Poj
Ploy













แบบที่ 1
ชีวิตและสุขภาพ


เข็มขัดนิรภัย




"เข็มขัดนิรภัย" เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ฉุดรั้งตัวผู้ขับขี่รถยนต์และผู้ โดยสารไว้กับที่นั่ง เพื่อป้องกันอวัยวะต่างๆ กระแทกกับส่วนต่างๆ ของรถ หรือป้องกันการพุ่งออกนอกรถกรณีเกิดอุบัติเหตุ

การที่ ผู้ขับขี่กระเด็นออกจากตัวถังรถจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าการไม่ กระเด็นออกไปถึง 6 เท่า


ชนิดของเข็มขัดนิรภัย มี 2 ชนิด คือ

1. ชนิดสายรัดหน้าตัก (แบบ 2 จุด) รัดบริเวณโคนขาพาดผ่านกระดูก เชิงกรานใช้สำหรับที่นั่งเบาะหลัง

2. ชนิดสายรัดต่อเนื่อง (แบบ 3 จุด) รัดโคนขาพาดผ่านกระดูกเชิงกราน และ พาดเฉียงผ่านหน้าอกและกระดูกไหปลาร้า ใช้สำหรับที่นั่งเบาะหน้า



การรัดเข็มขัดนิรภัยที่ถูกวิธี

ชนิดสายรัดหน้าตัก (แบบ 2 จุด)

1. ทาบสายรัดบริเวณโคนขาพาดไปบนกระดูกเชิงกราน เนื่องจากกระดูก เชิงกรานสามารถรับแรงกระแทกได้ถึง 1 ตัน

2. ตรึงให้แน่น

3. อย่ารัดบนช่องท้องเด็ดขาด


ชนิดสายรัดต่อเนื่อง (แบบ 3 จุด)

1. ทาบสายรัดบริเวณโคนขาพาดไปบนกระดูกเชิงกราน ส่วนที่ทาบกับหัว ไหล่ให้พาดเฉียงผ่านหน้าอก และกระดูกไหปลาร้า ไปยังด้านตรงข้าม

2. ตรึงให้แน่น

3. อย่าพาดสายรัดชิดลำคอ

4. อย่าพาดสายรัดส่วนบนไว้ใต้แขน เนื่องจากอาจทำให้กระดูกซี่โครงหักได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ



ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุที่ไม่ใช้เข็มขัดนิรภัย
ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากสาเหตุ ดังนี้

1. ศีรษะกระแทกกระจก และทะลุออกนอกรถ
2. หน้าอกกระแทกกับพวงมาลัย
3. คอหักจากการที่ศีรษะถูกกระแทกกลับอย่างแรง
4. การถูกเหวี่ยงกระเด็นออกนอกตัวถังรถ



การใช้เข็มขัดนิรภัย ไม่ได้เป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
แต่เป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยลง



การใช้เข็มขัดนิรภัย สำหรับหญิงตั้งครรภ์

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หญิงตั้งครรภ์อาจได้รับบาดเจ็บ อาการสาหัสหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งจะทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้เช่นกัน การรัดเข็มขัดนิรภัยจะช่วย ให้ได้รับบาดเจ็บน้อยลงหรือไม่บาดเจ็บเลย ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ควรรัด เข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่โดยสาร หรือขับรถยนต์ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ แม้ขณะเดินทางไปคลอดบุตรที่โรงพยาบาล


การรัดเข็มขัดนิรภัยในหญิงตั้งครรภ์ ควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

1. ควรเลือกใช้เข็มขัดนิรภัยชนิดสายรัดต่อเนื่อง (แบบ 3 จุด)

2. สายรัดที่ทาบผ่านโคนขาทั้งสองข้าง ต้องอยู่ต่ำกว่าครรภ์ และให้อยู่ห่าง จากสะโพกมากที่สุด ส่วนที่ทาบกับหัวไหล่ให้พาดผ่านตำแหน่งของกระดูก ไหปลาร้าผ่านระหว่างกึ่งกลางหน้าอกตรงกระดูกลิ้นปี่

3. ปรับเข็มขัดให้แน่นพอสมควร และรู้สึกสบาย

4. อย่าคาดสายรัดผ่านหน้าท้องโดยเด็ดขาด



การใช้เข็มขัดนิรภัยสำหรับเด็ก

การเดินทางโดยรถยนต์ที่ต้องนำเด็กไปด้วย ควรอุ้มเด็กนั่งอยู่เบาะด้านหลัง หรือให้นั่งบนเบาะที่รองนั่งเด็กพร้อมทั้งรัดด้วยเข็มขัดนิรภัยให้ติดแน่นกับ เบาะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ และสามารถลดความรุนแรงเมื่อเกิด อุบัติเหตุ




ข้อมูล: เอกสารพิมพ์เผยแพร่ เรื่อง "เข็มขัดนิรภัย" โดยสถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและ สาธารณภัย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โทร: (02) 590-6228, 590-6231, 590-6232


back






มุมการกุศล : Charity area


Email Login
Password
New users
sign up!




แบบที่2
Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved