Poj
visit our sponsor
visit our sponsor

Ploy











ข่าวสุขภาพ  >
แพทย์เตือนแดดหน้าร้อนก่อมะเร็งผิวหนัง


แพทย์ผิวหนังชี้ดินสอพองเป็นยากันแดดอย่างดี เตือนระวังปัญหาผิวพรรณหน้าร้อน โดยเฉพาะผู้ที่ ชอบเล่นน้ำกลางแดด แนะควรใส่เสื้อผ้าฝ้ายแขนยาว กางเกงขายาวจะช่วยกันแสงแดดได้ดีกว่าผ้า ใยสังเคราะห์ หากเกิดอาการผิวไหม้เกรียมแดด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบพร้อมทาครีมเพิ่มความ ชุ่มชื้น

นพ.ประวิตร พิศาลยบุตร แพทย์อเมริกันบอร์ดสาขาโรคผิวหนังและอเมริกันบอร์ดสาขาโรคภูมิแพ้ ผิวหนัง ระบุว่าปัจจุบันมีโรคผิวหนังมากกว่า 40 นิด ที่สามารถกำเริบขึ้นเมื่อโดนแสงแดด

โดยอันตรายจากแสงแดดมีทั้งชนิดเฉียบพลัน ได้แก่ ผิวไหม้แดด ผิวคล้ำลง โรค SLE กำเริบ ฝ้า-กระเข้มขึ้น โรคผิวด่างแดด ฯลฯ และชนิดสะสมระยะยาว ได้แก่ ผิวเหี่ยวแก่ เนื้องอกขั้นก่อน เป็นมะเร็ง และมะเร็งผิวหนัง ซึ่งขณะนี้พบผู้ป่วยมีจำนวนสูงขึ้นทั่วโลก เฉพาะที่อเมริกามีผู้ป่วย ใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งผิวหนังมากกว่าปีละ 500,000 ราย

สำหรับคนไทยพบปีละหลายพันราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าร้อน ซึ่งคนจำนวนมากนิยมเล่น น้ำกลางแดดจัด เช่น ในเด็กมักพบโรคผิวด่างแดด เป็นรอยขาวรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ ขอบเขต ไม่ชัดเจน มีขุยบางๆ มักพบตามแก้ม ซึ่งมักเข้าใจว่าเป็นกลากเกลื้อน และเรียกชื่อผิดๆ ว่า กลากน้ำนม

นพ.ประวิตร แนะนำวิธีป้องกันผลเสียของแสงแดดว่า ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดช่วง 08.00 - 17.00 น. โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่เล่นสาดน้ำกัน แม้จะไม่ร้อนจัด ก็ต้องระวังผิวไหม้แดด เพราะเนื้อผ้าที่เปียกน้ำแนบเนื้อจะทำให้รังสียูวีผ่านได้มาก ควรใช้ยากันแดดชนิดทนน้ำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายแขนยาวและกางเกงขายาว เพราะกันแสงแดดได้ดีกว่าการใช้เสื้อผ้าเส้น ใยสังเคราะห์แขนกุดแบบฝรั่ง

ถ้าหากว่าโดนแดดแล้วผิวเปลี่ยนเป็นสีชมพูจัด ปวดแสบปวดร้อน แสดงว่าผิวไหม้แดด ควรรีบ เข้าในที่ร่มทันที และอาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบผิวไหม้แดดบริเวณที่ปวดแสบปวดร้อน ทิ้งไว้ครั้ง ละ 20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง และอาจทาครีมให้ความชุ่มชื้น หรือ After Sun ชนิดที่ผสมยาชาเพื่อลด อาการปวดแสบปวดร้อน

อาการผิวไหม้แดด แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับแรกจะมีผิวเปลี่ยนเป็นสีแดง แล้วผิวชั้นหนังกำพร้า จะลอกออกมาภายในเวลา 2-3 วัน ซึ่งแพทย์อาจให้ยาทาพวกครีมสเตียรอยด์ หรือยารับประทาน สเตียรอยด์ หรือยาแก้ปวดพวกแอสไพริน หรือไอบูโปรเฟน เพื่อลดอาการปวดแสบปวดร้อน

ส่วนผิวไหม้แดดระดับที่ 2 จะเกิดเป็นตุ่มน้ำใสตามผิวหนัง ชนิดนี้จะมีอันตรายเพราะร่างกายอาจ สูญเสียน้ำจนถึงขั้นช็อคได้ และผิวอาจมีการติดเชื้อโรค อาจจำเป็นต้องได้รับยาทา ยารับประทาน กลุ่มสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ แม้กระทั่งการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก

นอกจากนี้ นพ.ประวิตร ระบุว่าอีกปัญหาหนึ่งซึ่งพบบ่อยในช่วงหน้าร้อนคือ ปัญหากลิ่นตัว ซึ่งอาจ ใช้ยาลดเหงื่อ และยาดับกลิ่นตัวทารักแร้ โดยต้องรอให้แห้งสนิทก่อนจึงค่อยสวมเสื้อ เพราะน้ำ ยาจะทำให้เสื้อเป็นรอยด่างได้ ทั้งนี้สารส้มเป็นยาดับกลิ่นตัวที่ได้ผลดีเช่นกันและมีราคาถูกอีกด้วย รวมทั้งดินสอพองก็มีงาน วิจัยของต่างชาติยืนยันว่ามีฤทธิ์คล้ายยากันแดดชนิดกายภาพที่มีประสิทธิภาพดีอีกด้วย

ทั้งนี้ ยังมีงานวิจัยที่แสดงว่าหมวกที่ทำจากฟาง ใบลาน ใบตาล จะกันแดดได้ดีเช่นกัน โดยหมวก ที่มีขอบปีกรอบทั้งเกิน 4 นิ้ว จะสามารถกันแดดจากใบหน้าได้มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งการสวมหมวก จะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังของคนผมบาง โดยพบว่าคนที่สศีรษะล้านมีโอกาสเป็นโรค มะเร็งผิวหนังของหนังศีรษะสูงกว่า เพราะไม่มีเส้นผมคอยป้องกันหนังศีรษะจากแสงแดด


back




Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved