Poj
visit our sponsor
visit our sponsor
Ploy
Mirror Site http://www.geocities.com/thaiparents/

















ข่าวสุขภาพ   >
กุมารแพทย์สหรัฐฯ แนะเลิกใช้รถหัดเดินสำหรับเด็ก

สมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ ประกาศเตือนบรรดาผู้ปกครองให้เลิกใช้รถหัดเดินสำหรับเด็กเป็นการถาวร

โดยระบุว่า รถหัดเดิน (Baby walker) ก่อให้เกิดความเสี่ยงในอันที่เด็กจะได้รับ บาดเจ็บ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตได้พยายามออกแบบรถหัดเดินใหม่ เพื่อป้องกันรถหัด เดินล้มคว่ำหรือเด็กไถรถหัดเดินจนตกบันได ยิ่งไปกว่านั้น ทางสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ ระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานประกอบแน่ชัดที่รับรองว่า รถหัดเดินมีประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็กอย่างแท้จริง

ดร.แกรี่ สมิทธิ์ หนึ่งในสมาชิกสมาคมกุมารแพทย์เปิดเผยว่า ขณะนี้กุมาร แพทย์ทุกคนยังคงเดินหน้าเตือนพ่อแม่ผู้ปกครองถึงอันตรายจากรถหัดเดิน เพราะเป็นเวลาหลายปีแล้วที่เห็น เด็กได้รับบาดเจ็บสาเหตุเนื่องมาจากรถหัดเดินดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า พ่อแม่ร้อยละ 55 - 92ให้ลูกใช้ รถหัดเดิน และส่วนมากเด็กจะอยู่ในวัยระหว่าง 5 - 15 เดือน

ปี 1996 ทางองค์กรตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องอุปโภคต่างๆของสหรัฐฯ ได้ออกหนังสือทบทวนมาตรฐาน ของรถหัดเดินสำหรับเด็ก โดยหลังเดือนกค. 1997เป็นต้นไป บริษัทผู้ผลิตรถหัดเดินต้องประกอบรถหัดเดิน ทุกคันให้มีฐานล้อกว้างอย่างน้อย 36 นิ้ว กว้างพอที่จะป้องกันเด็กไถรถหัดเดินลอดผ่านประตูทั่วไปออกไปได้ หรือมิฉะนั้นต้องมีระบบเบรคอัตโนมัติให้รถหัดเดินหยุดกระทันหัน ถ้าล้อหนึ่งหรือสองข้างอยู่ริมขอบขั้นบันได

ช่วงปี 1995 เป็นต้นมา มีของเล่นเด็กอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า Activity Centre เป็นอุปกรณ์ที่คล้ายรถหัดเดิน แต่ว่าเคลื่อนที่ไม่ได้ ต้องตั้งอยู่กับที่ เด็กสามารถเล่นอยู่ในนั้นได้ ไม่ว่าจะหมุนตัว กระโดด ไขว่คว้าของเล่นกรุ๋งกริ๋งที่ติดตั้งอยู่ในนั้น โยกหน้าโยกหลังได้ อุปกรณ์นี้สร้างความสนุกสนานให้เด็ก และทำให้เด็กแอคทีฟโดยไม่ต้องเสี่ยงกับการเคลื่อนที่โดยเด็กไม่สามารถควบคุมความเร็วได้

ดร.สมิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการบาดเจ็บแห่งรพ.เด็กในเมืองโคลัมบัส อเมริกา เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่าจำนวนตัวเลขที่เด็กบาดเจ็บโดยสาเหตุเนื่องจากรถหัดเดินจะลดน้อยลงแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจ วางใจได้ในการให้เด็กใช้รถหัดเดินต่อไป

ในปี 1995 ตัวเลขของเด็กอายุต่ำกว่า 15 เดือนได้รับอุบัติเหตุจากรถหัดเดินมีจำนวน 20,100 ราย ในปี 1999 มีเด็กบาดเจ็บจำนวน 8,800 ราย ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 56 แต่การลดจำนวนลงนี้อาจมีสาเหตุมาจากพ่อแม่หันมาใช้ Activity Centre มากขึ้นก็ได้และรถหัดเดินเองได้รับการออกแบบใหม่ให้ปลอดภัยขึ้น

อย่างไรก็ตามในปี 1999 มีรายงานจากวารสารกุมารแพทย์สาขาพัฒนาการและ พฤติกรรมของเด็กยืนยันถึงการที่กุมารแพทย์หลายรายมีข้อสงสัยว่ารถหัดเดินมีผลดีต่อพัฒนาการเด็กจริงหรือไม่ คณะนักวิจัยพบว่า รถหัดเดินไม่ได้ช่วยเด็กหัดเดินหรือเดินได้เร็วขึ้น แต่กลับทำให้พัฒนาการโดยทั่วไปของเด็ก ช้าลงเสียด้วยซ้ำ นอกจากนั้นมีหลักฐานแน่ชัดยืนยันว่า อุปกรณ์ชิ้นนี้ทำให้เด็กเคลื่อนที่เร็วเกินกว่าที่เด็กจะควบคุม ได้ทัน โดยพบว่าเด็กไถรถหัดเดินได้เร็วถึง 4 ฟุตต่อ 1วินาทีทีเดียว

คุณหมอแกรี่ สมิทธิ์ เปิดเผยต่อไปว่า เมื่อพ่อแม่พาลูกที่ได้รับบาดเจ็บมาหาหมอมัก จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่น่าเชื่อว่าลูกจะได้รับบาดเจ็บ ทั้งๆ ที่นั่งดูลูกเล่นไถรถหัดเดินอยู่ตรงหน้าแท้ๆ และ ไม่สามารถช่วยลูกได้ทันท่วงทีเมื่อรถหัดเดินล้มคว่ำหรือพลิกตกบันได ทางรพ.ดังกล่าวได้สำรวจอุบัติเหตุจากรถ หัดเดินจำนวน 271 ราย ระหว่างปี 1993 - 1996 พบว่า ร้อยละ 78 ของอุบัติเหตุเหล่านี้ เกิดขึ้นขณะอยู่ในสาย ตาของผู้ใหญ่ตลอดเวลา

ดังนั้น จึงมีข้อพึงตระหนักเกี่ยวกับปัญหาของการใช้รถหัดเดินเหล่านี้ว่า:-

  • การที่เด็กนั่งรถหัดเดินทำให้ยกตัวเด็กสูงขึ้นจากพื้น ดังนั้นโอกาสที่เด็กจะคว้า หรือหยิบฉวยข้าวของ ให้หล่นจากโต๊ะโดยไม่ตั้งใจจึงเป็นไปได้ง่ายและอาจเกิดอันตรายด้วย เช่น ถ้วยกาแฟร้อน, สายไฟจากปลั๊กกา ต้มน้ำฯ ซึ่งรถหัดเดินรุ่นใหม่ ยังไม่มีการออกแบบเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้นได้
  • ประตูห้อง หรือประตูบ้านบางแห่งยังกว้างเกิน 36 นิ้ว ซึ่งไม่อาจป้องกันไม่ให้เด็กไถรถหัดเดินออกนอก ประตูไปโดยไม่ตั้งใจ
  • บางรายอาจได้รับรถหัดเดินมาจากญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงที่เก็บไว้นานแล้ว และนำมาให้ลูกนั่งโดย ไม่คำนึงว่า รถหัดเดินรุ่นเก่าๆ นั้นไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยเหมือนรุ่นปัจจุบัน


คำแนะนำบางประการที่อาจเป็นประโยชน์แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั่วไป

  1. กำจัดรถหัดเดินไปเสีย อย่าเสียดายเลยถ้าเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุแก่ลูกน้อย ไม่ต้องยกให้คน อื่น หรือเอาไปขายต่อ เพราะคนอื่นอาจนำไปให้เด็กนั่ง และเกิดอุบัติเหตุแก่เด็กได้
  2. แต่ถ้ายังยืนยันที่จะให้ลูกเล่นรถหัดเดินต่อไป ก็เลือกซื้อรถหัดเดินรุ่นล่าสุด และศึกษาอุปกรณ์ของรถหัด เดินว่าออกแบบมาได้มาตรฐานความปลอดภัย เหมาะแก่การใช้ในบ้านของเราหรือไม่
  3. หันมาให้ลูกเล่น อุปกรณ์ที่คล้ายรถหัดเดิน แต่เคลื่อนที่ไม่ได้จะดีกว่า เช่น Activity centre จะ ปลอดภัยกว่า เพราะไม่มีล้อ
  4. ถ้าปล่อยลูกไว้ให้คนอื่นดูแล เช่นพี่เลี้ยง หรือญาติพี่น้อง ควรบอกให้ทราบว่า ไม่ให้ลูกนั่งรถหัดเดิน



back





มุมการกุศล : Charity area


Email Login
Password
New users
sign up!
Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved