- เครื่องปรับอากาศ
- ขับรถตอนกลางคืน
อาหารการกินระหว่างตั้งครรภ์


1. ต้องเปลี่ยนนิสัยในการรับประทานอาหารมั้ย

2. การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นอย่างไร

3. อาหารหลัก 5 หมู่ประกอบด้วยอะไรบ้าง

4. ทำไมคาร์โบไฮเดรตจึงมีความสำคัญ

5. ทำไมอาหารที่มีกากใย (Fibre) จึงมีความสำคัญ

6. ทำไมการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปจึงไม่ดีต่อร่างกาย

7. ร่างกายต้องการโปรตีนจำนวนเท่าไหร่ต่อวัน

8. ส่วนวิตามินและเกลือแร่ล่ะ ร่างกายต้องการมากน้อยแค่ไหน

9. อาหารชนิดใดบ้างที่เป็นแหล่งรวมวิตามิน

10. ทำไมแคลเซียมจึงมีความสำคัญต่อร่างกายมาก

11. บทบาทของธาตุเหล็กในระหว่างการตั้งครรภ์

12. แล้วธาตุสังกะสีล่ะ สำคัญอย่างไร

13. ทำไม Folic Acid (กรดโฟลิก) และวิตามิน B12 จึงมีความสำคัญมากเช่นกัน

14. จะทราบได้อย่างไรว่าน้ำหนักขึ้นตามปกติ

15. การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ มื้อเดียวต่อวันจะเป็นการเพียงพอมั้ย

16. เป็นเรื่องปรกติมั้ย ที่จะอยากทานอาหารชนิดหนึ่งชนิดใดมากเป็นพิเศษ

17. ถ้าเป็นมังสะวิรัติ ต้องทานวิตามินเสริมมั้ย



ต้องเปลี่ยนนิสัยในการรับประทานอาหารมั้ย

ถ้าคุณรับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เป็นนิสัยอยู่แล้ว เพียงแต่ อาหารนั้นจะต้องทำให้สุกดีเสียก่อนก็ไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงอะไร ถ้าคุณมีข้อสงสัยส่วนตัวที่คุณ ต้องการทราบเกี่ยวกับอาหารที่คุณทานเนื่อง จากปัญหาทางสุขภาพ ควรสอบถามจากคุณ หมอที่iคุณฝากครรภ์ด้วย
Back


การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นอย่างไร

ไม่มีอาหารชนิดหนึ่งชนิดใดที่มีสารอาหารครบถ้วน ทุกชนิดที่เราต้องการเพื่อการมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ฉะนั้นเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน เราจึงต้องรับ ประทานอาหารหลากหลายชนิดทุกวัน จากอาหาร หลัก 5 ประเภท (ซึ่งประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน, วิตามิน และเกลือแร่) Back


อาหารหลัก 5 หมู่ประกอบด้วยอะไรบ้าง

คาร์โบไฮเดรต - ข้าว, ข้าวซ้อมมือ, ข้าวกล้อง, ข้าวโพด, ขนมปัง, ขนมปังธัญพืช, ก๋วยเตี๋ยว, ถั่วแดง, เผือก, มัน, มันฝรั่ง, ปาสต้า, และคอร์นเฟลกซ์ต่างๆ
โปรตีน - เนื้อสัตว์ทุกชนิด (เนื้อหมู, เนื้อแดง, ไก่, เป็ด), เนื้อปลา, เครื่องใน, ไข่, นม, เนย, ถั่ว, งา, ลูกบัว, เส้นก๋วยเตี๋ยว ที่ทำจากถั่วเหลือง, ขนมปังธัญพืช, และโยเกิร์ต
ไขมัน - ไขมันจำนวนที่เท่ากันกับโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตจะให้แคลอรี่มาก กว่าถึง 2 เท่า ส่วนมากอาหารโปรตีนที่มีไขมันปน อยู่ด้วยเป็นจำนวนที่เพียงพอแล้ว ฉะนั้นจึงไม่จำ เป็นต้องหาจากที่อื่นมาเพิ่ม
วิตามิน - ผลไม้, ผักสดแทบทุกชนิด โดยเฉพาะ ผักกะเฉด, ผักตำลึง, ผักขม, และผักบุ้ง อุดมด้วยวิตามินหลาย ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ นอกจากนั้นยังมีในเนื้อสัตว์, ปลา, นมและถั่ว
เกลือแร่ - เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายต้องการเกลือแร่โดยเฉพาะเหล็กและแคลเซียมมาก เป็นพิเศษ เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ( เม็ดเลือดแดง และ กระดูก )
ธาตุเหล็ก: มีในอาหารพวกเนื้อแดง, เนื้อปลา, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, ใบขี้เหล็ก, ใบตำลึง, ใบชะพลู, เส้นหมี่, น้ำตาลมะพร้าว, ไข่แดง, ใบกระเพรา, ใบคึ่นช่าย, งาดำ, งาขาว, และชะอม
แคลเซียม: นม, ผักสีเขียว, ผลิตภัณฑ์จากถั่ว, ปลาไส้ตัน, กุ้ง, เผือก, มัน, และเมล็ดทานตะวัน

นอกจากนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ น้ำดื่มบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำผล ไม้ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นขึ้นด้วยค่ะ Back


ทำไมคาร์โบไฮเดรตจึงมีความสำคัญ

อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตทำให้ร่างกายมีพลังงานแล้วยังเป็นแหล่ง อาหารสำคัญสำหรับอาหารกากใย (Fiber) ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น คุณแม่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากปรกติประมาณ 500 แคลอรี่
แหล่งอาหารสำคัญของคาร์โบไฮเดรตคือ อาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าวสวย, ก๋วยเตี๋ยว, ถั่วแดง, มันฝรั่ง, ขนมปัง, เผือก, งา, ถั่ว และพวกคอร์นเฟล็กซ์ต่างๆ โดยเฉพาะข้าวซ้อมมือ, ข้าวกล้อง, ขนมปังธัญพืช เป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง เพราะให้ทั้งพลังงาน วิตามิน เกลือแร่และกากใย
ข้าว, ขนมปังและมันฝรั่งเป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับ ทำให้เรามีสุขภาพดีมานานชั่วอายุคน แต่โชคร้ายที่ปัจจุบัน อาหารเหล่านี้ถูกเข้าใจว่าทำให้อ้วน อันที่จริงเจ้าตัวการที่ทำให้อ้วน คือไขมัน เนย, ครีม, น้ำตาล และซอสต่างๆ ที่เรานำมา ใส่เพื่อปรุงอาหารต่างหาก อย่าสับสนว่าอาหารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรตคือ ขนมเค๊ก, คุกกี้ และขนมปังกรอบต่างๆ สิ่งเหล่านี้มีไขมันแอบแฝงอยู่ โดยเฉพาะครีมและ น้ำตาล การทานบ่อยๆในจำนวนมากๆ ต่างหากที่ทำให้อ้วนได้ Back


ทำไมอาหารที่มีกากใย (Fiber) จึงมีความสำคัญ

อาหารที่มีกากใยช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้รวดเร็วขึ้น และช่วยป้องกันโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) ถ้าในแต่ละวันคุณรับประทานผลไม้, ผัก และ ขนมปังธัญพืช คุณก็จะได้รับกากใย (Fiber) เพียงพอ Back


ทำไมการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปจึงไม่ดีต่อ ร่างกาย

การทานอาหารที่มีไขมันเพียงเล็กน้อยมี ความสำคัญต่อร่างกาย แต่ถ้า ทานไขมันชนิดอิ่มตัว (Saturated fat ) มากเกินไปจะทำให้มีโอกาส เป็นโรคหัวใจ, มะเร็งบางชนิด และปัญหาอื่นๆ จะตามมา ไขมันนั้นเป็นแหล่งสร้างพลังงาน จึงหมายความว่ามีแคลลอรี่สูง และนำไปสู่การมีน้ำหนักมาก ไขมันชนิดอิ่มตัว คือ ครีม, เนย, น้ำมันปาล์ม และ กากหมู ส่วนไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ( unsaturated fat ) คือ น้ำมันเมล็ดทานตะวัน, ข้าวโพด, น้ำมันมะกอก และ น้ำมันถั่วเหลือง Back


ร่างกายต้องการโปรตีนจำนวนเท่าไหร่ต่อวัน

เราต้องการโปรตีนเพื่อความเจริญเติบโตและซ่อมแซม เนื้อเยื่อของร่างกาย รวมทั้งผลิตฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจนในเลือดไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ผู้หญิงเราปกติต้อง การโปรตีน 36-45 กรัมต่อวันโดยเฉลี่ย ส่วนผู้หญิงตั้ง ครรภ์ต้องการโปรตีนมากกว่าผู้หญิงปกติ 6 กรัมต่อวัน คือประมาณ 42 - 51 กรัม ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่ทำ งานโดยใช้พลังงานเท่าไหร่ด้วย

ตัวอย่างจำนวนโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน

เนื้อแดง 100 กรัม ให้โปรตีนจำนวน 27 กรัม
นม 1 แก้ว ให้โปรตีนจำนวน 6 กรัม
ไข่ 1 ฟอง ให้โปรตีนจำนวน 6 กรัม
เนื้อปลา 85 กรัม ให้โปรตีนจำนวน 19 กรัม
ถั่ว 120 กรัม ให้โปรตีนจำนวน 6 - 9 กรัม
Back


ส่วนวิตามินและเกลือแร่ล่ะ ร่างกายต้องการมากน้อยแค่ไหน

ถึงแม้ว่าวิตามินมีความจำเป็นต่อสุขภาพของคุณแม่ ขณะที่ร่างกายของเราเอง ก็ได้วิตามินจำนวนหนึ่งที่มีอยู่ในอาหารส่วนใหญ่และก็ยังเก็บสะสมวิตามินบาง ชนิดได้ เช่น วิตามิน A, D และ B12 ฯ แต่ก็มีเหตุผลทางการแพทย์บ่งชี้ว่า ร่างกายเราไม่สามารถดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายอย่างจากอาหารที่เรา รับประทานได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้เรารับประทานวิตามิน และธาตุเหล็กเสริม อย่างไรก็ตามวิตามินและแร่ธาตุสามารถเป็นโทษต่อร่างกายได้ ฉะนั้นอย่าซื้อวิตามินเสริมมารับประทานเองยกเว้นคุณหมอจะเป็นผู้สั่งให้
Back


อาหารชนิดใดบ้างที่เป็นแหล่งรวมวิตามิน

วิตามิน A: ไข่แดง, นมสด, เนย,ชีส, น้ำมันตับปลา, เครื่องในสัตว์, ผักใบเขียว/ใบเหลือง และผักสีส้ม, ผลไม้
วิตามินกรุ๊ป B ทั้งหลาย (B1, B2, B3, B5, B6): ไก่, เนื้อวัว, ปลา, ปลาทู, นม, ไข่, Cereal, ขนมปัง, ยีสต์, ถั่วลันเตา, ถั่วแขก, ถั่วแดง, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ข้าวซ้อมมือ, อาหารธัญพืช, , ผักใบเขียว, , เครื่องในสัตว์, เห็ด, มะเขือเทศ,
วิตามิน B12: วิตามินสำคัญชนิดนี้ไม่พบในอาหาร ที่มาจากพืช จะมีในเนื้อสัตว์, เครื่องในสัตว์, เนื้อปลา, นม, ไข่ วิตามินนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ คุณแม่ที่ไม่ทานเนื้อ, นม หรือไข่สามารถได้รับวิตามิน B12 โดยการทานอาหาร ที่ผลิตจาก yeast (เช่น Marmite) หรือวิตามินเสริม
วิตามิน C: ผลไม้และผักต่างๆ โดยเฉพาะผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม, น้ำมะนาว, มะเขือเทศ, มะขามป้อม ฝรั่ง, และ มันเทศ
วิตามิน D: น้ำมันปลา, ปลา, เนย, นมสด, และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากนมสด, ไข่แดง, Cereal วิตามิน D ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม Back


ทำไมแคลเซียมจึงมีความสำคัญต่อร่างกายมาก

แคลเซียมจำเป็นต่อการสร้างกระดูก และฟันของทารกในครรภ์ ผู้หญิงโดยทั่วไปอายุ 19 ปีขึ้นไป โดยปกติควรได้รับแคลเซียม 527-700 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนเด็กผู้หญิงวัยรุ่นอายุ 11-18 ปีควรได้รับ 625-800 มิลลิกรัมต่อวัน คุณแม่ควรรับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียมอย่างเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์ แหล่งอาหารที่มีแคลเซียมได้แก่ นม, และเนยแข็ง นมสด 1 ไปน์มีแคลเซียม 673 มิลลิกรัม และนมสดพร่องมันเนย (Semi-skimmed milk) มีแคลเซียม 706 มิลลิกรัม นอกจากนั้นยังมีใน ปลาไส้ตัน, ปลากรอบต่างๆ, ผลิตภัณฑ์จากถั่ว, กุ้ง, ผักใบเขียว, ไข่, เม็ดอัลมอนด์, งา คุณอาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอ รับวิตามินเสริมที่มีแคลเซียมได้ หากว่าปกติคุณไม่ได้รับ ประทานอาหารพวกนี้ แต่คุณควรรับประทานไข่เป็นประจำ เพราะวิตามิน D ที่มีอยู่ในไข่จะช่วยให้การดูดซึมของแคลเซียมดีขึ้น Back


บทบาทของธาตุเหล็กในระหว่างการตั้งครรภ์

ธาตุเหล็กมีความจำเป็นต่อฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญในเม็ดเลือดแดง โดยเป็นตัวพาออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อและทารกในครรภ์ ถ้าร่างกายคุณมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะนำไปสู่การเป็นโรคโลหิตจาง (Anemia) ซึ่งทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หายใจไม่สะดวก
ผู้หญิงอายุ 11 - 49 ปีควรได้รับธาตุเหล็ก 11.4 - 14.8 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ถ้าคุณมีประจำเดือนมามากในแต่ละเดือน ควรได้รับธาตุเหล็กมากกว่านั้น บางคนอาจทานวิตามินเหล็ก เสริมระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งในการตรวจเลือดระหว่างการ ฝากครรภ์จะสามารถบอกได้ว่าจำเป็นแค่ไหน การได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปอาจทำให้เกิดโทษได้ เหมือนกัน ฉะนั้นอย่าทาน วิตามินเหล็กเสริมเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน และควรเก็บยาเหล่านี้ให้พ้นมือเด็ก ธาตุเหล็กมีในสารอาหารเหล่านี้: เนื้อแดง, เนื้อปลา, ไข่, ผักใบเขียว เช่น ใบขี้เหล็ก, ใบตำลึง, ใบชะพลู, ผักขม, ถั่ว, เส้นหมี่, น้ำตาลมะพร้าว และผลไม้อบแห้งทั่วไป วิตามิน C จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ง่ายขึ้น Back


แล้วธาตุสังกะสีล่ะ สำคัญอย่างไร

ธาตุสังกะสีมีความจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูก, ระบบของประสาทและสมองของทารก ธาตุสังกะสีมักจะมีในเนื้อแดง, เนื้อปลา, ปลาหมึก, ปลากระป๋อง, หอยนางรม และอาหารทะเลอื่นๆ, ไข่, ถั่ว และเนยแข็ง Back


ทำไม Folic Acid (กรดโฟลิก) และวิตามิน B12 จึงมีความสำคัญมากเช่นกัน

การได้รับ Folic Acid ในจำนวนที่เหมาะสม มีความสำคัญตลอดระยะเวลาที่คุณตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เมื่ออวัยวะ ของตัวอ่อนกำลังฟอร์มตัวเป็นรูปร่าง จากการวิจัยและศึกษาพบว่า เป็นการช่วยป้องกัน ไม่ให้ทารกพิการเมื่อแรกคลอด เช่น เป็นโรคSpina Bifida (กระดูกสันหลังไม่ปิด) ถ้าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์นั้นได้รับ Folic Acid จำนวน 0.4 - 0.5 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลาหลายเดือน ก่อนการตั้งครรภ์ จนถึงระยะอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ดังนั้น ทางหนึ่งที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรค Spina Bifida เป็นครั้งแรกในครอบครัว จึงควรทาน Folic Acid จำนวน 600 ไมโครกรัม ต่อวันก่อนการตั้งครรภ์ จนถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (1000 ไมโครกรัม = 1 มิลลิกรัม) หรือคุณอาจได้รับคำแนะนำให้ทาน Folic Acid จำนวน 400 ไมโครกรัม (0.4 มิลลิกรัม) และทานอาหารที่มี Folic Acid เพิ่ม เช่น บรอคโคลี่, ผักกาดเขียว, ผักกาดแก้ว, ผักขม, ถั่วลันเตา, มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, ผักกาดหอม, แครอท, ข้าวโพดหวาน, ถั่ว, ปลา, กล้วย, ส้ม, นม, ไข่, ขนมปัง, และข้าวซ้อมมือ จากการศึกษาค้นคว้าเร็วๆ นี้จากมหาวิทยาลัย Trinity แห่งเมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ พบว่าการขาดทั้งวิตามิน B12 และ Folic Acid สามารถเพิ่ม อัตราการเสี่ยงที่ทารกจะเป็นโรค Spina Bifida Back


จะทราบได้อย่างไรว่าน้ำหนักขึ้นตามปกติ

แพทย์สามารถบอกให้คุณทราบได้โดยชั่งน้ำหนักคุณเมื่อคุณ ไปฝากครภภ์ครั้งแรก ปรกติแล้วโดยเฉลี่ยน้ำหนักจะขึ้นประมาณ 11 1/4 - 13 1/2 กก. ตลอดการตั้งครรภ์ ทั้งนี้จะเป็นน้ำหนักของทารกเกือบ 50% Back


การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ มื้อเดียวต่อวันจะเป็นการเพียงพอมั้ย

เป็นการดีถ้าคุณจะรับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน - ในตอนเช้า, เที่ยง และช่วงเย็น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายขาดอาหารนานเกินไป ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกหน้ามืด, วิงเวียนศีรษะได้ ถ้าคุณไม่รู้สึกอยากทานอาหาร คุณสามารถทำแซนด์วิชง่ายๆ ที่มีโปรตีนโดยใส่ชีส, ทูน่า หรือแฮม แล้วทานโยเกิร์ต หรือสลัดผัก หรือซุปร้อนๆ และผลไม้สด ก็จะได้รับสารอาหารเท่ากับอาหารปรุงหนึ่งมื้อ Back


เป็นเรื่องปรกติมั้ย ที่จะอยากทานอาหารชนิดหนึ่งชนิดใดมากเป็นพิเศษ

อาการรู้สึกอยากรับประทานอาหารบางอย่างเป็นพิเศษ เช่นผลไม้ดอง เป็นเรื่องปรกติ ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือบางครั้งอาจอยากดื่มเครื่องดื่มรสซ่า หรือว่ากาแฟ คุณสามารถทานตามความอยากได้ถ้าหากไม่ทำให้คุณท้องอืด แน่น จุกเสียด และในปริมาณที่ไม่มากเกินไป Back


ถ้าเป็นมังสะวิรัติ ต้องทานวิตามินเสริมมั้ย

ถ้าคุณเป็นมังสะวิรัต แต่คุณทานนม, ไข่ ได้ และคุณสามารถทานผักได้หลากหลายชนิด ก็นับว่าเพียงพอแล้ว แต่ถ้าคุณเป็นมังสะวิรัตที่เคร่ง คือไม่ทานไข่, นม ทำให้คุณได้รับแคลเซียมและวิตามิน B12 จำนวนน้อย ทางที่ดีคุณควรอธิบายการรับประทานอาหารของคุณให้แพทย์ทราบเพื่อ ขอคำแนะนำในด้านโภชนาการจะดีกว่า Back


REMEMBER!!

  • พยายามทานอาหารหลากหลายชนิด เพื่อให้ได้สารอาหารครบทุกประเภท
  • ธาตุเหล็กจำนวนมากเกินไปสามารถเป็นพิษต่อร่างกายได้ อย่าทานธาตุเหล็กเสริมเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • ตับเป็นอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะจะได้รับวิตามิน A มากเกินไปจนเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
  • ร่างกายต้องการวิตามินจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ที่พบในอาหารประจำวัน ถ้ารับประทานผักสดเป็นประจำ จะไม่ขาดวิตามินแน่นอน
  • จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า การขาดวิตามิน B12 และกรดโฟลิก (Folic Acid) จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการที่ทารก จะเป็นโรค Spina Bifida (ไขสันหลังไม่ปิด)


  • ขอขอบคุณ นพ.วรายุต สถิตย์เสถียร (พ.บ. ว.ว.- สูตินรีเวช)
    ในความกรุณาให้คำแนะนำและตรวจทาน
    http://www.geocities.com/varayudt/



    visit our sponsor
    visit our sponsor


    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved