Poj
Ploy











เตือนผู้บริโภคเลี่ยงสมุนไพรไร้มาตรฐาน

ผู้จัดการรายวัน - สธ. เตือนประชาชนที่นิยมใช้สมุนไพร ระวังถูกหลอกและตกเป็นเหยื่อ ของผู้ประกอบการที่คิดรวยทางลัด แนะเทคนิคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้มาตรฐาน ควรดูเครื่องหมาย อ.ย. เป็นหลัก และยึดหลัก 5 ถ. ในการใช้สมุนไพรให้ได้ผล

น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระแส ความนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรธรรมชาติกำลังมาแรง ทำให้มีผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรชนิด ต่างๆ วางขายตามท้องตลาดให้ประชาชนได้เลือกซื้อเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปของอาหาร ยา เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง

ดังนั้น ทำให้บุคคลบางกลุ่มหวังผลกำไร และคิดรวยทางลัด ฉวยโอกาสทำผลิตภัณฑ์ สมุนไพรที่ไม่ได้คุณภาพและมีมาตรฐานความปลอดภัยออกมาจำหน่าย ที่สำคัญคือ ไม่ได้ ผ่านการจดทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ซึ่งความไม่รับผิด ชอบของคนบางกลุ่มนี้ สร้างความสับสนให้กับประชาชนผู้สนใจสมุนไพรมาก

ในฐานะที่กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ดูแลสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภค จึงขอแนะวิธีการ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังนี้คือ

1 เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการจดทะเบียนจาก อ.ย. ให้ถูกต้อง หรือดูที่เครื่องหมาย อ.ย. เป็นหลัก
2 มี วัน เดือน ปี ที่ผลิตและวันหมดอายุ ระบุที่ตั้งของผู้ผลิตให้ชัดเจน
3 ให้สังเกตการบรรจุหีบห่อโดยกล่อง หรือภาชนะที่บรรจุต้องสะอาด ได้มาตรฐาน ไม่บุบ รั่ว ไม่มีเชื้อรา

ทั้งนี้ หากสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หรือกรณีพบการโฆษณา ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ และไม่แน่ใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์แท้หรือปลอม ก่อนตัดสินซื้อ ควรตรวจสอบจากผู้รู้แพทย์แผนไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อน หรือสอบถามจาก เพื่อนสมาชิกในชุมชน ผู้มีอาชีพด้านยาที่ถูกกฎหมายซึ่งบุคคลเหล่านี้จะไม่ปิดบังการรักษา

ทางด้านพ.ญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทยกล่าวว่า แม้ ในปัจจุบันการใช้สมุนไพรเพื่อที่จะดูแลรักษาโรคจะปลอดภัยกว่ายาประเภทอื่นก็ตาม แต่ การเลือก หรือปรุงยาสมุนไพรใช้เองในครอบครัวก็ควรระมัดระวังใช้ให้ถูกต้อง เนื่องจาก บางคนอาจจะแพ้ได้ โดยให้ประชาชนยึดหลัก 5 ถ. ในการพิจารณาคือ

1 ใช้ให้ถูกต้น - เนื่องจากสมุนไพรบางชนิดมีชื่อเรียกต่างกันในแต่ละภาค/ท้องถิ่น ต้น เหมือนกัน ดังนั้น ก่อนใช้ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น หมอแผนโบราณ หมอพื้นบ้าน

2 ใช้ให้ถูกส่วน - เพราะพืชสมุนไพรแต่ละชนิดตามตำรา หรือหมอพื้นบ้านใช้ส่วนที่มาทำ เป็นยาไม่เหมือนกัน เช่น ตำราบอกให้ใช้ราก ใช้ใบ ใช้ดอก ใช้ผล ต้องใช้ให้ตรงกัน เพราะฤทธิ์ทางยาในส่วนต่างๆ ของสมุนไพรไม่เหมือนกัน

3 ใช้ให้ถูกขนาด - ตามที่ระบุไว้ในตำราให้ถูกต้อง เช่น หนักกี่บาท หนักกี่กรัม เพราะหาก ขนาดยามาไปอาจเป็นอันตราย น้อยไปก็ทำให้รักษาไม่ได้ผล

4 ใช้ให้ถูกวิธี - เช่น ตามตำราระบุไว้ให้ใช้สด ต้ม ดองเหล้า ชง ใช้สกัดน้ำมัน ให้ทำเป็น ขี้ผึ้ง ให้ทำเป็นลูกกลอน พอก ก็ต้องใช้ตามนั้น

5 ใช้ให้ถูกโรค - อาทิเช่น เป็นไข้ก็ใช้ยาแก้ไข ท้องเสียใช้ยาสมุนไพรมีรสฝาด ท้องผูกใช้ สมุนไพรที่ระบาย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ถ้าพบเห็นว่า มีการโฆษณาชวนเชื่อสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาได้หลายๆ โรค ในตำรับเดียวกัน หรือมีการโฆษณาเกินจริง ควรแจ้งที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั่วประเทศ หรือสถาบันการแพทย์แผนไทย
โทร 590-6268, 591-8268 หรือ สายด่วนผู้บริโภค อ.ย. โทร 1556


ข้อมูล: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

อ่านข่าวอื่นประจำสัปดาห์นี้

  • คาเฟอีนอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • สถานที่ทำงานทำให้เกิดความเครียด
  • เตือนผู้บริโภคเลี่ยงสมุนไพรไร้มาตรฐาน
  • ระวังข้อเอ็นไก่ หมูบด เนื้อแดดเดียว อ.ย.พบสารร้าย "บอแรกซ์" เจือปน



    ข่าวสุขภาพ



    มุมการกุศล : Charity area







    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved