Poj
visit our sponsor
กรุณาสนับสนุนสปอนเซอร์ของเรา
Ploy









- เครื่องปรับอากาศ
- ขับรถตอนกลางคืน
สอนลูกรักให้ช่วยงานบ้าน

การสอนลูกรักให้รู้จักช่วยงานบ้านแม้ว่าจะเป็นงานเล็กๆ น้อยๆ จัดว่าเป็นโอกาสทองในการช่วยให้ลูกเพิ่มความรู้สึกความภาคภูมิใจ และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง นอกจากนั้นยังทำให้ลูกได้ทราบ ว่าตัวเองมีบทบาทในการช่วยเหลือครอบครัวด้วยเหมือนกัน เด็กๆ จะรู้สึกดีและชอบใจเมื่อได้ทราบว่าตัวเองเป็นที่ต้องการของ คุณพ่อคุณแม่ การมอบหมายงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ให้ลูก รู้จักรับผิดชอบเป็นสิ่งที่มีความหมายเพราะเป็นการสื่อสารให้ลูก รู้ว่าคุณพ่อคุณแม่มีความเชื่อมั่นว่าลูกจะสามารถรับผิดชอบ และทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปได้

แต่ถ้าหากว่างานบ้านที่มอบหมายให้ลูกทำนั้น จบลงด้วยความ เลอะเทอะ ปั่นป่วน และลูกทำไม่สำเร็จ คุณแม่อาจรู้สึกอยาก จะจัดการงานนั้นด้วยตัวเอง จะได้จบๆ กันไป เดี๋ยวค่ะ ใจเย็นนิดนึงค่ะ พยายามหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าวก่อนนะคะ ความอดทนของคุณแม่และใช้วิธีแนะนำลูกให้ทำงานนั้นได้สำเร็จ จะเป็นวิธีที่ดีกว่า และได้รับผลตอบแทนต่างกันนะคะ

คำแนะนำในการช่วยให้ลูกๆ สนใจช่วยเหลืองานบ้านคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

  • อย่าดูถูกความสามารถของนักช่วยงานบ้านตัวน้อยนะคะ ให้ลูกตัวจิ๋วๆ พวกนี้ช่วยเก็บของเล่นที่เขาเล่นเกลื่อนบ้านลง ใส่ในตะกร้าเก็บของเล่น, เอาเสื้อผ้าที่จะซักใส่เครื่องซักผ้า (แม้ว่าจะค่อยๆ ใส่ทีละชิ้น ทีละชิ้น), วางช้อนส้อมบนโต๊ะอาหาร เมื่อถึงเวลาทานข้าวเย็น, วางผ้ารองจานข้าว (ถ้าบ้านคุณใช้), จับคู่ถุงเท้าของคุณพ่อที่ซักสะอาดแล้วให้เข้าคู่ (แล้วคุณแม่เป็น คนพับ) เหล่านี้เป็นงานบ้านที่ลูกวัยสองสามขวบสามารถทำได้ค่ะ เมื่อลูกเริ่มเคยชินกับงานเหล่านี้ คุณแม่ค่อยมอบหมายให้เขา ทำงานที่ยากขึ้นไปอีกนิดได้ค่ะเมื่อลูกอายุมากขึ้นกว่านี้อีกสักหน่อย


  • พยายามทำให้เป็นเรื่องที่น่าสนุก เด็กๆ มักรู้สึกสนุกสนาน ในการที่ได้รับมอบหมายให้ทำ "งาน" เหมือนที่ผู้ใหญ่ทำ ดังนั้น ควรชักจูงให้ลูกมีความสนใจในการช่วยคุณทำงานบ้าน แสดงออก ให้ลูกรู้ว่าคุณสนุกและพอใจที่ได้ทำงานบ้านร่วมกับลูกๆ และพูดชม เชยในความพยายามของลูก คุณอาจร้องเพลงที่ลูกชอบด้วยกันกับ ลูก, หรือแต่งเพลงขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับการพับผ้า, คิดท่าเต้นรำใน การกวาดบ้าน หรือแข่งกันทำเตียงกับลูกว่าใครทำเสร็จก่อนกัน ซื้อไม้กวาดขนาดเล็กสำหรับเด็กๆ, ที่พรวนดินสำหรับเด็กๆ ถุงมือ ในการหยิบจับสิ่งสกปรกขนาดเล็กให้ลูกใส่ นอกจากจะทำให้ลูก สนุกสนานแล้วยังช่วยลดความตึงเครียดในเวลาที่ลูกชอบมาแย่ง อุปกรณ์เหล่านี้จากคุณแม่ รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ใหญ่เกินตัว จะทำให้ลูกหกล้มได้


  • อย่าให้สิ่งตอบแทนลูกในการช่วยงานบ้านเป็นเงินทองนะคะ พยายามสื่อสารให้ลูกได้รับรู้ว่าสมาชิกทุกคนในบ้านต่างก็มีหน้า ที่ที่จะต้องช่วยกันทำงานบ้านเพื่อให้บ้านน่าอยู่ และเพื่ออำนวย ความสะดวกให้ทุกคนในบ้าน ถ้าคุณให้เงินเป็นค่าตอบแทนใน การช่วยงานบ้าน คุณจะต้องถูกลูกบีบบังคับให้จ่ายเงินทุกครั้ง เมื่อลูกช่วยงานบ้านในอนาคตเมื่อแกโตขึ้น เก็บ "เงิน" ของคุณ ไว้จ่ายเป็นรางวัลให้ลูกเมื่อทำงานบ้านที่ยากเป็นพิเศษดีกว่า เช่นช่วยเดินสายไฟในบ้านตามจุดที่ต้องการ, ช่วยทาสีรั้ว, ช่วย ติดวอลล์เปเปอร์, หรือช่วยคุณพ่อซ่อมท่อประปา ฯลฯ


  • จัดทีมให้ลูก ถ้าคุณมีลูกมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไปที่พอจะช่วยงาน บ้านได้ ควรจับคู่ให้ลูกทำงานบ้านด้วยกัน เด็กๆ จะรู้สึกสนุกหาก ได้ทำงานกันเป็นคู่หรือมีเพื่อนทำงานนั้นด้วยกัน การที่พี่น้อง ได้ทำงานด้วยกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขปัญหาจะช่วยให้พี่น้อง รักกันด้วยซ้ำไปค่ะ


  • งานบ้านที่ให้ลูกทำ ควรเป็นงานที่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน จัดการทำให้สำเร็จได้โดยง่าย หากมีหลายขั้นตอนลูกจะรู้สึกเบื่อ หน่ายและท้อแท้เสียก่อน จงสังเกตเห็นความพยายามของลูก แม้ว่าผลงานที่ออกมาจะไม่ดีเลิศ เรียบร้อยสมกับที่คุณคิดไว้ จำไว้อย่างนึงนะคะว่า คงต้องใช้ความพยายามอยู่หลายหนทีเดียว กว่าที่ลูกน้อยวัย 5 ขวบของคุณจะเก็บเตียงของเธอได้ดีอย่างนี้ (ดีในสายตาของเธอ แต่อาจยังไม่เนี๊ยบสำหรับคุณ) ให้เวลาลูก หน่อยค่ะ แค่เสนอแนะวิธีและคอยให้กำลังใจแก่ลูกจะดีกว่า ลูกจะได้มีโอกาสเรียนรู้งานนั้น และทำงานนั้นด้วยตัวเอง เก็บ ความอยากช่วยงานลูกไว้ก่อน หากคุณรีบมาจัดการงานนั้นให้เสร็จ คุณนั่นแหละจะเป็นผู้ลดความพยายามในการทำงานของลูกให้น้อยลง


  • เลือกงานบ้านให้ลูกทำแค่ 1-2 อย่างเท่านั้น และอย่าเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา ลูกจะได้ยึดมั่นตั้งใจทำให้สำเร็จ บอกลูกให้ชัดเจนว่า คุณต้องการให้งานเสร็จเมื่อไหร่ หรือลูกควรใช้เวลาเท่าใดในการ ทำงานนี้ และกำหนดวิธีง่ายๆ ไว้ในใจคุณว่าหากลูกทำไม่สำเร็จ ตามเวลาที่กำหนด คุณจะมีคำแนะนำอย่างไร หากคุณจะให้งาน บ้านลูกทำเพิ่มอีกนิหน่อย ควรให้หลังจากที่งานหลักเสร็จไปแล้ว อย่าให้งานลูกมากเกินไป เพราะว่ามีโอกาสเป็นไปได้มากที่ลูกคุณ จะเบื่อหน่ายและล้มเลิกไปเสียก่อน แล้วก็จะเกิดศึกการเอาชนะ กันระหว่างคุณแม่กับคุณลูกอีก


  • ข้อสำคัญ คุณต้องเลือกให้งานบ้านที่เหมาะสมกับวัยของลูกด้วยนะคะ มีหลักง่ายๆ ตามนี้ค่ะ

    สำหรับลูกวัย 2 - 3 ขวบ
  • เก็บของเล่นชิ้นเล็กๆ ใส่ตะกร้าหรือกล่องใส่ของเล่น
  • ช่วยหยิบเสื้อผ้าใส่เครื่องซักผ้า (ชนิดที่เปิดฝาด้านหน้า)
  • วางรองเท้าในที่เก็บรองเท้า
  • วางช้อนส้อมบนโต๊ะอาหาร
  • วางแผ่นรองจากข้าว


  • สำหรับลูกวัย 4 ขวบ
  • แต่งตัวเอง, ใส่กางเกง, ใส่เสื้อ, ใส่เสื้อยืดได้เอง
  • เดินไปหยิบหนังสือพิมพ์, จดหมาย, แผ่นปลิวโฆษณา ร้านค้าที่แจกตามบ้านโดยเสียบไว้ที่ประตูรั้ว
  • วางช้อนส้อม, ผ้าเช็ดปากบนโต๊ะอาหาร
  • ช่วยแบ่งผ้าที่จะซักใส่ตะกร้าสำหรับซักผ้า, พับผ้าเช็ดตัวผืนเล็กๆ


  • สำหรับลูกวัย 5 ขวบ
  • รับโทรศัพท์
  • รินนมสด, น้ำส้มใส่ถ้วยได้
  • เก็บเตียง พับผ้าห่ม ปูผ้าคลุมเตียง
  • ใส่ถุงเท้า รองเท้าเอง โดยเป็นรองเท้าที่มีแถบเหนียวๆ ติดได้ง่าย หรือเป็นกระดุมแป๊ะที่ติดง่าย


  • สำหรับลูกวัย 6 ขวบ
  • ช่วยคุณแม่ทำแซนด์วิชง่ายๆ
  • ถือจานข้าวที่กินแล้วไปวางที่อ่างล้างจานหรือเคาน์เตอร์ในครัว
  • กวาดบ้าน, ปัดฝุ่น
  • ปูเตียงให้ตึง
  • ถอดเสื้อผ้าแล้วใส่ในตะกร้าซักผ้า


  • สำหรับลูกวัย 7 - 9 ขวบ
  • กวาดใบไม้ที่ลานบ้าน
  • จัดโต๊ะอาหารและเก็บโต๊ะอาหารหลังทุกคนทานข้าวเสร็จ
  • ช่วยคุณพ่อล้างรถ


  • สำหรับลูกวัย 10 - 12 ขวบ
  • รับโทรศัพท์และจดข้อความที่ฝากไว้
  • ช่วยทำกับข้าว
  • ปัดกวาด, ดูดฝุ่น จัดห้องนอนตัวเอง
  • เปลี่ยนผ้าปูที่นอน


  • Used with the permissions of the copyright owner. All rights reserved.
    www.parenting-qa.com



    มุมการกุศล : Charity area



    visit our sponsor
    visit our sponsor


    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved