Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy












วิธีทำความสะอาดขวดนมและการฆ่าเชื้อ

ถ้าคุณแม่ตัดสินใจที่จะให้นมผสมแก่ลูกหรือเลิกให้นมแม่หันมา เลี้ยงลูกด้วยนมผสมแทนไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามทั้งที่ทราบดี อยู่แล้วว่านมแม่มีประโยชน์ต่อทารกและคุณแม่ควรให้นมแม่จน ถึงทารกอายุ 1 ขวบ ข้อที่คุณแม่จะต้องระมัดระวังมากที่สุดในการ ให้นมผสมก็เห็นจะเป็น เรื่องความสะอาดค่ะ

วิธีทำความสะอาดขวดนม


  • ล้างขวดนม, หัวนมยาง, ฝาครอบ, ฝาเกลียว และอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยน้ำเปล่า

  • ล้างซ้ำอีกครั้งด้วยน้ำยาล้างขวดนมผสมน้ำอุ่น และล้างน้ำซ้ำเพื่อให้คราบน้ำยาออกให้หมด

  • ล้าง, ถูด้านในของขวดเพื่อให้คราบนมหลุดออกให้หมด รวมทั้งล้างบริเวณคอขวด และเกลียวให้สะอาด

  • ล้างหัวนมยางโดยใช้แปรงล้างหัวนมยางทำความสะอาด ด้านในของหัวนมยาง บีบน้ำผ่านรูปลายหัวนมยาง เพื่อช่วยให้คราบนมหลุดออก และเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีเศษอะไรอุดรูหัวนมยาง

  • ถ้าคุณใช้เกลือป่นช่วยทำความสะอาดหัวนมยาง ควรแน่ใจว่าได้ล้างสะอาดจนไม่มีเศษเกลือหลงเหลืออยู่ เพราะเกลือจะทำให้ทารกแรกเกิดป่วยได

  • ล้างอุปกรณ์ทุกชิ้นเป็นครั้งสุดท้าย แล้วนำขวดนมและอุปกรณ์อื่นๆ ไปทำการฆ่าเชื้อโรค



  • การฆ่าเชื้อโรคขวดนมและอุปกรณ์ต่างๆ


    คุณอาจเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งตามความสะดวก

    การฆ่าเชื้อด้วยการต้ม

    เป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุดในการฆ่าเชื้อโรค ล้างอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการฆ่าเชื้อให้สะอาด แล้วใส่น้ำในหม้อต้มให้ท่วมอุปกรณ์ทุกชิ้น จึงต้มประมาณ 25 นาที เก็บอุปกรณ์ในหม้อต้ม ปิดฝาจนถึงเวลาที่ต้องการนำมาใช้ วิธีนี้อาจทำให้หัวนมยางเสื่อมสภาพได้ง่าย

    ใช้หม้อนึ่งไอน้ำไฟฟ้า

    ใส่ขวดนมและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการนึ่งหลังจากล้างให้สะอาดแล้ว ลงไปในหม้อนึ่งไอน้ำไฟฟ้า (ควรถอดชิ้นส่วนและวางเรียงกัน) ใส่น้ำลงไปในหม้อนึ่ง 2 ออนซ์ (กรุณาดูคู่มือการใช้หม้อนึ่งแต่ละยี่ห้ออาจแตกต่างกัน) และปิดฝา เสียบปลั๊กไฟฟ้า กดสวิทช์เปิดให้หม้อนึ่งทำงาน วิธีนี้ประหยัดเวลา, รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่วนมากใช้เวลาในการนึ่งประมาณ 10 นาที

    ใช้น้ำยาหรือยาเม็ดฆ่าเชื้อ

    เติมน้ำลงในภาชนะสำหรับฆ่าเชื้อและใส่น้ำยาหรือยาเม็ดฆ่าเชื้อลงไป เมื่อเม็ดยาละลายเรียบร้อยดี ใส่ขวดนมและอุปกรณ์อื่นๆ ลงไป กดขวดนมให้จมน้ำจนน้ำเข้าไปในขวดนมได้เต็มเพื่อไม่ให้ขวดนมลอยขึ้นมา และควรแน่ใจว่าไม่มีฟองอากาศอยู่ในขวดนม เพราะจะทำให้ส่วนที่มีอากาศค้างอยู่นั้นไม่ปลอดเชื้อโรคได้ จากนั้นปิดฝา ทิ้งไว้จนถึงระยะเวลาที่กำหนดหรือเพื่อความสะดวก ทิ้งขวดนมและอุปกรณ์ไว้ในนั้นจนถึงเวลาที่คุณ ต้องการใช้ชงนมให้ลูกในมื้อต่อไป ค่อยนำมาใช้ก็ได้ ก่อนใช้ให้ล้างด้วยน้ำเย็นต้มสุกแล้ว คุณควรปฏิบัติตามเอกสารกำกับน้ำยาหรือยาเม็ดของผู้ผลิต ว่าระยะเวลาที่คุณต้องแช่ขวดนมและอุปกรณ์ต่างๆในน้ำยาควร จะนานแค่ไหนจนถึงระยะปลอดเชื้อ (ปรกติประมาณ 30 นาที) และควรเปลี่ยนน้ำเมื่อไหร่ (ปรกติทุกๆ 24 ชั่วโมง)

    back to header


    visit our sponsor
    visit our sponsor


    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved