Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy









- เครื่องปรับอากาศ
- ขับรถตอนกลางคืน
สร้างสุขนิสัยการกินให้ลูกวัยเล็กและลูกวัยรุ่น
นักฟิสิกส์และนักโภชนาการแห่ง Baylor College of Medicine, Houston ในสหรัฐได้ออกคำแนะนำสำหรับพ่อแม่ในการช่วย กันสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีให้แก่ลูกๆ ทั้งวัยเล็ก และลูกวัยรุ่น ดังนี้

โดยแนะนำว่า ถ้าน้ำหนักตัวและนิสัยการกินอาหารของลูกวัยรุ่น เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่าลูกเริ่มมีปัญหาในเรื่องอาหารการกิน เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกวัยรุ่นจะงดอาหารในบางมื้อ แต่ถ้ามีน้ำหนักขึ้นหรือลงผิดปรกติ จู่ๆ ก็มาสนใจเรื่องการออกกำลังกาย, อาหาร, จำนวนแคลอรี่, น้ำหนักตัว, ขนาดของรูปร่าง แสดงว่าเรื่อง อาหารจะกลายมาเป็นปัญหากับลูกในไม่ช้า

เด็กวัยรุ่นที่มีปัญหาในเรื่องการกินอาหาร มักจะสวมเสื้อผ้าขนาดใหญ่กว่าตัว เพื่อซ่อนน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง, เข้าห้องน้ำบ่อยๆ หลังรับประทานอาหารเสร็จ, ออกกำลังกายอย่างหักโหม, มักจะตัดแบ่งอาหาร ออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยก่อนรับประทาน และหลีกเลี่ยงที่จะไปงานสังคม หรืองานเลี้ยงที่มีอาหารเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจมีอารมณ์ไม่ดีบ่อยครั้ง หงุดหงิดง่าย มีท่าทีกดดัน เครียด ทั้งนี้ ควรได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก ที่อาการดังกล่าวปรากฏขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปสู่ โรค Bulimia (หิวผิดปรกติ), การล้วงคอให้อาเจียนหลังมื้ออาหาร, Anorexia nervosa (เบื่ออาหาร) หรือแม้แต่อาการอดอาหารโดยตั้งใจ ซึ่งยากแก่รักษา และอาจทำให้อยากรู้สึกฆ่าตัวตายได้ ถ้าลูกของคุณเข้าข่ายลักษณะนี้ ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน

สำหรับคุณที่มีลูกวัยก่อนเข้าเรียน นักวิจัยด้านโภชนาการแนะนำว่า ควรจัดอาหารให้ลูกกินในจำนวนน้อยๆ ก่อน เพื่อกระตุ้นให้รู้สึกอยากทานอาหาร เมื่อทานหมดค่อยเติมให้ใหม ่ถ้าลูกต้องการ เพราะเด็กๆ ที่ไม่ชอบทานอาหาร มักรู้สึกไม่อยากทานเมื่อเห็นอาหารมากๆ จำนวนอาหารที่เหมาะสม สำหรับเด็กวัยต่ำกว่า 6 ขวบ คือ ผัก, ผลไม้, และเนื้อในปริมาณอย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อจำนวนอายุ 1 ปี ของเด็ก (ถ้าเด็กอายุ 2 ขวบ ก็คืออย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ)

คุณพ่อคุณแม่เองควรมีทัศนคติที่ดีต่อการกินอาหารของลูก กล่าวคือมองภาพรวมของอาหารที่ลูกกินใน ตลอดระยะเวลาหลายวัน ไม่ใช่มองอาหารที่ลูกกินในแต่ละมื้อเท่านั้น ควรอนุญาตให้ลูกฟังเสียงจาก ร่างกายตัวเองว่าหิวแค่ไหน เพื่อช่วยไม่ให้ลูกเป็นโรคอ้วนในภายหลัง สำหรับเด็กๆ ที่ไม่รู้สึกหิวเมื่อถึง เวลาทานอาหาร ควรดูว่าลูกทานของว่าง หรือขนมก่อนหน้านั้นหรือไม่ หากลูกดื่มน้ำผลไม้และ กินของว่างมากเกินไปในเวลาใกล้ถึงมื้ออาหาร จะทำให้ลูกทานอาหารได้น้อย เมื่อเริ่มต้นทานอาหาร ควรรินน้ำให้ลูกแค่ 1/2 แก้ว แล้วค่อยรินเพิ่มเมื่อลูกทานอาหารไปบ้างแล้ว

สำหรับเด็กที่ไม่ยอมทานข้าวเมื่อถึงเวลาอาหาร แล้วมาบ่นหิวภายหลัง เรียกร้องให้พ่อแม่ต้องทำกับข้าว ให้ทานอีกรอบนั้น ควรได้รับบทเรียนบ้าง โดยนักโภชนาการแนะนำให้หาผลไม้หรือผักให้ลูกทานแทน แต่ควรหลีกเลี่ยงที่จะต้องปรุงอาหารใหม่ เพื่อช่วยสร้างวินัยการกินให้กับลูก

นอกจากนั้นพ่อแม่สามารถช่วยให้ลูกมีสุขภาพที่ดีได้ด้วยการย้ำถึงความสำคัญของการล้างมือบ่อยๆ Dr. Jan Drutz แห่ง Baylor College of Medicine ระบุว่า พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักล้างมือเป็นระยะๆ ตลอดวัน โดยเฉพาะก่อนทานอาหาร, เมื่อต้องสัมผัสอาหาร และภายหลังการเข้าห้องน้ำ เพราะการที่ต้อง อยู่ใกล้ชิดกันในห้องเรียน ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้รวดเร็ว ที่พบประจำคือ การติดเชื้อจากระบบทางเดินหายใจ, โรคอีสุกอีใส, โรคตาแดงชนิดติดต่อ, เหา และ หิด

ความใกล้ชิดของเด็กๆ เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่การล้างมือบ่อยๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และเด็กๆ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนที่กำลังป่วย


ข้อมูล: Medical Tribune
Last updated: 3 April 2000



visit our sponsor
visit our sponsor


Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved