![](pic/itm_2.gif)
![](pic/itm_3.gif)
![](pic/itm_4.gif)
![](pic/itm_5.gif)
![](pic/itm_6.gif)
![](pic/itm_7.gif)
![](pic/itm_8.gif)
![](pic/itm_9.gif)
![](pic/itm_14.gif)
|
ข่าวสุขภาพ >
เด็กๆ ตกจากเก้าอี้สูงที่ใช้ทานข้าวบ่อยกว่าที่คุณคิด
|
คำแนะนำคือ ควรรัดเข็มขัดนิรภัยให้ลูกขณะนั่งบนเก้าอี้สูงที่ใช้ป้อนข้าว เช่นเดียวกับการนั่งเบาะนิรภัยในรถยนต์
ทั้งนี้เพราะ พญ.อลิซาเบธ เพาเวลล์ กุมารแพทย์ประจำห้องฉุกเฉินแห่งรพ.เด็กในชิคาโก สหรัฐฯ พบว่าเป็นหนทางที่แก้ปัญหาเด็กตกจากเก้าอี้ดังกล่าวได้ดีและง่ายที่สุด
พญ.อลิซาเบธ กล่าวว่า จากตรวจรักษาเด็กที่ตกจากเก้าอี้เด็กในร้านอาหารแห่งหนึ่งขณะทานมื้อกลางวัน แต่เด็กคนนั้นกลับจบลงด้วยการศีรษะกระแทกกับพื้น แล้วต้องเอกซ์เรย์สมอง ทำให้คุณหมออลิซาเบธฉุกคิดขึ้นมาว่าจะมีเด็กอีกกี่รายที่ตกจากเก้าอี้แบบนี้
จากนั้นจึงได้ตั้งคณะทำงานเพื่อค้นหาข้อมูลและศึกษาเรื่องนี้ โดยใช้เวลา 5 ปีในการเก็บสถิติจากห้องฉุกเฉินในรพ.ทั่วประเทศ และพบว่า เด็กทารกและเด็กวัยเตาะแตะจำนวนมากกว่า 8000 คนที่ต้องถูกนำส่งห้องฉุกเฉินโดยมีสาเหตุมาจากการตกเก้าอี้สูงสำหรับเด็ก นับจากปี 1994 - 1998 โดยที่เด็กตกจากเก้าอี้เอง ไม่ใช่ว่าเก้าอี้หัก หรือพังแต่อย่างใด
อุบัติเหตุแบบนี้มักเกิดขึ้นในช่วงขวบปีแรกของเด็ก และส่วนใหญ่เกิดกับเด็กอายุ 10 เดือน เด็กเหล่านี้ไม่ใช่ว่าเดิน, คลาน หรือปีนลงมาจากเก้าอี้ด้วย เด็กเพียงแต่นั่งอยู่ในเก้าอี้สูง แล้วก็ตกลงมา
จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 83 เกิดอาการบาดเจ็บที่บริเวณใบหน้าและศีรษะ ซึ่งรายละเอียดการค้นคว้า
ดังกล่าวจะถูกนำเสนอในที่ประชุมของสมาคมกุมารแพทย์ศาสตร์วิทยาที่บัลติมอร์ สหรัฐฯ
การค้นพบนี้ไม่ทำให้แองเจลล่า มิคาไลด์ ผู้อำนวยการศูนย์รณรงค์ความปลอดภัยสำหรับเด็กแห่งชาติแปลกใจนัก โดยได้กล่าวว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่รีบเร่ง และพยายามป้อนข้าวลูก, อาบน้ำ และส่งลูกเข้านอน และเมื่อถึงเวลาทานข้าว ก็ให้ลูกนั่งเก้าอี้สูงสำหรับเด็กโดยไม่รัดเข็มขัดนิรภัยให้ลูก มักคิดว่านี่เป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับเด็กชิ้นหนึ่งที่มีความแข็งแรง มั่นคง มีสี่ขา และมีถาด เด็กๆ ไม่สามารถขยุกขยิกจนถึงกับจะตกลงมาได้
แต่ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย พ่อแม่ก็ควรเลือกเก้าอี้ดังกล่าวด้วยความระมัดระวัง และแน่ใจว่าผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจากหน่วยงานต่างๆ โดยการศึกษาพบว่า การที่เก้าอี้ฯจะหัก พัง และแยกชิ้นส่วนออกมาเองนั้นอาจเป็นไปได้ แต่เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยพบบ่อยนัก
ฉะนั้น คำแนะนำในกรณีที่ให้ลูกนั่งเก้าอี้สูงเพื่อป้อนข้าว ควรพิจารณา ดังนี้
- จับตาดูลูกให้ดี อย่าให้เด็กๆ ปีนขึ้น ลง จากเก้าอี้สูงฯ ตามลำพังโดยไม่มีผู้ใหญ่คอยช่วย และไม่ควรตั้งเก้าอี้สูงฯ นี้ไว้ชิดกำแพง หรือผนังบ้านเพราะเด็กอาจใช้ยัน เกาะยืน และผลักตัวเองให้หล่นลงมาโดยไม่รู้ตัว และที่สำคัญ ควรรัดเข็มขัดนิรภัยให้ลูกทุกครั้งขณะนั่งเก้าอี้ดังกล่าว
- ถ้าเก้าอี้ดังกล่าวนี้สามารถพับเก็บได้ ควรแน่ใจว่า ระบบล็อคต่างๆ ได้ทำงานเต็มที่แล้วเมื่อกางเก้าอี้ออกมา และก่อนที่จะวางลูกบนเก้าอี้นั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันระบบล็อคดีดตัวกลับ และพับเอง ซึ่งจะทำให้หนีบมือ, นิ้วมือ นิ้วเท้าลูกได้
- ถ้าลูกหล่นลงมาจากเก้าอี้สูงฯ ดังกล่าว ควรตรวจเช็คสภาพร่างกายของลูกว่า ยังเป็นปกติดี โดยที่ลูกยังจำพ่อแม่ได้ และร้องไห้ตามสมควร
- ถ้าตามเนื้อตัวลูก ไม่มีเลือดออก ก็สามารถให้ลูกอยู่ที่บ้านได้ และคอยสังเกตอาการผิดปกติของลูก เช่น อาเจียน, นอนไม่หลับรุนแรง และดูท่าลูกจะไม่สบาย
- อย่างไรก็ตาม หากมีบาดแผลเกิดขึ้นกับทารกวัย 6 - 8 เดือน จะยากแก่การสังเกต ฉะนั้น ทางที่ดีจึงควรพาลูกไปพบแพทย์จะดีที่สุด
back
| |
|