|
อธิบดีกรมสามัญฯ ประกาศนโยบายให้เด็กเข้าม.1 ทุกคนมีที่เรียน โดยยึดเกณฑ์เดิมในการรับ
สมัคร แบ่งเป็นรับในเขตพื้นที่ 70% และสอบคัดเลือก 30% สำหรับชั้นม.4 ใช้ระบบเลื่อนจากชั้นม.3
ภายในมีนามคมนี้เริ่มรับสมัครแล้ว
วันที่ 14 มีค. 44 ที่โรงเรียนสตรีวิทยา กระทรวงศึกษาธิการได้เชิญผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ส่วนกลาง ประชุมเรื่อง "การรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4" ประจำปีการ
ศึกษา 2544 โดยมีตัวแทนจากสถานศึกษาเข้าร่วมประชุมกว่า 200 น
นางกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อธิบดี กรมสามัญ กล่าวว่า ในระดับชั้นม.1 ให้สถานศึกษาทุกแห่งใน
สังกัดรับเด็กที่อยู่ในพื้นที่ร้อยละ 70 ส่วนอีกร้อยละ 30 ให้รับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษและผู้
มีอุปการคุณแก่สถานศึกษานั้น สำหรับระดับม.4 ให้เลื่อนจากชั้นม.3 ขึ้นไป
จากจำนวนโรงเรียน 2,269 แห่ง มีอยู่ประมาณ 300 แห่งที่มีชื่อเสียงซึ่งผู้ปกครองและเด็กให้ความ
สนใจ ทำให้มีจำนวนผู้สมัครเกินกว่าที่โรงเรียนจะรับได้ทั้งหมด โรงเรียนเหล่านี้ให้แยกรับเด็ก
ออกเป็น 2 ส่วน คือให้รับเด็กในพื้นที่ร้อยละ 70 ซึ่งถ้าหากเกินให้ใช้วิธีการจับฉลาก สำหรับที่เหลือ
จะให้สถานศึกษาเป็นผู้กำหนดว่าจะให้โควต้าเด็กพิเศษ สอบคัดเลือก และอุปการคุณสัดส่วนเท่าใด
แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 30
อธิบดีกรมสามัญ กล่าวต่อถึงปัญหาที่มักจะตามมาหลังจากการสอบเสร็จว่า มีผู้ปกครองหลายรายมา
แจ้งว่า
ลูกยังไม่มีสถานที่เรียน ให้หาสถานที่เรียนให้ ซึ่งทางกรมฯ ก็ช่วยหาสถานศึกษาที่ยังมีที่ว่างให้ ซึ่ง
บางคนไม่พอใจว่าเป็นสถานศึกษาที่ไม่ชื่อเสียงหรือมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม แต่บางคนก็
ยินยอม ส่วนบางคนก็ให้ลูกไปเรียนโรงเรียนเอกชน
ทางด้านนางธารินทร์ สงวนเสริมศรี รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดกทม.ได้ขยาย
โอกาสรับนักเรียนเรียนชั้นม.1 เป็นจำนวนถึง 56 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะรองรับนร.ได้ไม่ต่ำกว่า 7,000
คน
"ปกติโรงเรียนสังกัดกทม.ส่วนใหญ่สอนในระดับอนุบาล - ชั้นป.6 หากขยายออกไปถึงม.3 หรือม.6
ก็มีนโยบายให้เด็กเลื่อนชั้นป.6 ขึ้นไปโดยไม่ต้องสอบ ส่วนเด็กที่ต้องการไปศึกษาต่อยังสถาน
ศึกษาที่มีชื่อเสียง นักเรียนก็ไปสมัครสอบได้ แต่ถ้าสอบไม่ได้ต้องการกลับมาเรียนก็สามารถทำได้
เช่นกัน
ทางด้านโรงเรียนสังกัดเอกชนนั้น ดร.จรวยพร ธรณินทร์กล่าวว่า โรงเรียนเอกชนจำนวนมาก
พร้อมที่จะรับนักเรียนที่ผิดหวังจากที่ตั้งใจไว้ และค่าเทอมก็ไม่ได้แพงอย่างที่ประชาชนเข้าใจ ยก
ตัวอย่างเข่นโรงเรียนนานาชาติจะเสียค่าใช้จ่ายปีละ 1-3 แสนบาท ส่วนโรงเรียนเซนต์จอห์น, อัสสัม
ชัญ กำหนดให้จ่ายค่าเทอมแบบลอยตัวแต่ก็อยู่ในระดับความเป็นจริง สำหรับโรงเรียนเอกชนทั่ว
ไปในระดับม.1-3 ให้เก็บค่าเล่าเรียนไม่เกินเทอมละ 750 บาทและม.4-6 ไม่เกิน 1,470 บาท
อย่างไรก็ดี ในช่วงของการแสดงความคิดเห็น นางรัศมี มณีรอด ตัวแทนจากรร.สตรีมหาพฤฒารา
ได้กล่าวถึงจุดอ่อนของวิธีการเลื่อนชั้นเด็กจาก ม.3 ขึ้นไปชั้น ม.4 โรงเรียนเดิมว่า 50% พบว่าเด็ก
ติดเพื่อนและไม่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งก่อปัญหามากเมื่อเด็กจบชั้นม.6 ไปแล้ว
โดยเฉพาะการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยก็จะตามเพื่อนไปโดยไม่คำนึงถึงความามารถหรือ
ความชอบของตัวเอง จึงเกิดปัญหาสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ หรือเรียนไม่ไหว ไม่ถนัดในสายที่
เรียนต่อ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน นักเรียนก็ไม่เคยมีการสำรวจความต้องการของตัวเองอย่างแท้จริงว่าสนใจ หรือมี
ความสามารถด้านใดเป็นพิเศษ อย่างบางคนมีฝีมือทางด้านการปั้น การเย็บปักถักร้อย ซึ่งแม้แต่ครู
ซึ่งเห็นและรับรู้ว่าเด็กมีความสามารถพิเศษ แต่ก็ไม่ได้แนะนำให้เรียนสายอาชีพ กลับปล่อยให้
เด็กเรียนจนจบม.6
ในเรื่องนี้ ดร.กษมา กล่าวยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โดยจะรับข้อเสนอแนะไปปรึกษากับ
ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกรมอาชีวศึกษาต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้เด็กไทยมีอนาคต
สดใส
อนึ่ง ขณะนี้สถานศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาทุกแห่ง กำหนดเปิดรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อระ
ดับชั้นม.1 และ ม.4 นักเรียนความสามารถพิเศษ รับสมัครวันที่ 25 - 26 มีนาคม คัดเลือกวันที่ 27
มีนาคม และรายงานตัวในวันที่ 28 มีนาคม ส่วนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ รับสมัครวันที่ 15 - 31
มีนาคม จับฉลากวันที่ 1 เมษายน และประกาศผลสอบและรายงานตัววันที่ 1 เมษายน
สำหรับนักเรียนสอบคัดเลือก รับสมัครตั้งแต่วันที่ 25-31 มีนาคม สอบคัดเลือกวันที่ 2 เมษายน โดย
ทางโรงเรียนจะใช้แบบทดสอบความพร้อมพื้นฐานทางการเรียนจากส่วนกลาง หรือกระทรวงฯ
ประกาศผลสอบวันที่ 10 เมษายน
ข่าวจาก: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ประจำวันที่ 15 มีนาคม 2544
back
| |
|