Poj
visit our sponsor
กรุณาสนับสนุนสปอนเซอร์ของเรา
Ploy









- เครื่องปรับอากาศ
- ขับรถตอนกลางคืน
เมื่อซื้อของเล่นให้ลูกน้อย

เมื่อซื้อของเล่นให้ลูก

  1. ควรเลือกของเล่นด้วยความระมัดระวัง และนึกอยู่เสมอว่าลูกเราอายุเท่าไหร่ ลูก สนใจอะไร และทักษะในการเล่นของลูกเป็นแบบไหน
  2. ควรมองหาของเล่นที่มีการออกแบบมาเป็นอย่างดี มีคุณภาพ รวมทั้งรูปแบบ ส่วน ประกอบของเล่นแต่ละชนิดว่าเหมาะสมสำหรับเด็กอายุเท่าไหร่
  3. ควรแน่ใจว่าเอกสารอธิบายการเล่น หรือคำแนะนำที่มากับของเล่นแต่ละชิ้นนั้น คุณพ่อคุณแม่อ่านแล้วเข้าใจดี และอ่านเข้าใจง่ายหรือไม่ และที่สำคัญเหมาะสมกับลูก เราหรือไม่ กระดาษพลาสติคที่ห่อของเล่น เมื่อแกะแล้ว คุณควรเก็บทิ้งให้พ้นมือลูก ทันที ก่อนที่ลูกจะนำมาเล่น เพราะเมื่อคุณจะแย่งจากมือลูกเพื่อนำไปทิ้ง - ลูกก็จะร้อง โวยวาย ไม่ยอม
  4. ควรทำตัวเป็นนักอ่านคำระบุไว้ที่กล่องของเล่นอยู่เสมอ ดูสัญลักษณ์, เครื่องหมาย แนะนำว่าเหมาะสมกับเด็กอายุเท่าไหร่ เช่น ถ้าระบุว่า "ไม่แนะนำสำหรับเด็กอายุต่ำ กว่า 3 ขวบ" ก็ไม่ควรเสียเงินซื้อมาให้ลูกอายุ 2 ขวบกว่าเล่น นอกจากนั้นดูสัญลักษณ์ อื่นๆ ด้วยเช่น "มีคุณสมบัติติดไฟง่าย" สำหรับวัสดุอุปกรณ์ของเล่นที่เป็นผ้า ก็ควรเพิ่ม ความระมัดระวังเวลาวางหรือเก็บของเล่น หรือ "ซักในเครื่องซักผ้าได้" สำหรับพวก ตุ๊กตาขนสัตว์หรือตุ๊กตาผ้า ก็จะทำให้คุณทำความสะอาดง่ายขึ้น

เมื่อลูกนำของเล่นมาเล่น

  1. คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจเช็คเป็นระยะๆ ดูว่ามีชิ้นส่วน ใดในของเล่นที่แตกหัก เสียหาย และจะเป็นอันตรายแก่ ลูกได้ เช่น รถพลาสติค ประตูหัก ทำให้มีส่วนบิ่น คม เดี๋ยวจะบาดมือลูก หากแก้ไข ซ่อมแซมไม่ได้ และดูท่า ว่าจะเป็นอันตราย หากลูกเล่นต่อไป ควรเก็บทิ้งเสีย แต่ถ้าซ่อมแซมได้ ก็ควรแก้ไขซ่อมแซมให้ลูกทันที
  2. ขอบ มุม ในของเล่นที่ทำจากไม้ ควรได้รับการฝน ขัดเรียบอย่างดี จนไม่เป็นเหลี่ยม คม บาดมือได้ และเมื่อคุณพ่อจะทาสีของเล่นใหม่ไห้ลูก ควรใช้สีที่เพิ่ง ซื้อได้ไม่นาน ไม่ควรใช้สีที่เหลือทิ้งไว้เป็นเวลานาน มาทาของเล่น เนื่องจากสีที่ถูกทิ้งไว้ในกระป๋องเป็นเวลานาน มักจะมีสาร ตะกั่วมากกว่าสีที่ซื้อใหม่
  3. นอกจากนั้นควรตรวจสอบของเล่นสำหรับเล่นกลางแจ้งเป็นประจำ ว่า ไม่มีบางส่วนเป็นสนิม หรืออุปกรณ์บางชิ้น เปราะ อ่อนตัวลง ซึ่งอาจทำให้ เกิดอันตรายกันลูกได้ เช่น ถ้าหัก แล้วลูกหล่นลงมา ได้รับบาดเจ็บ

เมื่อจัดเก็บของเล่น

  1. สอนลูกให้วาง เก็บของเล่นเป็นที่เป็นทางที่จัดไว้ให้ เช่น ในกล่องเก็บของเล่น, บนชั้น หลังจากที่ลูกเล่นเสร็จ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในบ้าน ไม่เกิดการสะดุด หกล้ม หรือตกบันไดเพราะของเล่นวางเกลื่อนกลาด
  2. กล่องเก็บของเล่นก็เช่นกัน ควรได้รับการตรวจตรา อย่างสม่ำเสมอว่ามีความปลอดภัย โดยใช้กล่องที่มีฝาปิด ซึ่งน้ำหนักเบา ยกขึ้นง่าย และเมื่อเปิดฝา ก็ควรวางพิง เป็นที่ ไม่ล้มลงมาโดนลูก และเพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ควรเปิดรับอากาศบ้าง ไม่เก็บของเล่น ปิดแน่นจนเกิดความ ชื้น เพราะอาจทำให้ของเล่นขึ้นรา กล่องของเล่นไม่ควรมีเหลี่ยม มุม ที่แหลมคม จนอาจบาดมือลูกได้ หากมี ควรได้รับการขัด ฝน ให้เรียบร้อย หรือหุ้มผ้าไว้เลย
  3. ของเล่นบางชนิดที่เก็บไว้นอกบ้าน ควรเก็บเป็นที่เป็นทางให้เรียบร้อยหลัง เล่นเสร็จ เพื่อไม่ให้ขวางทางเข้าออกของรถยนต์ในบ้าน และเก็บให้พ้นแสง แดด หรือน้ำฝน เพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมก่อนวาระอันควร หรือเกิดสนิม ขึ้นที่ชิ้นส่วนของเล่นนั้นๆ

อุปกรณ์, ชิ้นส่วนเล็กๆ ประกอบของเล่น

ของเล่นสำหรับเด็กวัยโตขึ้นมาหน่อย สามารถแยกชิ้นส่วน ออกเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งอาจเกิดอันตรายกับเด็กได้ (ทุกวัย หากไม่ระมัดระวัง) ในการเข้าไปติดคอ อุดหลอดลม, เข้าหู หรือเข้าจมูก (เพราะเด็กบางคนซนมาก และ พยายามคิดหาวิธีเล่นของเล่นแปลกๆ นอกจากวิธีที่ เล่นตามปกติ) โดยปกติ ของเล่นที่แยกชิ้นส่วนเป็น ชิ้นเล็กๆ ได้ นั้นไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยต่ำกว่า 3 ขวบ อยู่แล้ว ทั้งนี้หมายรวมถึงของเล่นที่ย้าย เคลื่อนที่ได้ เช่น กิ๊บติดผมของตุ๊กตา, หวีอันจิ๋วที่แถมมากับตุ๊กตา หรือ กระเป๋าแปะอกใบจิ๋วสำหรับตุ๊กตาหมี เป็นต้น

เชือกต่อสายของเล่น หรือสายจูงต่างๆ

ของเล่นที่มีเชือกยาวสำหรับถือ หรือสายยาวติดมากับของเล่นก็สามารถเกิดอันตรายได้ เหมือนกันสำหรับเด็กทารก และเด็กที่อยู่ในวัยเล็ก เนื่องจากเชือกอาจจะยาวเกินไป จนสามารถรัดคอเด็ก ทำให้หายใจไม่ออก

ไม่ควรแขวนของเล่นที่มีสายจูง หรือเชือกยาวๆ หรือห่วงยาวๆ หรือมีโบว์ริบบิ้น ไว้ใน เพลย์เพน (Playpen) หรือในเตียงเด็กอ่อน เพราะอาจจะรัดเด็ก หรือทำให้เด็กเข้า ไปติดอยู่ในห่วง หรือเชือกที่พันไปพันมาได้ หรือแม้แต่รัดนิ้วมือเด็กเล็กได้ แล้ว แกะไม่ออก

หน้าที่และความรับผิดชอบต่อของเล่น

การปกป้องเด็กไม่ให้เกิดอันตรายจากของเล่นทุกชนิดเป็นความรับผิดชอบและหน้าที่ ของคุณพ่อคุณแม่และของทุกคนภายในบ้าน อันที่จริงก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ใหญ่ ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับของเล่น ทั้งที่โรงเรียน ร้านอาหารที่จัดของเล่นไว้สำหรับเด็ก หรือแม้แต่บริษัทผู้ผลิตของเล่นทั้งหลายด้วยเช่นกัน

ฉะนั้นการเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัยเด็ก และการควบคุมดูแลเด็กขณะเล่นของ เล่นยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการปกป้องเด็กให้พ้นจากอันตรายอันเกิดจากของเล่น และบริษัทผู้ผลิตก็ควร พยายามออกแบบของเล่น และใช้วัสดุที่ปลอดภัยสำหรับเด็กๆ ด้วย



มุมการกุศล : Charity area



visit our sponsor
visit our sponsor


Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved