Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy












วิธีเตรียมนมขวดให้ลูก

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

นมผงกระป๋อง
ขวดนมและหัวนมยาง
มีดปาดช้อนตวง
กระดาษเช็ดมือ



  • **ล้างมือจนแน่ใจว่าสะอาดก่อนเริ่มชงนมให้ลูก**


  • เตรียมน้ำสะอาดสำหรับชงนมโดยต้มน้ำในกาให้เดือด ทิ้งไว้ให้เย็นสักครู่ จากนั้นเทน้ำอุ่นใส่ลงในขวดนมที่ได้รับการฆ่าเชื้อแล้ว วัดปริมาณน้ำอุ่นตามที่ต้องการ โดยให้ขวดนมอยู่ในระดับสายตา จะช่วยให้ได้น้ำนมในอัตราส่วนที่ถูกต้อง


  • เปิดกระป๋องนม และใช้ช้อนตวงที่อยู่ในกระป๋องนมตักนมผง ใช้มีดปาดช้อนตวงปาดนมผงส่วนเกินออกจากช้อนตวง อย่าพยายามเพิ่มนมผงลงไปโดยวิธีตักนมจนพูนช้อนเกินไป หรืออัดนมผงจนแน่นในช้อนตวง เพราะจะทำให้น้ำนมเข้มข้นเกินไปสำหรับทารก ซึ่งจะเป็นโทษได้ โดยจะทำให้ทารกได้รับโปรตีน, ไขมันมากเกินไป แต่ได้น้ำน้อย ทำให้ทารกท้องผูกได้ ถ้าผสมจางเกินไปก็จะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้น้ำหนักขึ้นช้า ควรชงนมให้ถูกอัตราส่วนและให้ลูกกินเท่าที่ต้องการในแต่ละมื้อ


  • ใส่นมทีละช้อนตวงลงในขวดนมที่บรรจุน้ำต้มสุกไว้แล้ว ปริมาณควรถูกต้องตามอัตราส่วน นมผงจะละลายอย่างรวดเร็วในน้ำอุ่น


  • นำหัวนมยางใส่ฝาเกลียว พยายามอย่าจับปลายหัวนมยางซึ่งให้ทารกดูด ปิดฝาครอบ เขย่าขวดให้นมละลายให้เข้ากัน


  • หรือคุณจะผสมนมในแก้วตวงก่อนก็ได้ โดยการผสมนมผงและน้ำตามสัดส่วนที่ระบุข้างกระป๋องนมลงในแก้วตวงก่อน แล้วจึงนำมาเทใส่ขวดก็ได้

  • คุณอาจชงทีเดียวไว้หลายขวดแล้วเก็บแช่ตู้เย็น หรือชงทีละขวดให้ทารกดูดก็ได้ แต่ไม่ควรเก็บนมผสมที่ชงแล้วไว้ ในตู้เย็นนานเกิน 24 ชั่วโมง ถ้าทำได้ควรผสมนมในเวลาที่ต้องการดีกว่าผสมล่วงหน้า แต่ถ้าชงแล้วทารกยังไม่ต้องการดูดก็ควรนำไปเก็บไว้ในตู้เย็นก่อน



  • ข้อควรระวังในการเตรียมนมขวด


  • ควรใช้น้ำต้มสุกที่ไม่ร้อนจัดผสมเพียงอุ่นๆ ก็พอสำหรับลูก น้ำนมที่มีอุณหภูมิพอเหมาะควรจะอุ่นๆ


  • ก่อนให้นมขวดแก่ลูก ควรทดสอบอุณหภูมิของน้ำนมดูก่อน ว่าร้อนเกินไปสำหรับลูกหรือไม่ โดยการหยดน้ำนมจากขวดนมลงบนด้าน ในข้อมือของคุณแม่


  • อย่าให้หัวนมยางสัมผัสสิ่งใดๆ เป็นอันขาด เพราะจะทำให้สกปรก และลูกจะท้องเสียได้


  • ขวดนม, ภาชนะ และอุปกรณ์ที่ใช้ควรได้รับ การล้างให้สะอาดและฆ่าเชื้ออย่างดี


  • ห้ามเก็บนมผสมที่ชงแล้วไว้ในตู้เย็นนานเกินกว่า 24 ชั่วโมง ควรผสมในเวลาที่ต้องการดีกว่าผสมนมล่วงหน้า


  • ถ้าลูกดูดนมไม่หมดขวด หรืออุ่นแล้วลูกไม่กิน ควรทิ้งนมนั้นไปเลย ไม่ควรเก็บนมนั้นไว้อีก และไม่ควรนำมาเทผสมกับนมที่เพิ่งชงเสร็จใหม่ๆ เพราะนมที่เหลือจากการดูดจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ทำให้ลูกไม่สบายได้


  • back to header


    visit our sponsor
    visit our sponsor


    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved