลิกได้ ลูกอาจไม่ได้กลืนอากาศเข้า ไปจนต้องเรอในมื้อนั้นบางครั้งลูกอาจจะแหวะนมออกมา เล็กน้อยระหว่างไล่ลม ควรเตรียมผ้าอ้อมสะอาดไว้ใกล้มือเสมอ

    ท่าเอาหน้าลง

    การไล่ลมโดยท่าเอาหน้าลง ใช้กับทารกวัยใดก็ได้ โดยจับลูกนอนคว่ำพาดที่หน้าตัก หรืออุ้มพาดแขนให้หน้าคว่ำลง แล้วใช้มือลูบหลัง หรือตบหลังลูกเบาๆ จะช่วยลูกเรอได้ Back


    อาหารการกินคุณแม่ให้นม



    ร่างกายของคุณแม่ในระหว่างเลี้ยงลูกด้วยนมนี้ ต้องการแคลอรี่เพิ่มกว่าปรกติจำนวน 500 แคลอรี่ต่อวัน เพราะ คุณแม่ต้องใช้พลังงานมากทีเดียวในการสร้างน้ำนมที่มีคุณค่า และปริมาณ สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ร่างกายมีปริมาณน้ำนมมากพอ คือการกินอาหารที่มีคุณค่า ได้สัดส่วน และมีโปรตีนสูง อย่างดอาหารเพราะจะทำให้ร่างกายคุณอ่อนเพลีย อาหารประเภทโปรตีนเช่น เนื้อ, ตับ, ไก่, หมู และควรกินผักสด, ผลไม้สดมากๆ เพื่อให้ได้วิตามิน เช่น กล้วย, ส้ม, สัปปะรด, มะม่วง, ชมพู่, องุ่น และควรดื่มนม, ดื่มน้ำมากๆ รวมทั้งน้ำผลไม้ด้วย

    นอกจากนั้น ถ้าคุณเป็นคนที่ทานแล้วไม่อ้วนก็สามารถทาน เครื่องดื่มที่มีนมผสมอยู่ เช่น มิลค์เชค, ชอคโกแลต, ไอศกรีม, ซุปใส่นม หรือพวกคุ๊กกี้ต่างๆ

    พูดง่ายๆ คือ คุณแม่ควรทานอาหารที่มีคุณค่าให้ครบ 5 หมู่ทั้ง 3 มื้อ และอาหารว่าง เช่น นม ผลไม้ หรือขนมที่มีประโยชน์ จะช่วยให้คุณแม่มีแรงให้นมลูกและเลี้ยงลูกได้Back


    สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

    สิ่งที่คุณแม่ดื่มหรือกิน มีสิทธิ์ผ่านเข้าไปสู่ลูกได้ ทั้งนั้นโดยผ่านทางน้ำนมแม่ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงสารคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ด้วย ถ้าลูกนอนไม่หลับ ควรงดชา กาแฟ โกโก้ หรือเครื่องดื่มที่มีโคล่าผสมอยู่

    ถ้าคุณแม่ต้องรับยาชนิดใดๆ ควรแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรให้ทราบว่า กำลังให้นมลูก

    ยาคุมกำเนิดที่เหมาะสมในช่วงที่กำลังให้นมลูก คือยาที่มีโปรเจสโตเจนอย่างเดียว ยาคุมกำเนิดที่มีทั้งเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจน ไม่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกBack


    วิธีดูแลเต้านม
    1. ถ้าคุณแม่หัวนมบอด ขณะที่กำลังตั้งครรภ์ให้นวดหัวนมและ หัดดึงหัวนมออกมาเพื่อเตรียมให้ลูก
    2. ก่อนให้นมลูกหรือจับบริเวณหัวนม คุณแม่ควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
    3. หลังให้มื้อนมลูก ควรเช็ดทำความสะอาดหัวนมด้วยน้ำสะอาด ทุกครั้งที่ให้นมลูก
    4. ควรเปลี่ยนแผ่นผ้าซับน้ำนมทุกครั้งหลังจากให้นมลูก
    Back


    วิธีรีดน้ำนมด้วยมือ

    คุณแม่ควรอยู่ในท่าที่สบายและวางภาชนะบรรจุนม เช่นชามแก้วไว้ตรงข้างหน้า

    1. ประคองเต้านมด้วยฝ่ามือข้างหนึ่ง ใช้มืออีกข้างเริ่มนวดคลึง ไล่ตั้งแต่ส่วนบนของเต้านมลงมาจนถึงลานรอบหัวนม (วงสีคล้ำรอบหัวนม)
    2. ทำเช่นนี้ไปทั่วเต้านมหลายๆ ครั้ง รวมทั้งส่วนล่างด้วย เพื่อช่วยให้น้ำนมไหลมายังท่อน้ำนมได้ดียิ่งขึ้น
    3. ใช้นิ้วมือทั้งสองข้างบีบเข้าหากัน แล้วค่อยๆ ออกแรงกดมายังลานหัวนม โดยใช้นิ้วหัวแม่มือร่วมกับนิ้วอื่น
    4. รวบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ เข้ามาพร้อมกัน แล้วกดนิ้วลงไป เพื่อให้น้ำนมพุ่งออกมา กดและคลายสลับกันไป โดยใช้ทั้งสองนิ้วมือ จนกระทั่งไม่มีน้ำนมไหลออกมาแล้ว
    การปั๊มนมโดยใช้อุปกรณ์ปั๊มนม

    การรีดน้ำนมโดยใช้อุปกรณ์ปั๊มนมที่มีขายทั่วไป ใช้เวลาน้อยกว่าและเมื่อยน้อยกว่าการรีดด้วยมือ ควรเลือกซื้อชนิดที่สามารถใช้กระบอกส่วนนอกเป็นขวดนมให้ลูกได้เลย มีให้เลือกทั้งปั๊มด้วยมือ และชนิดใช้ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ ลองสอบถามจากแพทย์, พยาบาลผดุงครรภ์ หรือเพื่อนฝูง ญาติๆ ที่มีประสบการณ์ว่าชนิดไหนมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ยี่ห้อไหนใช้สะดวก วิธีใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก

  • ก่อนใช้อุปกรณ์ปั๊มนม คุณต้องฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทุกชิ้นให้ ปราศจากเชื้อโรค แล้วล้างมือให้สะอาดก่อนประกอบอุปกรณ์ปั๊มนมเข้าด้วยกัน
  • ใช้ฝากรวยของที่ปั๊มครอบลงบนลานหัวนมให้แน่น แนบสนิทจนเกิดเป็นสูญญากาศในลักษณะเดียวกับขากรรไกรของลูกเวลาดูดนม แล้วเริ่มปั๊มนมตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง
  • หลังจากปั๊มนมเสร็จแล้ว ถอดส่วนฝากรวยออก ปิดฝาที่เป็นขวดนมให้แน่น นำไปแช่เก็บในตู้เย็นได้นาน 24 ชั่วโมง หรือแช่แข็งได้ถึง 2 อาทิตย์ แล้วจึงนำมาใช้เมื่อต้องการ
  • เมื่อจะนำมาใช้ ให้นำออกมาจากตู้เย็นหรือช่องแข็ง วางไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 30 นาที หรือ 4 ชั่วโมงถ้านำออกมาจากช่องแข็ง
  • Back


    การให้นมแม่เมื่อต้องไปทำงาน

    หากคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน หลังจากครบกำหนดลาคลอดแล้ว คุณแม่สามารถให้นมลูกต่อไปได้ โดยปั๊มนมแม่ ตามเวลาปรกติที่เคยให้ลูกดูด เพื่อกระตุ้นให้เต้านมสร้างนมต่อไป
  • ปรับนิสัยลูกให้เคยชินกับนมขวด โดยคุณแม่ปั๊มนม ใส่ขวดนมแล้วให้คุณพ่อ หรือญาติๆ ช่วยป้อนนมมื้อแรกๆ เพราะถ้าคุณแม่ให้เอง ลูกจะได้กลิ่นนมแม่ และมักไม่ยอมดูดจากขวด
  • คุณแม่ต้องหาห้องว่างๆ ส่วนตัวไว้ปั๊มนมในช่วงกลางวัน และช่วงบ่ายแก่ๆ ขณะอยู่ในที่ทำงาน (ถ้าไม่มี คงต้องใช้ห้องน้ำ) และแช่ขวดนมไว้ในตู้เย็นจนกว่าจะถึงเวลากลับบ้าน ส่วนอุปกรณ์ปั๊มนมแช่ใส่กล่องปิคนิคบรรจุน้ำแข็งสะอาด) ที่สามารถเก็บความเย็นได้ เมื่อถึงเวลาเลิกงาน นำขวดน้ำนมมาใส่กล่องปิคนิคที่เก็บความเย็นเพื่อ แช่ขวดน้ำนมระหว่างเดินทางกลับบ้าน
  • อุปกรณ์ปั๊มนม และขวดนมทุกขวดต้องผ่านการฆ่าเชื้อแล้วทั้งสิ้น
  • เมื่อถึงบ้าน นำขวดน้ำนมที่ปั๊มแช่เก็บในตู้เย็นที่บ้าน หรือแช่แข็งก็ได้ แล้วนำมาให้ลูกกินในเวลากลางวันที่คุณแม่ไปทำงาน
  • ส่วนมื้อเย็นและกลางคืน คุณแม่ก็ไห้ลูกกินนมแม่ตามปรกติ
  • Back


    บทบาทของคุณพ่อกับนมแม่

    ฝากโน้ตถึงคุณพ่อหน่อยนะคะว่า ......
    คุณพ่อมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งเลยล่ะค่ะ ในการช่วยเป็นกำลังใจ และส่งเสริมให้คุณแม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
    แรงสนับสนุนจากคุณพ่อเป็นสิ่งที่มีค่ามาก เพราะจะทำให้คุณแม่มี กำลังใจในการให้นมลูกต่อไป นานเท่าที่ทารกต้องการ
    คุณพ่อเองก็สามารถมีส่วนร่วมในการให้นมแม่ได้เช่นกันค่ะ โดยให้คุณแม่ปั๊มน้ำนมใส่ขวดเป็นครั้งคราวแล้วให้คุณพ่อ เป็นผู้ป้อนนมแม่แก่ลูกน้อย เพื่อคุณแม่เองก็จะได้ถือโอกาส พักผ่อนร่างกายในช่วงนั้นด้วย

    ถ้าคุณพ่อยังไม่เชื่อว่า นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก แล้วล่ะก็ กรุณาอ่านที่นี่ค่ะ นมแม่ดีที่สุด...ดีอย่างไร?
    แล้วคุณพ่อจะเปลี่ยนใจหันมาสนับสนุนคุณแม่ในการเลี้ยง ลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มตัวและเต็มใจอย่างยิ่งเชียวค่ะ!! Back




    visit our sponsor
    visit our sponsor


    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved