Poj
visit our sponsor
กรุณาสนับสนุนสปอนเซอร์ของเรา
Ploy









- เครื่องปรับอากาศ
- ขับรถตอนกลางคืน
ได้รับเชื้อโรคบ้างแต่เล็ก ช่วยเสริมภูมิ

นักวิจัยแห่ง University of Arizona College of Medicine รายงานลงในวารสาร New England Journal of Medicine ว่า การที่เด็กๆ ได้รับเชื้อโรคจากเด็กคนอื่นๆ บ้างเป็นการดีไม่ว่าจะเป็นจากในบ้านเดียวกัน หรือในสถานรับเลี้ยงเด็ก เพราะจะทำให้เด็กๆ มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าบางครั้งการรับเชื้อจากเด็กคนอื่น จะทำให้เด็กเหล่านี้ป่วย หรือไม่สบายบ้างในตอนเยาว์วัย

โดยคณะนักวิจัยได้ติดตามผลการทดลองกับเด็กจำนวน 1000 คนตั้งแต่แรกเกิด โดยพยายามศึกษาว่าการได้รับเชื้อจากเด็กคนอื่นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการป่วยใน ระยะแรกๆ หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดหรือไม่ จนกระทั่งเด็กเหล่านี้อายุ 13 ขวบ พบว่า เด็กที่เล่นกับเพื่อนมากๆ มีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่มีทีท่าว่าจะ เป็นโรคหอบหืด และน้อยกว่า 20% ที่จะเป็นโรคภูมิแพ้

นักวิจัยระบุว่า ถ้าเด็กได้รับจุลินทรีย์ (microorganisms) มากๆ จะทำให้ระบบ ภูมิคุ้มกันดีขึ้น ถ้าไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะระบุว่า เชื้อนั้นเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งความคิดนี้ตรงกับสถาบันวิจัยในยุโรป โดยทำการศึกษาระยะยาวโดยเปรียบเทียบระหว่างเด็กสวีเดน กับเด็กจาก ประเทศเอสโตเนีย สวีเดนเป็นประเทศที่สะอาด ในขณะที่เอสโตเนียเป็น ประเทศที่ตรงกันข้าม การศึกษาพบว่าจำนวนเด็กเอสโตเนียเพียงครึ่งเดียว ของเด็กสวีเดนที่จะเป็นโรคหอบหืด

ในหลายประเทศมีอัตราประชากรเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการ พัฒนาประเทศให้มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ถูกสุขอนามัยและลดจำนวนคนใน ครอบครัวลง ในทางวิชาการหมายความว่า การที่เด็กได้รับเชื้อโรคบ้างในช่วงต้นๆ ของชีวิต จะเป็นการทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย T-Cell พัฒนาขึ้น ซึ่งเป็น เซลล์ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อสารแพ้ ดังนั้นเด็กที่ได้รับ เชื้อโรคจากเด็กอื่นบ้างร่างกายจะผลิต Th2 cells น้อยลง (ซึ่งหากมีมากอาจก่อ ให้เกิดโรคหอบหืดหรือภูมิแพ้) และผลิต Th1 cells มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ร่างกาย ต่อสู้เชื้อโรคได้ดีขึ้น

ผลการศึกษาในหนูทดลองก็เช่นกัน พบว่าหนูที่ถูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรคมี Th2 มากขึ้น

Posted: 27 August 2000



มุมการกุศล : Charity area





visit our sponsor
visit our sponsor


Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved