![](pic/itm_2.gif)
![](pic/itm_3.gif)
![](pic/itm_4.gif)
![](pic/itm_5.gif)
![](pic/itm_6.gif)
![](pic/itm_7.gif)
![](pic/itm_8.gif)
![](pic/itm_9.gif)
|
การให้อภัย ดีต่อสุขภาพ
จากการค้นคว้าโดยวิทยาลัยโฮป รัฐมิชิแกนสหรัฐอเมริกา คณะนักวิจัยได้ทดลองให้นักศึกษา
นึกย้อนถึงเหตุการณ์ที่ทำให้ตนเองรู้สึกเจ็บปวด โกรธแค้นอย่างแรงซึ่งเกิดจากการกระทำของ
บุคคลอื่น จากนั้นนักศึกษาจะถูกตรวจสอบโดยอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อวัดระดับปฏิกิริยาของร่าง
กาย ให้นักศึกษาที่เข้าทดลองใช้เวลาสองชั่วโมงนึกจินตนาการว่าตนเองกำลังให้อภัยสลับกับการไม่
ให้อภัยต่อบุคคลที่กระทำเรื่องน่าแค้นเหล่านั้น
แต่ละช่วงที่วัดระดับปฏิกิริยาของร่างกายใช้เวลา 16 วินาทีตามด้วยการผ่อนคลาย ในช่วงของ
การไม่ให้อภัยนั้น ให้นักศึกษานึกย้อนถึงเหตุการณ์นั้นในใจ, นึกถึงความไม่ยุติธรรมที่บุคคลนั้น
กระทำต่อตน, นึกถึงว่าตนอยากแก้แค้นบุคคลนั้นให้สาสมและ ท้ายสุดให้นึกว่าตนเสียดายเพียงใด
ที่ไม่ได้แก้แค้นต่อบุคคลนั้น จากการวิจัยพบว่า อัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วขึ้น 1.75 ครั้งต่อทุก
4 วินาที และเร็วขึ้นเกือบ 3 ครั้งจากระดับปกติในช่วงการนึกถึงเหตุการณ์น่าแค้นนั้น และอัตรา
การเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นไปถึง 2.6 ครั้งเมื่อถึงช่วงอยากแก้แค้นแต่ไม่ได้แก้แค้น เช่นเดียวกัน
ปรากฏว่าความดันโลหิตเพิ่มขึ้น 2.5 mm/Hg ในช่วง 4 วินาทีที่ให้นักศึกษานึกทบทวนถึงเหตุ
การณ์นั้น หรือช่วงที่นึกเสียดายที่ไม่ได้แก้แค้น
แต่เมื่อถึงช่วงที่ให้นักศึกษาเลือกที่จะให้อภัยต่อเหตุการณ์และบุคคลที่ทำให้เจ็บแค้น หันมา
เน้นเรื่องคุณภาพของการเป็นมนุษย์ผู้มีจิตใจสูงแทน พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจลดลงโดยเฉลี่ย
0.5 ครั้งต่อทุก 4 วินาที
ผลสะท้อนของการวิจัยครั้งนี้ ดร.วิลเลียมส์ หน.คณะนักวิจัยกล่าวแนะนำว่า เมื่อต้องเผชิญกับ
เหตุการณ์อยุติธรรมเหล่านี้ควรพยายามใจเย็น หายใจเข้า-ออกลึกๆ ช้าๆ แล้วค่อยเลือกที่จะกระทำ
การตอบสนองต่อเหตุการณ์เหล่านี้กลับไป ควรชั่งน้ำหนักทบทวนผลได้ผลเสียของสถานการณ์ แล้ว
ค่อยตัดสินใจลงไปว่าจะทำประการใด ระลึกเสมอว่า เพียงแค่ความโกรธเท่านั้นหรือ ที่เราจะต้อง
กระทำการสิ่งนี้ลงไป
back
| |
|