![](pic/itm_2.gif)
![](pic/itm_3.gif)
![](pic/itm_4.gif)
![](pic/itm_5.gif)
![](pic/itm_6.gif)
![](pic/itm_7.gif)
![](pic/itm_8.gif)
![](pic/itm_9.gif)
|
หมอเกษมประกาศให้ทุกโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทั้งภาครัฐและเอกชน ห้ามสอบ
วิชาการกับเด็กเข้าป.1 เว้นแต่จะทดสอบเพื่อดูความพร้อมของเด็ก แนะให้สอบสัมภาษณ์เด็กหรือผู้
ปกครองแทน อีกทั้งหาแนวทางให้โรงเรียนทั้ง 3 หมื่นโรงมีมาตรฐานเดียวกันเพื่อจะเลือกนักเรียน
ใกล้บ้าน
วันที่ 12 มีนาคม 44 นางสุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ หัวหน้าสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มศว.ประสานมิตร
พร้อมคณะทำงานสนับสนุนและรณรงค์ยกเลิกการสอบเข้าป.1 ได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อนพ.
เกษม วัฒนชัย เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว
ทั้งนี้ จดหมายดังกล่าวเสนอขอให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศเป็นข้อบังคับของกระทรวง ห้าม
สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินการสอบข้อเขียนวิชาการเพื่อคัดเลือกเข้าป.1 รวมถึงการกำหนดหลัก
สูตรการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาตอนต้นให้สอดคล้อง และเป็นการรองรับกับกระบวน
การเรียนรู้ในระดับอนุบาลอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการเดียวกัน
นอกจากนั้น ในส่วนของกระบวนการประเมินผลคุณภาพเด็กในระดับชั้นอนุบาลต้องไม่ประเมินใน
ทิศทางการเตรียมความพร้อมตามพัฒนาการทุกด้านของเด็ก
กล่าวคือ สอนให้เด็กเรียนปนเล่น เพื่อให้เด็กมีความสุขกับการมาโรงเรียน ไม่ใช่เน้นเนื้อหา
วิชาการ เพราะการเร่งให้เด็กรับรู้เร็วเกินไปนั้น จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านสมองด้วย
พร้อมทั้งขอให้กระทรวงศึกษาธิการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนอนุบาลและ
ประถมศึกษาทุกโรงเรียนให้ได้คุณภาพมาตรฐานใกล้เคียงกัน เพื่อที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะได้ไม่ต้อง
มีปัญหาการเลือกโรงเรียน และนำลูกเข้าเรียนในโรงเรียนใกล้บ้านเป็นหลักด้วย
ด้านนพ.เกษมกล่าว่า กรณีเรื่องการยกเลิกการสอบวัดความรู้ทางวิชาการในการสอบเข้าป.1 นั้น
เป็นเรื่องที่อยู่ในใจนานแล้ว และปีนี้ได้มีการประกาศเป็นนโยบายของกระทรวงการศึกษาธิการ
อย่างชัดเจนโดยไม่ยกเว้นแม้แต่โรงเรียนเอกชน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้โรงเรียนที่มีชื่อเสียงบางโรงยังขอสอบทางวิชาการ เพื่อคัดเลือกเด็กเข้า
เรียน แต่เมื่อได้พูดคุยและทำความเข้าใจกันแล้ว ทางสถานศึกษาก็ยอมรับกันได้ จึงได้มีการออก
เป็นประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนเพื่อห้ามโรงเรียนเอกชนทดสอบด้าน
วิชาการ ถ้าหากจะมีการสอบให้ทดสอบความพร้อมและสอบสัมภาษณ์เด็กหรือผู้ปกครองแทน
ทั้งนี้ ถ้าหากสถานศึกษาแห่งใดฝ่าฝืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จะต้องเป็นผู้
ดำเนินการและตัดสินใจต่อไป
ขณะเดียวกัน หากต้องการขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดไป กระทรวงฯ จะต้องพัฒนาสถานศึกษาทั้ง 3
หมื่นกว่าแห่งทั่วประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อที่ผู้ปกครองจะเลือกสถานศึกษาใกล้บ้านให้
บุตรหลานเรียน ทว่า นพ.เกษม ยังไม่ได้ชี้แจงว่าจะพัฒนาคุณภาพทุกแห่งให้ทัดเทียมกันอย่างไร
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การใช้วิธีทดสอบความพร้อมและการสอบสัมภาษณ์เด็กหรือผู้ปกครอง
นั้น จะเป็นการเปิดช่องให้สถานศึกษาบางแห่งเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะจากผู้ปกครองได้นั้น รมว.
ศึกษาธิการอธิบายว่าทำได้เพียงแต่ขอร้องให้เลิกเท่านั้น เพราะเป็นเรื่องของการสมยอมกันทั้ง 2
ฝ่าย ระหว่างผู้ปกครองและสถานศึกษา
ในการพบกันครั้งนี้ยังได้มีการพูดถึงระบบการสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว โดยนพ.เกษมระบุ
ว่า ครอบครัวไทยขณะนี้อ่อนแอลงกวาในอดีต โดยสังเกตได้จากเด็กติดยาเสพย์ติด เด็กเร่ร่อน ซึ่ง
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากครอบครัวแตกแยก
จากนั้นจึงได้ปรึกษากับคณะที่มายื่นหนังสือฯ เพื่อร่วมกันสร้างสภาครอบครัวให้เข้มแข็งขึ้น
โดยมอบหมายให้กลับไปเลือกวันที่เหมาะสมก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อจัดเป็นเครือข่าย "ลูกหลานใน
ครอบครัว กับ การศึกษาแห่งชาติ" ต่อไป
ข่าวจาก: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
back
| |
|